backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สาเหตุ และวิธีการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สาเหตุ และวิธีการรักษา

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ อาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอกและหัวใจเต้นผิดปกติ เมื่อมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดลดลง ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยคุณหมออาจทำการตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อรับการรักษาตามความรุนแรงของอาการที่เป็น 

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีสาเหตุมาจากอะไร

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโควิด-19 ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเริม ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ที่ส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) รวมถึงเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยและส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ
  • การติดเชื้อปรสิต เช่น ทริพาโนโซมิอาซิส (Trypanosoma cruzi) ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจและก่อให้เกิดการอักเสบ
  • การติดเชื้อรา เช่น การติดเชื้อราแคนดิดา เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) และเชื้อราฮิสโตพลาสมา (Histoplasma) 
  • สารเคมีและยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการชัก ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) รังสีจากการรักษาโรคมะเร็ง เคมีบำบัดรักษามะเร็ง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่อาจทำให้กระทบต่อการทำงานของหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • โรคระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เช่น โรคลูปัส โรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันโจมตีกล้ามเนื้อหัวใจ

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่ควรสังเกต

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่ควรสังเกต มีดังนี้

  • อาการเจ็บหน้าอก
  • รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดและเป็นลม
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจถี่โดยเฉพาะขณะที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  • มีไข้คล้ายไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อนกล้ามเนื้อ 
  • อาการบวมที่ขา เท้า และข้อเท้า
  • ท้องเสีย

ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วหากมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

วิธีรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

วิธีรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มุ่งเน้นไปตามอาการและสาเหตุของผู้ป่วยแต่ลบุคคล ที่อาจใช้วิธีการรักษาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ใช้เพื่อช่วยยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้โจมตีเซลล์ของอวัยวะภายในร่างกายที่รวมถึงหัวใจและรักษากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • ยารักษาโรคหัวใจ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีสุขภาพหัวใจอ่อนแอ คุณหมออาจให้ยาเบต้าบล๊อคเกอร์เพื่อช่วยปรับปรุงการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ
  • ยารักษาโรคเรื้อรัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคลูปัส โรคที่เกิดจากหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คุณหมออาจจ่ายยารักษาโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • ยาปฏิชีวนะ เหมาะสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เพื่อช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • การปลูกถ่ายหัวใจ สำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรงมากอาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายหัวใจอย่างเร่งด่วน
  • เครื่องช่วยการไหลเวียนของเลือด (Ventricular Assist Device หรือ VAD) เพื่อช่วยสูบฉีดเลือดจากห้องล่างหัวใจไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เป็นการรักษาภาวะหัวใจอ่อนแอ ลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจล้มเหลว ปกติมักใช้ในขณะที่รอรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายหัวใจ เพื่อให้หัวใจทำงานได้ตามปกติก่อนผ่าตัด
  • การให้ยาผ่านหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
  • การปั๊มบอลลูนในหลอดเลือด อุปกรณ์นี้อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดความอักเสบในหัวใจด้วยการสอดสายที่มีบอลลูนติดอยู่บริเวณปลายสาย และสวนผ่านทางหลอดเลือดที่ขาไปยังหัวใจ
  • เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal Membrane Oxygenation หรือ ECMO) ใช้เพื่อช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มออกซิเจนในเลือด เพื่อนำส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เหมะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา