backup og meta

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant Surgery)

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant Surgery)

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาในส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา เพื่อให้กลับมามองเห็นได้ปกติ และช่วยให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น

รู้เรื่องเบื้องต้น

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คืออะไร

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant) คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา

กระจกตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสส่วนหน้าสุดของลูกตา ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่าง ช่วยให้จอประสาทตาสามารถโฟกัสแสงได้เป็นปกติ ก่อนส่งภาพที่ได้ไปแปลผลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน

เมื่อกระจกตาถูกทำลาย ความโปร่งใสก็จะลดลง รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กระบวนการนำแสงไปสู่จอประสาทตาผิดปกติ ภาพที่ถูกส่งไปแปลผลที่สมองจึงผิดรูปหรือไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นปกติอีกครั้ง

ความจำเป็นของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

สาเหตุที่ทำให้กระจกตาขุ่น และเสี่ยงต่อปัญหากระจกตาล้มเหลว ได้แก่

  • แผลจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา
  • แผลจากขนตาทิ่มตา เนื่องจากขนตางอกยาวเข้าไปในตา เมื่อขยี้ตาอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น Fuchs’ corneal dystrophy (ความผิดปกติของเซลล์ชั้นในสุดของกระจกตา)
  • โรคตาบางชนิด เช่น โรคกระจกตาโป่งพองขั้นรุนแรง
  • กระจกตาบางมากหรือผิดรูป
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยจากการทำเลสิก
  • กระจกตาได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือสารเคมี
  • กระจกตาบวมน้ำ
  • ปฏิกิริยาต่อต้านจากการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาครั้งก่อน
  • กระจกตาล้มเหลวจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดต้อกระจก

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น และสามารถทำให้การมองเห็นกลับมาดีดังเดิมได้

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ร่างกายปฏิเสธกระจกตาใหม่ที่ได้รับจากผู้บริจาค ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก

ความเสี่ยงที่ควรรู้

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

การปลูกถ่ายกระจกตาเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น

  • การติดเชื้อที่ตา
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก
  • ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้น
  • เกิดปัญหากับไหมที่ใช้เย็บกระจกตาของผู้บริจาค
  • ภาวะปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย (กระจกตา) ของผู้บริจาค
  • ภาวะกระจกตาบวม

ในบางกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ร่างกายอาจปฏิเสธกระจกตาใหม่จากผู้บริจาค ถือเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ หรือต้องทำการปลูกถ่ายกระจกตาใหม่อีกครั้ง

ควรนัดหมายกับจักษุแพทย์หากคุณสังเกตเห็นอาการปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย เช่น

การปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายเกิดขึ้นได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของการปลูกถ่ายกระจกตา

ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัด ควรทำความความเข้าใจต่อความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แนวทางปฏิบัติตัว

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

ก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คุณจำเป็นต้องผ่านการทดสอบต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การตรวจประเมินสภาพตา จักษุแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับภาวะโรคหรือภาวะอันตราย ซึ่งอาจกลายเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้
  • การวัดขนาดของกระจกตา จักษุแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าลูกตาของคุณเหมาะกับกระจกตาขนาดใด
  • การซักประวัติยาและอาหารเสริม หากคุณรับประทานยาหรืออาหารเสริมใดอยู่ แพทย์อาจสั่งให้หยุดรับประทานยาพวกนั้นก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด
  • การรักษาโรคตาอื่นๆ โรคตาบางชนิด เช่น อาการอักเสบหรือติดเชื้อ อาจมีส่วนทำให้ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาไม่สำเร็จ จักษุแพทย์จึงจำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนทำการการผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วย โดยปกติแล้ว การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาจะใช้เวลาการผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ศัลยแพทย์จะนำกระจกตาที่มีปัญหาออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาใหม่จากผู้บริจาค โดยศัลยแพทย์อาจปลูกถ่ายกระจกตาทั้งชิ้น หรือเลือกที่จะปลูกถ่ายเฉพาะด้านนอกหรือด้านในก็ได้ หลังจากนั้นจะทำการเย็บปิดเพื่อยึดกระจกตาใหม่ให้เข้าที่

หากคุณมีข้อสงสัยหรือความกังวลใดๆ  กรุณาปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การพักฟื้น

หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

คุณไม่ต้องกังวลว่าร่างกายจะปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย เพราะโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยมากๆ แพทย์มักเอ่ยว่า “กระจกตาเป็นส่วนที่ไม่มีการรบกวนจากภูมิคุ้มกันบริเวณดวงตา’ ซึ่งก็หมายความว่า โอกาสที่ลูกตาจะปฏิเสธเนื้อเยื่อแปลกปลอมนั้นมีน้อยมาก แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น แพทย์จะสั่งจ่ายยาหยอดตาประเภทสเตียรอยด์ให้ผู้ป่วย หากทำการปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะด้านนอก โอกาสที่ร่างกายจะปฎิเสธสิ่งปลูกถ่ายก็มีน้อยมาก

ความเสี่ยงหลังผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา

โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นของกระจกตาที่ปลูกถ่าย โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • อาการเลือดออก (กรณีนี้เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย)
  • เกิดแผลที่กระจกตา
  • เกิดต้อกระจก จอประสาทตาหลุดลอก และเกิดความเสียหายกับส่วนอื่นๆของดวงตา
  • มีน้ำซึมจากแผลปลูกถ่ายกระจกตา
  • การติดเชื้อ (กรณีนี้เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย)
  • มีปัญหาในการมอง การปลูกถ่ายแบบ Full Thickness มักจะทำให้เกิดภาวะสายตาเอียง สายตาสั้น และสายตายาวได้ หากเกิดภาวะเหล่านี้หลังผ่าตัด คุณอาจต้องสวมแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น

หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาไปแล้ว อาจเกิดปัญหาที่ทำให้กระจกตาเสียหายได้อีก เช่น การติดเชื้อ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cornea transplant. http://www.nhs.uk/Conditions/corneatransplant/Pages/Introduction.aspx. Accessed July 16, 2016

Cornea transplant. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cornea-transplant/basics/definition/prc-20014357. Accessed July 16, 2016

Cornea transplant. https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/17714-cornea-transplant. Accessed July 16, 2016

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคตาขี้เกียจในเด็ก สาเหตุ การรักษา และการตรวจดวงตาในเด็ก

แครอทบำรุงสายตา ได้จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา