
ไส้เลื่อน เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ (เช่น ลำไส้) ยื่นออกไปยังบริเวณที่ไม่ควรจะอยู่ เนื้อเยื่อนั้นจะดันตัวเองผ่านออกไปทางช่องหรือบริเวณที่เปราะบางของผนังกล้ามเนื้อ ทำให้ปรากฎเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา
คำจำกัดความ
ไส้เลื่อน คืออะไร
ไส้เลื่อน (Hernia) เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ (เช่น ลำไส้) ยื่นออกไปยังบริเวณที่ไม่ควรจะอยู่ เนื้อเยื่อนั้นจะดันตัวเองผ่านออกไปทางช่องหรือบริเวณที่เปราะบางของผนังกล้ามเนื้อ ทำให้ปรากฎเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา
หากไส้เลื่อนยื่นออกมาในขณะที่มีแรงกดหรือแรงตึงเท่านั้น และจะหดกลับได้เรียกว่าไส้เลื่อนที่ไม่มีการติดค้าง (Reducible Hernia) ซึ่งไม่เป็นอันตรายมากนัก เนื้อเยื่อที่ติดอยู่ในช่องเปิดหรือถุง ที่ไม่สามารถดึงกลับได้ เรียกว่าไส้เลื่อนติดค้าง (Incarcerated Hernia) หรือไส้เลื่อนที่ไม่สามารถดันกลับได้ ถือเป็นไส้เลื่อนชนิดที่รุนแรง ส่วนไส้เลื่อนที่รุนแรงที่สุด เป็นไส้เลื่อนเลือดคั่งเหตุบีบรัด (Strangulated Hernia) โดยเนื้อเยื่อที่ติดค้างจะขาดเลือดหล่อเลี้ยงและตาย
ไส้เลื่อนพบได้บ่อยเพียงใด
ไส้เลื่อนที่พบได้บ่อยที่สุดในทารกและเด็กคือไส้เลื่อนภายนอก (External Hernia) ได้แก่ ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ (Inguinal) และไส้เลื่อนสายสะดือ (Umbilical) โดยไส้เลื่อนสายสะดือมักพบได้มาก โดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ผู้หญิง และทารกที่เป็นโรคบางชนิด ไส้เลื่อนที่ขาหนีบเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และทารกที่คลอดก่อนกำหนด ไส้เลื่อนกระบังลมแต่กำเนิด (Congenital Diaphragmatic Hernia) และไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal Hernia) เป็นไส้เลื่อนภายใน (ภายในร่างกาย) ที่พบได้มากที่สุดในเด็ก คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดไส้เลื่อนกะบังลมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของไส้เลื่อน
สิ่งบ่งชี้และอาการขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เลื่อน
- อาการของไส้เลื่อนที่ขาหนีบและไส้เลื่อนสายสะดือคือ มีอาการบวมโดยไม่เจ็บ ซึ่งอาจหายไปได้เอง อาการมักชัดเจนมากที่สุดเมื่อร้องไห้ มีแรงตึง ไอ หรือยืน ไส้เลื่อนที่ขาหนีบในเด็กผู้ชาย สามารถทำให้ถุงอัณฑะ (ถุงหุ้มลูกอัณฑะ) โตขึ้นได้ ในเด็กผู้หญิง แคม (เนื้อเยื่อรอบช่องคลอด) อาจบวมได้
- ไส้เลื่อนภายในอาจไม่มีอาการ หรืออาจทำให้อาเจียน และมีอาการแสบร้อนที่กลางอก
- ไส้เลื่อนติดค้าง (Incarcerated Hernia) ก่อให้เกิดก้อนเนื้อแข็งกดเจ็บ อาการเจ็บ อาการอาเจียน อาการท้องผูก และความไวต่อการกระตุ้น
- ไส้เลื่อนเลือดคั่งเหตุบีบรัด (Strangulated Hernia) ก่อให้เกิดอาการไข้และผิวหนังบวม แดง อักเสบ และเจ็บมาก
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อนนั้นเกิดจากการสภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและความตีงเครียด โรคไส้เลื่อนอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือใช้เวลานานในการเกิด ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไส้เลื่อนนั้น
สาเหตุของสภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่โรคไส้เลื่อนมีดังต่อไปนี้
- การพิการแต่กำเนิดระหว่างการพัฒนาขณะอยู่ในครรภ์
- อายุที่เพิ่มขึ้น
- การบาดเจ็บหรือแผลจากการผ่าตัด
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- การตั้งครรภ์
- การออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การยกน้ำหนัก
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของไส้เลื่อน
มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับไส้เลื่อนหลายประการ ได้แก่
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน
แพทย์ซักประวัติสุขภาพและตรวจร่างกายโดยให้เด็กนอนลงและยืนขึ้น อาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดหรือการผ่าตัดส่องกล้อง การวินิจฉัยจากภาพถ่ายอวัยวะในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ การเอ็กซเรย์และการอัลตราซาวด์
การรักษาโรคไส้เลื่อน
การรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของไส้เลื่อน หากเป็นกรณีเล็กๆ เช่น โรคไส้เลื่อนสายสะดืม อาการนี้มักจะสามารถหายได้เองเมื่ออายุ 1-2 ปี หรือแพทย์อาจสามารถดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าไปได้โดยง่าย และเฝ้าดูอาการ แต่ในกรณีที่รุนแรง อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อทำการรักษาไส้เลื่อนนั้นๆ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการโรคไส้เลื่อน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับไส้เลื่อนประเภทต่างๆ ได้
- เฝ้าดูอาการไส้เลื่อนของลูกของคุณเพื่อให้มั่นใจว่า มีขนาดเล็กลงในช่วงอายุ 2 หรือ 3 ปีแรก
- ให้ลูกของคุณรับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งหลังจากผ่าตัด
- ป้องกันไม่ให้เกิดติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอาการไอหรือจาม ซึ่งทำให้เกิดแรงตึงที่รอยเย็บแผล การล้างมือบ่อยๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาการติดเชื้อดังกล่าว
- ศึกษาอาการของภาวะติดค้างของไส้เลื่อนที่ขาหนีบ การรักษาที่ล่าช้าอาจก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงได้
- รักษาแผลผ่าตัดให้สะอาดและแห้ง จนกว่าแผลหายดี
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด