backup og meta

การบริจาคเลือด กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจคาดไม่ถึง

การบริจาคเลือด กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจคาดไม่ถึง

การบริจาคเลือด ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ หากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีคุณสมบัติตรงตามที่ศูนย์รับบริจาคโลหิตต้องการ เช่น มีอายุระหว่าง 17-70 ปีบริบูรณ์ มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ก็สามารถบริจาคเลือดได้ ผู้บริจาคเลือดไม่เพียงจะได้รับความสุขจากการให้ แต่ยังได้รับประโยชน์สุขภาพอีกมากมายที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง

ประโยชน์ดีๆ ที่ได้จาก การบริจาคเลือด

ช่วยเผาผลาญแคลอรี่

การบริจาคเลือด อาจเหมือนแค่นอนนิ่ง ๆ แต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบว่า การบริจาคเลือดครั้งละ 450 มิลลิลิตรสามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 650 กิโลแคลอรี่ แม้การบริจาคเลือดแต่ละครั้ง จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้มาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะลดน้ำหนัก ด้วยการโหมบริจาคเลือดได้ เพราะคุณสามารถบริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน โดยต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย

ช่วยป้องกันภาวะเหล็กเกิน

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่หากมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ภายในร่างกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis) คือ ธาตุเหล็กไปเกาะอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ หัวใจ ไต ส่งผลให้เป็นโรคอย่าง ตับแข็ง เบาหวาน ข้ออักเสบ เป็นต้น ซึ่งการบริจาคเลือดจะทำให้ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายน้อยลง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเหล็กเกินได้

ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

จากการศึกษาพบว่า การบริจาคเลือดเป็นประจำติดต่อกันนานหลายปี จะช่วยลดความเข้มข้นของเลือด และระดับธาตุเหล็กในร่างกาย จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายได้ถึง 88% และลดความเสี่ยงของการเกิดอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจชนิดรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 33%

ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

การบริจาคเลือดเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งที่มีสาเหตุจากมีธาตุเหล็กสูงเกินไป เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำคอได้ โดยยิ่งบริจาคเลือดบ่อย ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งก็จะยิ่งลดลง

กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดใหม่

ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากบริจาคเลือด ไขกระดูกจะถูกกระตุ้นให้จะสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ ขึ้นมาทดแทนเลือดที่เสียไป และเม็ดเลือดแดงของคุณจะกลับมามีปริมาณเท่าเดิม ภายในเวลา 60 วัน อีกทั้งกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่นี้ ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี สุขภาพจึงแข็งแรงขึ้นด้วย

ได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นฟรี

ก่อนจะบริจาคเลือดได้ ผู้ประสงค์จะบริจาคเลือดต้องผ่านการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การตรวจความเข้มข้นของเลือด รวมไปถึงการซักประวัติด้านสุขภาพ หากผลการตรวจเบื้องต้นผ่านเกณฑ์ และแพทย์ลงความเห็นว่าสุขภาพแข็งแรง จึงจะสามารถบริจาคเลือดได้ อีกทั้งเลือดที่คุณบริจาคจะต้องผ่านการตรวจหาความผิดปกติ เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส ก่อนเก็บไว้เป็นเลือดสำรอง จึงถือว่าคุณได้ตรวจโรคดังกล่าวไปด้วยแบบฟรีๆ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดหลังบริจาคเลือด

หลังจากบริจาคเลือด คุณอาจรู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม จึงควรนอนพักโดยยกเท้าให้สูงกว่าศีรษะสัก 5 นาทีก่อนลุกจากเตียงบริจาค บางคนอาจมีเลือดไหล หรือเกิดรอยช้ำบริเวณรอยเข็มได้เป็นเรื่องปกติ

หลังจากบริจาคเลือด อย่าลืมกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม ข้าวเสริมธาตุเหล็ก แครอท เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับธาตุเหล็กในร่างกายต่ำเกินไป และหากคุณมีอาการดังนี้ติดต่อกันนานเกิน 3 วัน ควรติดต่อศูนย์บริจาคโลหิตทันที

  • พักผ่อน กินข้าว ดื่มน้ำแล้วก็ยังวิงเวียน คลื่นไส้ หน้ามืด
  • เลือดไหลจากรอยเข็มไม่หยุด
  • แขนเป็นเหน็บชา หรือปวดแขน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

World Blood Donor Day 2018: 5 Benefits of Donating Blood You Will Be Surprised to Know. https://www.practo.com/healthfeed/world-blood-donor-day-2018-5-benefits-of-donating-blood-you-will-be-surprised-to-know-33601/post. Accessed November 29, 2018

WHY DONATING BLOOD MAY BE A GOOD DEED FOR YOUR BODY TOO. https://www.amenclinics.com/blog/donating-blood-may-be-a-good-deed-for-your-body/. Accessed November 29, 2018

The Benefits of Donating Blood. https://www.healthline.com/health/benefits-of-donating-blood#2. Accessed November 29, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

หักกระดูกข้อต่อคอ หรือ หักคอ บ่อยๆ ระวัง! เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ขาดธาตุเหล็ก ควรกินอะไรดีเพื่อป้องกันโรคโลหิตจางและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา