ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ปลายเล็บร่น (Onycholysis)

ปลายเล็บร่น (Onycholysis) เป็นภาวะที่เล็บแยกออกจากผิวหนัง เนื่องจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ นอกจากนั้นยังอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาอื่นๆ อีกด้วย แม้ปลายเล็บร่นจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปพบคุณหมอเป็นการด่วน แต่การดูแลรักษาให้หายก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน คำจำกัดความ ปลายเล็บร่น (Onycholysis) คืออะไร ปลายเล็บร่นเป็นศัพท์ทางการแพทย์ เมื่อเล็บของคุณแยกออกจากผิวหนังที่อยู่ข้างใต้ ซึ่งมันไม่ใช้เรื่องแปลกและสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ อาการนี้จะคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือน เนื่องจากเล็บมือหรือเล็บเท้าจะไม่ติดกลับเข้าไปยังฐานเล็บที่อยู่ใต้เล็บ เมื่อเล็บใหม่งอกขึ้นมาแทนที่เล็บเก่า อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรจะหายไป โดยเล็บมือจะใช้เวลา 4-6 เดือนในการงอกใหม่ ส่วนเล็บเท้าอาจจะใช้เวลา 8-12 เดือน อาการอาการของ ปลายเล็บร่น หากคุณกำลังมีอาการปลายเล็บร่น อาการที่คุณสามารถสังเกตได้ก็คือ เล็บของคุณจะเริ่มลอกขึ้นต้านบนหลุดจากฐานเล็บที่อยู่ข้างใต้ โดยปกติจะไม่มีอาการเจ็บปวดในขณะที่เกิดขึ้น โดยเล็บที่ได้รับผลกระทบอาจกลายเป็นสีเหลือง สีเขียว สีม่วง สีขาว หรือสีเทา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของปลายเล็บร่น การบาดเจ็บที่เล็บอาจทำให้เกิดปลายเล็บร่นได้ การสวมรองเท้าที่คับจนเกิดไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน นอกจากนั้นอาการนี้อาจเป็นผลมาจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเล็บ เช่น น้ำยาล้างเล็บเคมี หรือเล็บปลอม ปลายเล็บร่มอาจเป็นอาการของเชื้อราที่เล็บหรือโรคสะเก็ดเงิน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ได้แก้ ปฏิกิริยาต่อยา หรือการบาดเจ็บ แม้แต่การเคาะเล็บซ้ำๆ เหมือนตีกลองก็ก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน บางครั้งปลายเล็บร่นอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อยีสต์ที่ร้ายแรง หรือโรคต่อมไทรอยด์ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

“สักคิ้ว” นวัตกรรมเสริมความงาม เพิ่มมิติใบหน้า ที่สาว ๆ คิ้วบาง ต้องลอง!

ปัจจุบันการเสริมความงามในด้านต่าง ๆ มักได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่สาว ๆ โดยเฉพาะในส่วนบริเวณใบหน้าของพวกเธอที่ต้องใช้เป็นด่านแรกในการพบเจอผู้คนในสังคม ซึ่งการที่จะเพิ่มมิติ หรือความโดดเด่นให้กับคุณนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งการผ่าตัดศัลยกรรมให้เจ็บตัวอย่างเดียว แต่ยังมีอีกสิ่งที่สามารถช่วยดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้างได้เช่นกัน นั่นก็คือการ สักคิ้ว ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการเสริมความงามรูปแบบนี้กันค่ะ สักคิ้ว คืออะไร ด้วยคำนิยามทางด้านความงามที่อาจคุ้นหูใครหลายคนอย่าง “คิ้วคือมงกุฎของใบหน้า ดังนั้นการแต่งเติมคิ้ว ดังนั้นการเสริมความงามด้วยวิธี การสักคิ้ว จึงกลายมาเป็นที่นิยมในหมู่สาว ๆ เพราะช่วยให้ผู้หญิงทั้งหลาย สะดวกและประหยัดมากขึ้นในการแต่งหน้ายิ่งขึ้น เนื่องจาก การสักคิ้วถาวร เป็นวิธีเสริมความงามที่เหมาะกับผู้ที่ประสบปัญหาคิ้วบาง ทรงคิ้วไม่เป็นรูป โดยผู้เชี่ยวชาญนิยมใช้นวัตกรรม หรือเทคนิคการสักที่มีชื่อว่า Microblading ลักษณะเข็มสักแบบปลายแบนยาว เหมาะกับการวาดเส้นคิ้วให้เป็นเส้นเรียงตัวสวยเสมือนขนคิ้วจริง อีกทั้งยังมีการจุ่มสีที่คุณสามารถเลือกเฉดสีให้เข้ากับใบหน้าของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสักคิ้วให้มากขึ้น คุณควรรับรู้ไว้เสียก่อนว่า การสักคิ้วนั้น สามารถทำได้กับผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกฝน และมีใบรับรองเท่านั้น เพราะเนื่องจากเป็นการสักคิ้วที่ใช้เครื่องมือค่อนข้างที่จะสัมผัสกับผิวหนังของเราโดยตรง จึงจำเป็นต้องมีความชำนาญ พร้อมประสบการณ์เฉพาะทางคุณถึงจะมั่นใจได้ว่าได้รับความปลอดภัย หรือได้รับผลข้างเคียงหลังสักน้อยที่สุด ข้อเสียของการ สักคิ้ว ที่คุณควรรู้ นอกจากการสักคิ้วจะเป็นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้คิ้วของคุณนั้นมีมิติมากขึ้นแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีความเสี่ยงอีกหลายกรณี ดังนี้ ที่ควรศึกษาไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาก่อนการตัดสินใจเข้ารับการสัก การติดเชื้อ บางครั้งอุปกรณ์การสักก็อาจเป็นการนำภาหะของเชื้อแบคทีเรียบางอย่างเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างง่ายดาย เพราะการสักนั้นเป็นการใช้เข็มฝังเม็ดสีลงไปผิวหนังโดยตรง ที่สำคัญคุณควรสังเกตเข็มสักให้ดีว่าสถานบริการที่คุณเลือกมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทุกครั้งหรือไม่ รวมทั้งมีการใช้หมึกซ้ำกับผู้สักคนก่อนหรือเปล่า เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายคุณได้ถึงแม้จะเป็นเพียงการสักแบบแผลเล็กก็ตาม เกิดเป็นแผลเป็นนูน หากคุณมีแนวโน้ม หรือเคยประสบกับปัญหาของแผลเป็นนูน ที่เรียกว่า […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เท้าเหม็น จนแทบสลบ เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

การมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ไม่ใช่เรื่องตลก โดยเฉพาะกับ กลิ่นเท้า ที่เหม็นหนักมาก ถอดรองเท้าออกมาทีกลิ่นแทบจะพาคนรอบข้างสลบ หรือต่อให้ไม่ถอดรองเท้าก็ยังได้กลิ่นเล็ดลอดออกมาอยู่ดี นี่เป็นปัญหาสุขภาพที่ทำให้ใครหลายคนหมดความมั่นใจกันมานักต่อนักแล้ว และถ้าใครที่กำลังประสบกับปัญหา เท้าเหม็น อยู่ล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกันเท้าเหม็นและเคล็ดลับการดูแลเท้ามาฝากค่ะ ทำไมถึง เท้าเหม็น อาการเท้าเหม็น (Bromodosis) เป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับใครหลายคน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่เหงื่อออกบริเวณเท้า ยิ่งเหงื่อออกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของอาการเท้าเหม็นมากเท่านั้น โดยเหงื่อที่ออกมานั้นก็จะทำให้เกิดอาการอับชื้น เมื่อเกิดการอับชื้นขึ้นที่เท้า ก็จะเป็นการกระตุ้นให้แบคทีเรียที่ผิวหนังบริเวณเท้ามีการเจริญเติบโตมากขึ้น แบคทีเรียที่เพิ่มจำนวนขึ้นมานั้นก็จะเข้าไปจัดการสลายสสารในเหงื่อ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นที่ไม่ถึงประสงค์ออกมา ดังนั้นผู้ที่มีแนวโน้มของอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติ ก็จะมีแนวโน้มที่จะมี กลิ่นเท้า เหม็น มากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในวัยรุ่น หรือสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางฮฮร์โมนอยู่ตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายก็มีผลทำให้มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานยารักษาโรคบางชนิด ตัวยาบางชนิดก็อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีเหงื่อออกมากขึ้นได้เหมือนกัน มีวิธีป้องกันเท้าเหม็นอย่างไรบ้าง ปัญหาเรื่องของกลิ่นไม่ว่าจะเป็นกลิ่นตัว กลิ่นเท้า หรือกลิ่นปาก ความสะอาดเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ โดยเฉพาะถ้ามีเหงื่อออกที่เท้ามาก หรือมีอาการเท้าเหม็น ยิ่งต้องใส่ใจกับความสะอาดของเท้า และดูแลเอาใจใส่เท้าดังต่อไปนี้ ล้างทำความสะอาดเท้า ด้วยสบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีคุณสมบัติต้านหรือลดแบคทีเรียอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง อย่าปล่อยให้เท้าเปียก หากเท้าเปียกรีบทำให้เท้าแห้ง โดยเฉพาะช่วงง่ามนิ้วเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าเกิดความอับชื้น เปลี่ยนรองเท้าเสียบ้าง หากเป็นไปได้พยายามหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าคู่เดิมติดต่อกัน ควรเว้นระยะการใช้งานรองเท้าคู่หนึ่งเพื่อให้รองเท้าได้มีเวลาในการระบายความอับชื้น หรือลดความเปียกชื้นของรองเท้าบ้าง เปลี่ยนถุงเท้าเป็นประจำ และควรเลือกใช้ถุงเท้าที่มีเนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ และตะไบผิวหนังส่วนที่แตกหรือแห้งออกไป เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

คลื่นเสียงบำบัดสมอง กับประโยชน์ที่คุณควรรู้ไว้

เมื่อพูดถึงการบำบัดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น การบำบัดด้วยเสียงเพลง หรือแม้แต่การใช้คลื่นเสียงบำบัดสมอง แต่หลายคนยังอาจจะไม่รู้จักว่า คลื่นเสียงบำบัดสมอง (Binaural Beats) นั้น เป็นอย่างไร และมันมีประโยชน์อะไรต่อสมองและร่างกายได้ ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับ คลื่นเสียงบำบัดสมอง (Binaural Beats) คลื่นเสียงบำบัดสมอง (Binaural Beats) เป็นเทคนิคในการรวมความถี่ของเสียง 2 ความถี่ที่แตกต่างกันเล็กน้อย เพื่อให้สมองสร้างโทนเสียงความถี่ใหม่เดียว ทฤษฎีก็คือเมื่อสมองได้รับเสียงความถี่ที่แตกต่างกัน 2 ความถี่ในเวลาเดียวกัน ในหูแต่ละข้างจะรับรู้เสียงต่างกัน ซี่งเป็นความแตกต่างระหว่างความถี่ 2 ความถี่ที่แยกจากกัน แต่สมองของคุณจะปรับความถี่ทั้ง 2 นี้ ให้เป็นโทนเสียงใหม่ หากคุณฟังคลื่นเสียงบำบัดสมองโดยการใช้หูฟัง ในหูแต่ละข้างจะได้รับเสียงที่ความถี่ต่างกันเล็กน้อย ซึ่งมักจะมาพร้อมกับเสียงพื้นหลังที่ผ่อนคลาย หากหูซ้ายของคุณได้รับโทนเสียง 300 เฮิรตซ์ และหูขวาของคุณได้รับเสียง 280 เฮิรตซ์ สมองของคุณจะประมวลผลและดูดซับโทนเสียง 10 เฮิรตซ์ นั่นคือ คลื่นเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งเป็นคลื่นที่คุณจะไม่ได้ยินจริงๆ และคุณไม่จำเป็นต้องได้ยินเสียง เพราะสมองของคุณจะได้รับผลกระทบจากมัน สำหรับเหตุผลที่คลื่นเสียงเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการนอนหลับและการผ่อนคลาย ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การสัมผัสกับคลื่นเสียงบำบัดสมอง สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับความตื่นตัวของสมอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ประโยชน์ของแสงแดด ออกแดดวันละนิด จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง!

