backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลมแดด (Heat stroke)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ลมแดด (Heat stroke)

ลมแดด ถือว่าเป็นอาการป่วยจากความร้อนที่อันตรายที่สุด และมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

คำจำกัดความ

ลมแดด คืออะไร

ลมแดด (Heat stroke) คือภาวะที่ร่างกายร้อนจัดเกินไป อันเป็นผลมาจากการที่ร่างกายสัมผัสหรือต้องออกแรงในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานาน

ลมแดด ถือว่าเป็นอาการป่วยจากความร้อนที่อันตรายที่สุด และมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

ผู้ป่วยโรคลมแดดนั้นเป็นควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลกระทบร้ายแแรงต่อสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อได้

ยิ่งได้รับการรักษาที่ช้าเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูงขึ้น

ลมแดด พบบ่อยเพียงใด?

โรคลมแดดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ในทุกกลุ่มอายุ สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการของโรค ลมแดด

อาการทั่วไปของโรคลมแดด ได้แก่

  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูง เกิน 40 องศาเซลเซียส คืออาการหลักของโรคลมแดด
  • สมองเบลอ ท่าทางเปลี่ยนแปลง งุนงง พูดวกวนไม่รู้เรื่อง สับสน เพ้อคล้ายคนเมา ชักและหมดสติ
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการระบายความร้อนของร่างกาย อาการโรคลมแดดเกิดขึ้นได้จากอากาศร้อน ผิวหนังของผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนและแห้งเมื่อสัมผัส แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยลมแดดที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ผิวหนักอาจมีเหงื่อซึมได้
  • คลื่นไส้และอาเจียน ผู้ป่วยอาจรู้สึกกระอักกระอ่วน คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ผิวหนังมีสีเลือดฝาด และร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
  • หายใจหอบถี่ หายใจไม่อิ่ม
  • หัวใจเต้นเร็ว อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากความร้อนและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูง ทำให้หัวใจพยายามที่จะสูบฉีดเลือดเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • หน้ามืด วิงเวียน
  • อาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการบางส่วนของโรคลมแดดเท่านั้น หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

    เมื่อใดควรพบหมอ

    หากคุณพบว่ามีอาการของโรคลมแดดตามข้างต้น ควรพบหมอโดยทันที และหากคุณมีคำถามเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

    ร่างกายของแต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนองที่แตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคุณจึงควรติดต่อแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด

    สาเหตุ

    สาเหตุของโรคลมแดด

    โรคลมแดดเกิดจากสาเหตุอัน ได้แก่

    • การอยู่ในบริเวณที่มีสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน โดยโรคลมแดดประเภทนี้ เรียกว่า โรคลมแดดทั่วไป (nonexertional heatstroke หรือ classic heatstroke) เกิดจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น โรคลมแดดประเภทนี้เกิดขึ้นหลังจากการได้รับความร้อนเป็นระยะเวลายาวนาน หรืออยู่ในที่อากาศร้อนชื้นเป็นระยะเวลานานๆ 2 ถึง 3 วัน มักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากและผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง
    • การออกกำลังกายอย่างหนัก โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกายหนัก (Exertional heatstroke) สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการออกแรงในสภาพอากาศร้อน มักเกิดกับผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำงานท่ามกลางอากาศร้อน และมักเกิดกับผู้ที่ไม่เคยชินกับอากาศร้อน

    นอกจากนี้ โรคลมแดด อาจมีสาเหตุอื่นๆ ในกรณีดังต่อไปนี้

    • การสวมใส่เสื้อผ้าระบายอากาศไม่ดี ทำให้ไม่สามารถลดอุณหภูมิของร่างกายได้ตามปกติ
    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลต่อระบบระบายความร้อนในร่างกาย
    • ภาวะขาดน้ำที่เกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอและการสูญเสียของเหลวในร่างกายจากการสูญเสียเหงื่อ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ลมแดด

    ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดลมแดด ได้แก่

    ความสามารถในการระบายความร้อนของร่างกาย ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบประสาทส่วนกลาง เมื่ออายุน้อย ระบบประสาทส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ และในวัยผู้ใหญ่ที่อายุเกินกว่า 65 ปี ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อม ทำให้ร่างกายปรับสมดุลอุณหภูมิของร่างกายได้ไม่ดีนัก ในสองช่วงวัยนี้ ร่างกายไม่สามารถกักเก็บความชื้นในร่างกายได้ดีนัก จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคลมแดด

    การออกแรงอย่างหนักในสภาพอากาศร้อนอบอ้าว เช่น การฝึกทหาร และการเล่นกีฬากลางแจ้ง อย่างฟุตบอล สามารถก่อให้เกิดอาการของโรคลมแดดได้

    การสัมผัสกับอากาศที่ร้อนอบอ้าวในทันทีทันใด อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อน หากจู่ๆ คุณต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วแบบทันทีทันใด เช่น ในช่วงเริ่มต้นฤดูร้อน ที่มีคลื่นความร้อนแผ่มาอย่างรวดเร็ว หรือ การเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีอากาศร้อนกว่าปกติ ควรจำกัดกิจกรรมช่วงแรกๆ เพื่อให้ตัวคุณค่อยๆ ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

    อย่างไรก็ตาม คุณอาจยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดด หากคุณต้องอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัดยาวนานติดต่อกันหลายสัปดาห์

    ไม่มีเครื่องปรับอากาศ พัดลมอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ แต่หากสภาพอากาศยังคงร้อนอย่างต่อเนื่อง เครื่องปรับอากาศนั้นจะช่วยลดอุณหภูมิและความชื้นได้ดีกว่า

    การใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลต่อของการกักเก็บความชื้นและการตอบสนองต่อความร้อนของร่างกาย คุณควรหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อน หากคุณจำเป็นต้องรับประทานยาดังต่อไปนี้

    • ยาหดหลอดเลือด
    • ยาควบคุมระดับความดันโลหิต ด้วยการขัดขวางอะดรีนาลีน (beta blockers)
    • ยาขับปัสสาวะ 
    • ยาด้านจิตเวทหรือ ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants หรือ antipsychotics)
    • ยาต้านโรคสมาธิสั้น (ADHD)
    • สารเสพติดและยากระตุ้นต่างๆ เช่น แอมเฟตามีน (amphetamines) หรือ โคเคน (cocaine) ที่อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคลมแดดเพิ่มมากขึ้น

    โรคประจำตัว ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ และ โรคปอด มักเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคลมแดด รวมถึงกลุ่มผู้มีน้ำหนักมากไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคลมแดดมาก่อน

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลต่อไปนี้ ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรค ลมแดด

    โดยทั่วไป แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ทันที หากคุณมีอาการของโรคลมแดด อย่างไรก็ตาม ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการจะช่วยยืนยันผลการวินิจฉัยของแพทย์ และบ่งชี้สาเหตุของอาการและประเมินอวัยวะที่เสียหายได้อย่างละเอียด โดยการทดสอบมีดังนี้

    • การตรวจเลือดเพื่อหาระดับโซเดียม หรือโพแทสเซียม และการวิเคราะห์ปริมาณก๊าซในเลือด เพื่อตรวจสอบว่าได้ทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลางหรือไม่
    • ตรวจปัสสาวะเพื่อดูสีของปัสสาวะ ซึ่งโดยทั่วไปปัสสาวะจะมีสีเข้ม หากเป็นผลที่เกี่ยวข้องกับความร้อน และตรวจการทำงานของไตที่อาจได้รับผลกระทบจากโรคลมแดด
    • การตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อตรวจดูผลกระทบร้ายแรงที่เกิดกับเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ (rhabdomyolysis)
    •  เอ็กซเรย์และตรวจสอบด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อตรวจสอบอวัยวะภายในที่ได้รับความเสียหาย

    การรักษาโรคลมแดด

    การรักษาโรคลมแดด มักมุ่งเป้าไปที่การลดอุณหภูมิของร่างกายให้กลับมาอยู่สภาวะปกติ เพื่อป้องกันและลดความเสียหายของสมองและอวัยวะต่างๆ ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาอาจใช้ขึ้นตอนดังนี้

    ให้ผู้ป่วยแช่ในน้ำเย็น ในอ่างอาบน้ำที่เย็นจัดหรือน้ำแข็งเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายลงอย่างรวดเร็ว

    • เทคนิคการลดอุณหภูมิด้วยไอน้ำ (evaporation cooling techniques) แพทย์บางส่วนนิยมใช้ไอน้ำแทนการให้ผู้ป่วยแช่น้ำเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ด้วยเทคนิคนี้น้ำเย็นจะถูกทำให้กลายเป็นไอน้ำ พ่นลงบนผิวหนังของผู้ป่วย ในขณะที่ลมอุ่นพัดผ่านร่างกายทำให้น้ำระเหยไอ และทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยเย็นตัวลง
    • ประคบด้วยน้ำแข็งและผ้าห่มลดอุณหภูมิ เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งแพทย์จะใช้ผ้าห่มชนิดพิเศษห่มผู้ป่วยและนำน้ำแข็งมาประคบตามขา คอ หลัง และรักแร้ เพื่อทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง
    • ให้ยาเพื่อหยุดอาการหนาวสั่น ในกรณีที่การรักษาทำให้อุณหภูมิในร่างกายของผู้ป่วยลดต่ำลง และทำให้หนาวสั่น แพทย์อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น เบนโซไดอาซิพีน (benzodiazepine) ทั้งนี้ อาการหนาวสั่นจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพลดลง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับโรคลมแดด

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองด้วยวิธีการต่อไปนี้จะช่วยคุณจัดการกับโรคลมแดด

    • หลบในที่ร่ม หรือห้องปรับอากาศ หากคุณไม่มีเครื่องปรับอากาศที่บ้าน ลองมองหาสถานที่ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ หรือ ห้องสมุด
    • ลดอุณหภูมิร่างกายลงด้วยผ้าเย็นและพัดลม หากเป็นผู้พบเห็นผู้อื่นมีอาการของโรคลมแดด นำผ้าชุบน้ำคลุมตัวผู้ป่วย หรือฉีดพ่น หรือประคบตัวด้วยน้ำเย็น และนำพัดลมมาเป่าที่ตัวผู้ป่วย
    • อาบด้วยน้ำฝักบัวหรือแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ หากประสบเหตุไกลที่พักอาศัย ให้นำตัวผู้ป่วยลงในบ่อน้ำหรือแหล่งน้ำใกล้ๆ จะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง
    • ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากผู้ป่วยได้สูญเสียเกลือแร่ผ่านทางเหงื่อ จึงจำเป็นต้องได้รับเกลือแร่และน้ำจากเครื่องดื่มเกลือแร่ หากแพทย์จำกัดการรับของเหลวและเกลือ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อปรึกษาการรับปริมาณเครื่องดื่มชดเชยเกลือแร่ที่เหมาะสม
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์ เพื่อชดเชยปริมาณน้ำและเกลือแร่ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย อีกทั้งการดื่มเครื่องดื่มที่เย็นจัดอาจทำให้เกิดตะคริวบริเวณท้องได้อีกด้วย

    หากคุณมีปัญหาหรือข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาต่อไป

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา