ข้อมูลพื้นฐาน
การตัดแขนขาคืออะไร
การตัดแขนขา (Amputation) เป็นการผ่าตัดเอาแขน ขา เท้า มือ นิ้วเท้า หรือนิ้วมือ บางส่วนหรือทั้งหมดออก จัดเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค อาการติดเชื้อ หรือนำเนื้องอกออกจากกระดูกและกล้ามเนื้อ
การตัดแขนขาจะมีโอกาสเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนหรือปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
ความจำเป็นในการ ตัดแขนขา
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์อาจต้องมีการตัดแขน ขา เท้า มือ นิ้วเท้าหรือนิ้วมือออก เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
- อาการติดเชื้อ หรือเสียเลือดขั้นรุนแรง
- อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- เบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำลายเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลได้อย่างปกติ)
- ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
- อาการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น อุบัติเหตุ บาดแผลไฟไหม้
- เนื้องอกหรือมะเร็งในกระดูกและกล้ามเนื้อของส่วนแขนหรือขา
- อาการติดเชื้อร้ายแรงซึ่งทำให้ยาปฏิชีวนะ หรือการรักษามีประสิทธิภาพที่ไม่เต็มที่
- เนื้องอกของเส้นประสาท (Neuroma)
- เนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะความเย็นจัด (Frostbite)
- ปัญหาสุขภาพหัวใจ เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว
- ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
- โรคปอดบวม (Pneumonia)
อาจมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์
ความเสี่ยง
ความเสี่ยงของการ ตัดแขนขา
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ขั้นตอนการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตัดแขนขา
ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะทดสอบว่าอาการของคุณอยู่ในระดับใด โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- วัดความดันเลือดบริเวณแขนหรือขา
- วัดการไหลเวียนของเลือดโดยใช้สารเภสัชรังสี Xenon 133
- วัดระดับความดันของออกซิเจนตามผิวหนัง
- วัดการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังโดยใช้ Laser Doppler
- วัดระดับสารฟลูออเรสเซนต์บริเวณผิวหนัง
- วัดรังสีอินฟาเรดจากอุณหภูมิบริเวณผิวหนัง
นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องมีการประเมินภาวะทางจิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยด้วย เพราะผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการตัดแขนขามักมีอาการเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล
อาจมีการตรวจหรือทดสอบนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ขั้นตอนการตัดแขนขา
วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้เข้ารับการผ่าตัด โดยชนิดของยาระงับความรู้สึกขึ้นอยู่กับอวัยวะส่วนที่ต้องผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้วการตัดแขนขาจะเป็นการตัดอวัยวะออกเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่การตัดแขนขาออกทั้งหมด เมื่อแขนขาถูกตัดออกไปแล้ว แพทย์อาจใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้อวัยวะส่วนที่เหลืออยู่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน
หลังตัดแขนขาออกไปแล้ว แพทย์จะเย็บปิดแผลด้วยไหมหรือลวดเย็บผิวหนัง จากนั้นจึงพันผ้าพันแผล หรือในบางกรณีอาจต้องสอดอุปกรณ์ดูดซับสารคัดหลั่งเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง เพื่อทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น โดยปกติแล้ว ต้องพันผ้าพันแผลไว้ 2-3 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
การพักฟื้น
หลังการตัดแขนขา
หลังเข้ารับการผ่าตัดแขนขาออก ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ และอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะ หรือใช้หม้อนอน (อุปกรณ์รองรับปัสสาวะหรืออุจจาระจากผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้) เป็นเวลา 2-3 วันขณะพักฟื้นอยู่ในห้องพักผู้ป่วย
การตัดแขนขาอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ในกรณีนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวด ยาพาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะ
การกายภาพบำบัดหลังจากการผ่าตัด เช่น การยืดเส้น คลายเส้น การออกกำลังแบบพิเศษ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยลุกนอนเตียง หรือแต่งตัวได้สะดวกขึ้น และการใช้รถวีลแชร์เพื่อช่วยรับน้ำหนักส่วนที่บาดเจ็บ ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้นเช่นกัน
คุณควรปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติหลังจากผ่าตัด เช่น ดูแลส่วนที่ผ่าตัด การเปลี่ยนเสื้อผ้า การอาบน้ำ การทำกายภาพบำบัด และกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ดังต่อไปนี้
- ควบคุมประเภทอาหารที่รับประทาน ไม่รับประทานอาหารเกินปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลาย
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ความเสี่ยงหลังตัดแขนขา
การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการผ่าตัด
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- มีไข้
- มีผื่นแดง บวม และมีเลือดออกบริเวณบาดแผล
- มีอาการเจ็บแผลบริเวณที่ผ่าตัด
- มีการชาและเสียวแปลบบริเวณแขนหรือขา
[embed-health-tool-bmi]