หลาย ๆ คนอาจจะไม่ชอบออกไปเผชิญแสงแดดนัก เพราะปัจจัยเรื่องความร้อน หรือกังวลใจว่าแสงแดดจัดอาจทำร้ายผิว แต่คุณรู้หรือไม่ว่า.. ประโยชน์ของแสงแดด มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพกาย รวมไปถึงการปรับปรุงสุขภาพจิต แต่ แสงแดด จะช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ประโยชน์ของแสงแดด ที่มีต่อ สุขภาพกาย นอกจากประโยชน์ของแสดงแดดที่มีต่อสุขภาพจิตแล้ว แสงแดดนั้นยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพอีกด้วย ดังนี้ ส่งเสริมสุขภาพกระดูก การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต-บี (Ultraviolet-B) ซึ่งเป็นรังสีในดวงอาทิตย์ จะทำให้ผิวของคุณสร้างวิตามินดี จากการศึกษาหนึ่งในปีค.ศ. 2008 จากแหล่งการศึกษาที่เชื่อถือได้พบว่า ในช่วงเวลา 30 นาที ในขณะที่สวมชุดว่ายน้ำ ผู้คนจำนวนมากได้รับวิตามินดี ดังต่อไปนี้ คนคอเคเชียน (Caucasian people) ส่วนใหญ่ ได้รับวิตามินดี 50,000 หน่วยสากล (IU) คนผิวแทน ได้รับวิตามินดี 20,000-30,000 หน่วยสากล (IU) คนผิวคล้ำ ได้รับวิตามินบี 8,000-10,000 หน่วยสากล (IU) โดยวิตามินดีที่เกิดจาก แสงแดด นั้นมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพกระดูก ระดับวิตามินดีต่ำจะเชื่องโยงกับโรคกระดูกอ่อนในเด็ก และโรคที่ทำให้เสียกระดูก เช่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อสงสัยทำไม สีรอยช้ำ ถึงมีสีที่แตกต่างกัน

หากเราเดินใจลอยไม่ระวัง แขน ขาอาจจะเกิดอุบัติเหตุ ฟาดหรือกระทบกระแทก ทำให้ร่างกายเกิดรอยช้ำ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยสังเกตว่า สีรอยช้ำ ของเรานั้นมีสีที่หลากหลายทั้งสีเขียว ม่วง แดง วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ทำไมรอยช้ำถึงที่มีที่แตกต่างกัน ไปอ่านกันเลยค่ะ [embed-health-tool-bmi] รอยช้ำ เกิดขึ้นได้อย่างไร รอยช้ำ เป็นรอยที่เกิดขึ้นจากการที่ผิวหนังกระทบกับของแข็งอย่างรุนแรง จนทำให้เส้นเลือดฝอยหรือเส้นเลือดเล็ก ๆ นั้นแตก เมื่อเส้นเลือดฝอยแตกทำให้เลือดออก ซึมไปยังเนื้อเยื่อบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ซึ่งทำให้เกิดรอยช้ำและเกิดการเปลี่ยนสีใต้ผิวหนัง อย่างที่เราเห็น ๆ กัน ในขณะเดียวกัน รอยช้ำ ก็จะดูดซับเลือดที่รั่วออกมา ทำให้รอยช้ำมีลักษณะและสีที่เปลี่ยนไป มาเรียนรู้เกี่ยวกับ สีรอยช้ำ กันเถอะ ตั้งแต่เกิดการกระแทก รอยช้ำ นั้นจะอยู่นาน 2-3 สัปดาห์ รอยช้ำของแต่ละคนนั้นอาจจะใช้เวลากว่าจะหายไม่เท่ากัน ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ และจุดที่ได้รับรอยช้ำบนร่างกาย หากเกิดรอบช้ำที่แขนหรือขาอาจจะหายช้ากว่าปกติ และสีของรอยช้ำก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามลำดับ และมีเฉดสีที่ค่อย ๆ เปลี่ยนไปดังนี้ สีชมพูและแดง หลังจากที่ร่างกายได้รับการกระแทก เช่น โดนกระแทกที่หน้าแข้ง โดนกระแทกที่แขน อาจทำให้บริเวณนั้นเกิดรอยช้ำสีชมพูหรือแดงขึ้นมา นอกจากสีที่ปรากฏขึ้นแล้ว […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)

กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) หรือภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ เกิดขึ้นจากการกดทับของเส้นประสาทมีเดียน ทำให้มือเกิดอาการเหน็บชา หรืออ่อนแรง และอาจส่งผลกระทบต่อการขยับของมือและแขนได้ คำจำกัดความกลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ คืออะไร กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) หรือภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ เกิดขึ้นจากการกดทับของเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เส้นประสาทบนฝ่ามือ ที่ทำให้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งหนึ่งสามารถรับความรู้สึกได้ เมื่อเส้นประสาทมีเดียนนี้ถูกกดทับ จะทำให้มือเกิดอาการเหน็บชา หรืออ่อนแรง และอาจส่งผลกระทบต่อการขยับของมือและแขนได้ กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้นจัดได้ว่า เป็นอาการกดทับเส้นประสาทที่พบได้มากที่สุด โดยสามารถพบได้มากถึง 90% ของอาการกดทับเส้นประสาททั้งหมด กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือพบบ่อยแค่ไหน กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้นสามารถพบได้ประมาณ 3.8% จากจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมักจะพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และจะพบได้บ่อยในกลุ่มของผู้สูงอายุ 40-60 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่านั้นเช่นกัน อาการอาการของกลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ รู้สึกแสบร้อน เหน็บชา หรืออาการคันในบริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง มือไม้อ่อน ไม่สามารถจับของได้อย่างถนัด รู้สึกไม่มีแรงที่มือ นิ้วกระตุก รู้สึกซ่าตามข้อมือขึ้นไปจนถึงแขน ในช่วงแรกๆ คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการมือชา อ่อนแรง หรือเป็นเหน็บ ทำให้เคลื่อนไหวมือได้ลำบากมากขึ้น เมื่ออาการรุนแรงขึ้น อาจทำให้สูญเสียแรงจับเพราะกล้ามเนื้อมือหดตัว นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดและตะคริวที่มืออีกด้วย ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณสังเกตพบว่า อาการของกลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้นเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ทำให้ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวมือได้ตามใจชอบ หรือมีอาการปวดที่รบกวนการนอนหลับของคุณ ควรรีบปรึกษาแพทย์ในทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เนื้อแดง อร่อยถูกใจ แต่อาจเสี่ยงทำร้ายสุขภาพได้โดยไม่รู้ตัว

ชอบบุฟเฟต์ รักปิ้งย่าง เงินเดือนออกเป็นต้องนัดปาร์ตี้เนื้อย่าง ก็แหมเนื้อย่างสุดแสนจะอร่อยขนาดนี้ ใครบ้างจะไม่ชอบ แต่…รู้หรือไม่ว่า ยิ่งกินเนื้อมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าเป็น เนื้อแดง แล้วล่ะก็ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการกินเนื้อแดงมาฝากค่ะ  เนื้อแดง คืออะไร เนื้อสัตว์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดและเนื้อสัตว์ที่เรารับประทานกันอยู่ในชีวิตประจำวันนี้ สามารถจำแนกออกได้หลายลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้ เนื้อสัตว์แปรรูป: มักเป็นเนื้อสัตว์หรือเนื้อวัวที่ถูกเลี้ยงตามอัตภาพ แล้วมีการนำเนื้อนั้นมาแปรรูปในโรงงานเป็น ไส้กรอก เบคอน แฮม ฮอตดอก เบอร์เกอร์ เป็นต้น เนื้อแดงธรรมดา: คือเนื้อแดงที่ยังไม่ถูกนำไปแปรรูป มักเป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในฟาร์มสำหรับแล่เอาเนื้อโดยเฉพาะ ได้แก่ เนื้อสัตว์จำพวก เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เป็นต้น เนื้อขาว: คือเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะของเนื้อที่เป็นสีขาวมากกว่าสีแดง มักพบได้ในเนื้อสัตว์ปีกและเนื้อปลา เช่น เนื้อไก่ เนื้อไก่งวง เนื้อปลา เนื้อสัตว์ออร์แกนิก: คือเนื้อที่มาจากสัตว์ซึ่งถูกเลี้ยงตามธรรมชาติด้วยหญ้าหรือฟาง ได้รับการดูแลแบบออร์แกนิก ไม่มีการใช้ยา สารเร่ง สารเคมี หรือฮอร์โมนใดๆ  ดังนั้นเนื้อแดงจึงมักจะหมายถึงเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงสดและเข้ม เมื่อถูกทำให้สุกหรือปรุงจนสุกก็จะมีสีที่เข้มขึ้นไปอีก โดยเนื้อแดงมักหมายถึงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่จะไม่รวมถึงเนื้อของสัตว์ปีก หรือเนื้อปลา เนื่องจากเป็นเนื้อที่มีส่วนของเนื้อสีขาวมากกว่าเนื้อสีแดง โดยเนื้อแดงที่เรารู้จักกันดีก็ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ (Takayasu's Arteritis)

หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis) เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจและหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังส่วนแขนและเดินผ่านทางลำคอไปยังสมอง อาการอักเสบดังกล่าว ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพองจนเกิดอาการตีบตันหรืออุดตัน คำจำกัดความหลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis) คืออะไร    หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรคทากายาสุ (Takayasu’s Arteritis) เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจและหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังส่วนแขนและเดินผ่านทางลำคอไปยังสมอง อาการอักเสบดังกล่าว ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพองจนเกิดอาการตีบตันหรืออุดตัน อย่างไรก็ตาม โรคทากายาสุเป็นโรคที่หาได้ยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดังนี้ มีไข้ ภาวะโลหิตจาง เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหงื่อออกเวลากลางคืน เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด โรคทากายาสุสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ทุกเชื้อชาติ โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงเอเชียอายุระหว่าง 15 ถึง 35 ปี อาการของโรคทากายาสุอาการของโรคทากายาสุ อาการของโรคทากายาสุจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ อาการของโรคทากายาสุ ระยะที่ 1 เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว มีไข้เล็กน้อย ในบางครั้งอาจมีอาการเหงื่ออกตอนกลางคืนร่วมด้วย อาการของโรคทากายาสุ ระยะที่ 2 ในระยะที่ 2 เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดจนเกิดอาการตีบตันหรืออุดตัน ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมีอาการ ดังต่อไปนี้ แขนและขามีการอ่อนแรงหรือเกิดอาการปวด รู้สึกวิงเวียนศีรษะ เป็นลม ปวดศีรษะ เกิดความผิดปกติทางการมองเห็น เจ็บหน้าอก หายใจถี่ ความดันโลหิตสูง ท้องเสีย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กินข้าวเย็นไว ส่งผลดีอย่างไรต่อสุขภาพบ้าง

เมื่อพูดถึงการลดน้ำหนัก หลายคนคงพอจะทราบดีกว่าควรจะต้องกินข้าวก่อนช่วง 18.00 น. หลังจากนั้นไม่ควรกินอะไรอีก เพราะอาจทำให้อ้วนได้ แต่ความจริงแล้ว กินข้าวเย็นไว ก็เป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน กินข้าวดึก ทำให้อ้วนได้จริงหรือ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ของสมาคม Endocrine Society พบว่า การกินอาหารเย็นหรือมื้อดึกนั้น มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น โดยไม่คำนึงว่ามื้อนั้นจะเหมือนกับที่คุณเคยกินมาก่อนหน้าหรือไม่ นอกจากนั้นการกินอาหารมื้อดึก ยังมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนอีกด้วย การกินอาหารในช่วงดึกนั้นจะทำให้การเผาผลาญเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ส่งเสริมทำให้เกิดโรคอ้วน มีงานศึกษา โดยให้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 20 คน ซึ่งเป็นชาย 10 คน และหญิง 10 คนเข้าร่วมการวิจัย เพื่อค้นหาว่าเมื่อร่างกายต้องเผาผลาญอาหารเย็นในเวลา 22.00 น. แทนที่จะเป็นเวลา 18.00 น. จะเกิดอะไรขึ้น โดยให้ผู้เข้าร่วมศึกษาทุกคนเข้านอนในเวลาเดียวกันคือ 23.00 น. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่กินอาหารมื้อดึกระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน