backup og meta

ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/04/2021

    ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

    ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถทำให้คุณเป็นอันตรายจากการเกิดหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ยาบางชนิดที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูงนั้น อาจจะฟังดูแปลกหูสำหรับคุณ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II Receptor Blockers) ที่ใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงมากขึ้น

    ตัวอย่างของยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์

    ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II Receptor Blockers) นั้นมีอยู่มากมาย แต่มีเพียงแค่ไม่กี่ตัวที่แพทย์นิยมสั่งให้ใช้ แพทย์จะสั่งยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด โดยขึ้นอยู่กับสุขภาพและสภาวะทางการแพทย์

    ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ มีดังนี้

  • ยาอะซิลซาร์แทน (Azilsartan) อย่างเอดาร์บิ (Edarbi)
  • ยาแคนดีซาร์แทน (Candesartan) อย่างอะทาแคนด์ (Atacand)
  • ยาอิโพรซาร์แทน (Eprosartan)
  • ยาเออร์บีซาร์แทน (Irbesartan) อย่างอวาโพร (Avapro)
  • ยาลอซาร์แทน (Losartan) อย่างโคซาร์ (Cozaar)
  • ยาโอล์มีซาร์แทน (Olmesartan) อย่างเบนิคาร์ (Benicar)
  • ยาเทลมิซาร์แทน (Telmisartan) อย่างไมคาร์ดิส (Micardis)
  • ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) อย่างไดโอแวน (Diovan)
  • ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ใช้เพื่ออะไร

    คุณสามารถใช้ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์เพียงชนิดเดียว หรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ในบางครั้งแพทย์อาจสั่งยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ หากคุณไม่สามารถใช้ยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง (Angiotensin-converting enzyme inhibitors) ได้ เนื่องจากยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง สามารถทำให้เกิดอาการไอ ไม่เหมือนกับยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ที่มีโอกาสทำให้เกิดอาการไอน้อยกว่า

    ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการอื่นได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคไต

    การทำงานของยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์

    ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์สามารถใช้เพื่อคลายหลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนแองจิโอเทนซิน ทูไปจับกับตัวรับ (receptors) ภายในหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดของคุณคลายตัว ความดันโลหิตของคุณก็จะลดลง ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปสู่อวัยวะได้ง่ายขึ้น ในขณะที่แองจิโอเทนซินนั้น สามารถทำให้หลอดเลือดแคบลงได้ ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์จะช่วยในการขยายหลอดเลือด

    นอกจากนี้ ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ยังเป็นยาที่ไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียง และยังไม่มีการพิสูจน์ผลว่ายาเหล่านี้มีผลร้ายที่เฉพาะเจาะจง

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

    ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง และยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่า คือ ประโยชน์ของยา และผลข้างเคียงนั้นก็อาจจะหายไป หลังจากที่คุณใช้ยาไปสักพัก

    ผลข้างเคียงบางส่วนของยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ มีดังนี้

    • คุณอาจมีอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ อาการเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้น หากคุณรับประทานยาเป็นครั้งแรก หรือหลังจากที่คุณเคยใช้ยาในกลุ่มขับปัสสาวะ (ยาอีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง)
    • อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหลัง ปวดขา หัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับหรือมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน
    • อาจมีอาการสับสน (ไม่สามารถคิดได้ชัดเจนและรวดเร็วเท่าปกติ)
    • คุณอาจมีอาการอาเจียนและท้องร่วง หากมีอาการรุนแรงให้ติดต่อแพทย์ในทันที เพราะคุณอาจมีภาวะขาดน้ำ และระดับความดันโลหิตของคุณอาจจะต่ำได้
    • อาจมีอาการไอ

    โปรดติดต่อแพทย์ทันที หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ หรือหากอาการเหล่านี้ไม่หายไป หรือมีอาการรุนแรงขึ้น

    ควรรับประทานยาอย่างไร

    คุณสามารถรับประทานยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เกี่ยวกับจำนวนครั้งที่ควรรับประทานยาในแต่ละวัน ระยะห่างระยะการใช้ยา และระยะเวลาในการใช้ยา ขณะที่กำลังใช้ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ แพทย์อาจสั่งให้คุณทำตรวจระดับความดันโลหิต และตรวจสมรรถภาพของไตเป็นประจำ

    มียาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์อยู่มากมายที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจวาย หรือป้องกันอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลัน แต่ยาเหล่านี้ก็มีผลข้างเคียง เช่น มึนงง ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการอาเจียน ท้องร่วง หรือสับสนอย่างรุนแรง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา