อาการของโรค

อาการของโรค คือ สัญญาณแจ้งเตือนว่าคุณกำลังจะป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งอาการของแต่ละโรคนั้นจะแตกต่างกันออกไป แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณนั้นเป็นโรคอะไรกันแน่ ลองมาหาคำตอบกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

อาการของโรค

ปวดหัวตุ๊บๆ สาเหตุ และวิธีรักษา

อาการปวดหัว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวันและทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกตึงเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเจ็บป่วย ที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีแรงกดหรือรู้สึกปวดจี๊ด ๆ ภายในหัว ซึ่งบางคนอาจมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือ ปวดหัวตุ๊บๆ ส่งผลให้รบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงควรรักษาด้วยการรับประทานยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือเข้าพบคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] ปวดหัวตุ๊บๆ มีสาเหตุจากอะไร อาการปวดหัวตุ๊บ ๆ มีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปตามประเภท ซึ่งมีมากกว่า 100 ประเภท แต่ที่พบบ่อยได้ที่สุดนั้น อาจมีดังนี้ ปวดหัวตึงเครียด เป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียดทางจิตใจ มีปัญหาบริเวณเส้นประสาทท้ายทอยซึ่งมีปัจจัยมาจากการนั่งหรือยืนผิดท่า ออกกำลังกายมากเกินไป ข้อต่อบริเวณท้ายทอยอักเสบ อาการปวดหัวประเภทนี้อาจเป็นนานประมาณ 30 นาที หรือ 2-3 วัน ที่สังเกตได้จากอาการปวดหัวตุ๊บๆ ด้านหลังศีรษะ และเริ่มแผ่ไปบริเวณด้านหน้าของศีรษะด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ปวดหัวไมเกรน  ปวดหัวไมเกรนมักจะมีอาการปวดศีรษะตุ๊บๆ เป็นจังหวะด้านใดด้านหนึ่งหรืออาจเป็นทั้ง 2 ด้าน ที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่บทบาทในการควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท หากมีระดับเซโรโทนินต่ำหรือมากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดขยายและหดตัว ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลงหรือและอาจทำให้หลอดเลือดขยายจนกดทับบริเวณปลายประสาทที่นำไปสู่อาการไมเกรน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การอดนอน การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาขยายหลอดเลือด […]

สำรวจ อาการของโรค

อาการของโรค

เจ็บหน้าอกข้างซ้าย สัญญาณอันตรายต่อสุขภาพที่ไม่ควรวางใจ

อาการเจ็บหน้าอก เป็นสัญญาณทางสุขภาพที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ได้ครอบคลุมแค่เพียงภาวะใดภาวะหนึ่ง หรือโรคใดโรคหนึ่ง แต่ อาการเจ็บหน้าอกข้างซ้าย ของคุณอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ หรืออาจหมายถึงปัญหาสุขภาพปอดที่คุณกำลังเผชิญอยู่ก็ได้เช่นกัน บทความนี้ของ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเอาสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาการ เจ็บหน้าอกข้างซ้าย มาฝากกันค่ะ เจ็บหน้าอกข้างซ้าย เป็นสัญญาณอันตรายอะไรบ้าง อาการเจ็บหน้าอกข้างซ้าย อาจเป็นสัญญาณสุขภาพได้หลายประการ ดังนี้ กรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มักจะก่อให้เกิด อาการเจ็บหน้าอกข้างซ้าย เพราะเมื่อกรดในกระเพาะอาหารถูกตีกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารจะก่อให้เกิดอาการเสียดหรือเจ็บที่บริเวณหน้าอกข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง หรือข้างซ้ายอย่างเดียว และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ มีอาการแสบร้อนกลางอก กลืนอาหารลำบาก มีรสเปรี้ยวในปากและลำคอ อาการปวดเค้นหัวใจ อาการปวดเค้นหัวใจ หรืออาการเจ็บหน้าอก ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนจากเลือดไม่เพียงพอ จึงก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บ ปวด แน่นที่บริเวณหน้าอกข้างซ้าย อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหน้าอกชนิด Angina ไม่ถือว่าเป็นโรค แต่เป็นอาการโดยทั่วไปของปัญหาสุขภาพหัวใจ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือรู้สึกปวดเค้นที่หัวใจข้างซ้าย ควรหาโอกาสไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หัวใจวาย อาการหัวใจวายเกิดจากการที่หัวใจได้รับออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิด อาการเจ็บหน้าอกข้างซ้าย ซึ่งสามารถมีอาการเจ็บหน้าอกได้หลายกรณี ได้แก่ เจ็บหน้าอกข้างซ้ายอย่างช้า ๆ หรือเจ็บหน้าอกข้างซ้ายขึ้นมาอย่างทันทีทันใด และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ รู้สึกปวดแน่นที่หน้าอก […]


อาการของโรค

กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg Syndrome)

หากคุณลองสังเกตตนเอง หรือบุคคลรอบข้างแล้วพบว่า ดวงตา และผิวหนังมีการเปลี่ยนสี พร้อมทั้งมีการทำงานของระบบประสาทไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ก็สามารถเป็นไปได้ว่าสัญญาณแรกเริ่มของอาการ กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg Syndrome) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความกลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก หรือวาร์เดนเบิร์กซินโดรม คือ ภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกได้ว่าค่อนข้างค้นพบได้ยากในบุคคลทั่วไป ซึ่งมักมีผลต่อผิวหนัง และดวงตา ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งโรคนี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 เป็นประเภทที่ผู้ป่วยอาจประสบได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งผู้ที่ประสบกับประเภทนี้มักจะมีดวงตาโตเบิกกว้าง พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนสีจาก ดำ น้ำตาล เป็นสีฟ้าซีด อีกทั้งยังอาจทำให้พวกเขานั้นเกิดการสูญเสียการได้ยินร่วม ประเภทที่ 2  ลักษณะอาการทั่วไปค่อนข้างคล้ายคลึงกับประเภทที่ 1 แต่ผู้ป่วยอาจไม่มีดวงตาที่เบิกกว้างมากนัก และยังอาจประสบกับภาวะการสูญเสียการได้ยินได้มากกว่า ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยประเภทนี้มักมีอาการในประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ร่วม แต่อาจสามารถประสบกับภาวะอื่นแทรกซ้อนเข้ามาด้วย เช่น ความผิดปกติของนิ้วมือ เพดานในช่องปากโหว่ เป็นต้น ประเภทที่ 4 นอกจากจะมีปัญหาทางการได้ยินแล้ว เซลล์ของระบบประสาทของผู้ป่วยอาจมีการทำงานได้ไม่เต็มที่ จนส่งผลกระทบต่อระบบของลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องผูกอยู่บ่อยครั้งได้ กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก สามารถพบบ่อย ได้เพียงใด กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์กซินโดรมนี้ […]


อาการของโรค

ขมปาก ขมคอ กินอะไรก็ไม่อร่อย เป็นเพราะอะไรกันนะ

คุณผู้อ่านหลาย ๆ ท่าน น่าจะต้องประสบพบเจอกับอาการขมปาก ขมคอ กินอะไรก็ไม่อร่อย แม้แต่ดื่มน้ำเปล่ายังรู้สึกขม เล่นเอาหงุดหงิด รำคาญใจอยู่ไม่น้อยเลย แต่รู้หรือไม่ว่า อาการ ขมปาก ขมคอ นี้เกิดจากอะไร และเมื่อเป็นแล้วเราจะรับมือได้อย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการนี้มาฝากค่ะ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของอาการ ขมปาก ขมคอ อาการขมปาก ขมคอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ กลุ่มอาการแสบร้อนช่องปาก (Burning mouth syndrome) เป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และไม่เพียงทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนภายในช่องปากเท่านั้น แต่ยังอาจก่อให้เกิดอาการขมปาก ขมคอ กินอะไรไม่ค่อยอร่อยได้ด้วยเช่นกัน ปากแห้ง อาการปากแห้งเกิดจากการที่ภายในปากไม่สามารถผลิตน้ำลายออกมาได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมที่จะรักษาความชุ่มชื้นไว้ เมื่อปริมาณของน้ำลายลดลงจึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปากแห้ง มากไปกว่านั้น ปริมาณของน้ำลายที่น้อยลงยังมีผลต่อรสชาติภายในปากด้วย เช่น รู้สึกขมปาก ขมคอ หรือรับรสเค็มได้น้อยลง ตลอดจนเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาฟันผุด้วย ยารักษาโรค ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่รับประทานเพื่อรักษาและบรรเทาอาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดรสชาติขมปาก ขมคอได้ โดยเฉพาะถ้าหากยาหรืออาหารเสริมนั้นมีองค์ประกอบที่เป็นรสขม หรือธาตุโลหะ ก็จะส่งผลให้รู้สึกขมปาก ขมคอได้ เช่น ยาความดันโลหิต ยารักษาโรคหัวใจ ยาไทรอยด์ ยาจิตเวช ยาต้านมะเร็ง กรดไหลย้อน กรดไหลย้อนเกิดจากการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและช่องท้องแล้ว ยังก่อให้เกิดรสขมที่ปากและลำคอ หรือมีอาการเรอเปรี้ยวร่วมด้วย อาการเจ็บป่วย ในช่วงที่ไม่สบาย เป็นหวัด หรือร่างกายเกิดการติดเชื้อจนมีอาการเจ็บป่วย ช่วงเวลาที่ไม่สบายนั้นร่างกายจะปล่อยโปรตีนจากเซลล์ต่าง […]


อาการของโรค

รู้จักกับอาการ แผลเป็นหนอง ดูแลอย่างไรดี

แผลผ่าตัดหรือแผลสด สามารถเกิดหนองได้หลากหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป หนองเป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ที่ไหลออกมาจากแผล หากแผลมีหนองไหลออกมา เป็นสัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ว่า แผลที่เป็นอยู่นั้นเกิดการติดเชื้อ หากเกิดแผลต้องหมั่นทำความสะอาด และตรวจดูอยู่เสมอว่าแผลนั้นมีหนองหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ แผลเป็นหนอง ว่าควรทำอย่างไรดี หนอง คืออะไร หนอง (Pus) คือของเหลวที่ไหลออกมาจากบาดแผล หากบาดแผลของเรามีหนองนั้นก็จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะหนองจะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ สีเหลือง สีเทา สีเขียว และสีน้ำตาล โดยสีและความเข้มข้นของหนองนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของเชื้อโรคที่มีอยู่ รวมไปถึงเชื้อโรคที่ตายแล้ว และขึ้นอยู่กับจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วย ประเภทของ แผลเป็นหนอง ประเภทของแผลเป็นหนองนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. Sanguineous drainage หนองชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นสีแดงสดหรือสีชมพู โดยหนองชนิดนี้จะประกอบไปด้วย เลือดสดเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับน้ำเชื่อม แต่จะมีความข้นและความหนืดมากกว่าเลือดปกติ ซึ่งหนองชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นกับแผลที่เพิ่งเป็น หากเกิดหนองชนิดนี้หลังจากที่เป็นแผลได้ 2-3 ชั่วโมง แสดงว่าแผลนั้นเกิดการฟกช้ำ 2. Serous drainage หนองชนิดนี้เป็นหนองที่ประกอบไปด้วยโปรตีน เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์สำคัญอื่น ๆ ที่ร่างกายมักจะใช้ในการรักษาตัวเอง หนองชนิดนี้มีลักษณะใส และโปร่งแสงคล้ายกับน้ำ หากมีหนองชนิดนี้ที่แผลมากเกิดไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าบริเวณแผลมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายอยู่บริเวณนั้น 3. Serosanguineous drainage หนองชนิดเป็นหนองที่ผสมกันระหว่างหนองสองชนิดข้างต้น […]


อาการของโรค

น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

หลายคน โดยเฉพาะสาว ๆ อาจจะรู้สึกดีเวลาที่น้ำหนักตัวลดลง และคิดว่ายิ่งน้ำหนักลดลงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น หากน้ำหนักตัวที่ลดลงเป็นผลมาจากการควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายเป็นประจำ นั่นก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่เมื่อไหร่ที่ น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ หรือน้ำหนักลดฮวบโดยที่คุณไม่ได้พยายามลดน้ำหนัก Hello คุณหมอ อยากบอกว่า คุณไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง ที่ควรได้รับการรักษาทันทีก็ได้ น้ำหนักลดแค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ น้ำหนักของคนเราขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ตลอดเวลา บางครั้งความเครียดในชีวิตก็อาจส่งผลให้น้ำหนักลดลงได้ แต่หากน้ำหนักของคุณลดลงมากกว่า 5% ภายในระยะเวลา 6-12 เดือน ทั้ง ๆ ที่คุณก็ใช้ชีวิตตามปกติ จะถือว่าคุณมีภาวะน้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ และต้องรีบเข้าพบคุณหมอทันที ยิ่งหากภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ก็ยิ่งไม่ควรปล่อยไว้ เพราะภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่นที่ร้ายแรงได้ และเมื่อไปพบคุณหมอ คุณควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วยว่า นอกจากน้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุแล้ว คุณมีอาการอื่นอีกหรือไม่ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวที่ถือว่าเข้าข่ายน้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ ผู้ที่มีน้ำหนัก 72 กิโลกรัม และน้ำหนักลดลงอย่างน้อย 3.6 กิโลกรัม ภายใน 6-12 เดือน ผู้ที่มีน้ำหนัก 90 กิโลกรัม และน้ำหนักลดลงอย่างน้อย […]


อาการของโรค

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)  เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างแอนติบอดี้ ส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตามบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง นอกจากนี้หากสตรีมีครรภ์อยู่ในภาวะต้านฟอสโฟลิพิด อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้ คำจำกัดความกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างแอนติบอดี้ ส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตามบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง นอกจากนี้หากสตรีมีครรภ์อยู่ในภาวะต้านฟอสโฟลิพิด อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดที่แน่ชัด แต่การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวได้  พบได้บ่อยเพียงใด อาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคลูปัส (Lupus) หรือกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) อาการอาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด ผู้ป่วยที่อยู่กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด จะมีอาการดังต่อไปนี้ เลือดอุดตันที่ขา เช่น อาการปวดและบวมแดง การแท้งบุตรบ่อย ๆ หรือปัญหาในการคลอดบุตร รวมถึงปัญหาภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ ผื่น มีอาการผื่นแดงขึ้นตามบริเวณร่างกาย โรคหลอดเลือดสมอง อาการทางระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ภาวะสมองเสื่อมและอาการชัก เลือดออกเป็นระยะๆ โดยเฉพาะบริเวณจมูกและเหงือก นอกจจากนี้อาจมีเลือดออกที่ผิวหนัง […]


อาการของโรค

เลือดออกจากหัวนม เป็นเพราะอะไร อันตรายรึเปล่านะ

หน้าอกและเต้านมนั้น เป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญ ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านั้น บางครั้งก็อาจจะเรื่องปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคได้เช่นกัน แล้วอาการ เลือดออกจากหัวนม นั้นเกิดขึ้นจากอะไร เป็นสัญญาณบอกอันตรายอะไรรึเปล่า Hello คุณหมอ ชวนมาดูคำตอบไปพร้อมกันจากบทความนี้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เลือดออกจากหัวนม อาการเลือดออกจาก หัวนม อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ หัวนม แตกจากการให้นมลูก แม้ว่าโดยปกติแล้ว การให้นมลูกนั้นไม่ควรจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้มีเลือดไหล แต่คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลาย ๆ คน โดยเฉพาะเหล่าคุณแม่มือใหม่ อาจจะต้องประสบปัญหากับอาการหัวนมแตก เนื่องจากการให้นมลูก ด้วยอาจเป็นเพราะคุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ คุณแม่ตั้งท่าให้นมไม่เหมาะสม หรืออาจเป็นเพราะลูกของคุณดูดนมอย่างไม่ถูกต้อง มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า การสอนให้ทารกอายุระหว่าง 4 วัน ถึง 12 เดือน ให้สามารถดูดนมแม่ได้อย่างถูกต้องนั้น จะสามารถช่วยลดปัญหาอาการเจ็บ หัวนม จากการให้นมบุตรได้มากถึง 65% คุณสามารถสังเกตได้ว่า ลูกของคุณกำลังดูดนมอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ โดยดูได้จากสัญญาณดังต่อไปนี้ หลังจากให้นมลูกแล้ว หัวนมของคุณยังอยู่ในลักษณะแบน หรือบุ๋มเข้าไป มีอาการเจ็บหัวนมอย่างรุนแรงขณะให้นมลูก ลูกไม่อิ่ม หรือยังไม่สงบลง แม้ว่าจะให้นมแล้ว บริเวณฐานเต้านมไม่อยู่ในปากของลูก การจัดการ เราสามารถจัดการได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนท่าทางการให้นมลูกเสียใหม่ โดยพยายามจัดให้หัวนมนั้นอยู่พอดีตรงปากของลูก แล้วกดให้หัวนมเข้าไปลึกขึ้น […]


อาการของโรค

เจ็บหน้าอกข้างขวา ขึ้นมากะทันหัน มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

อาการเจ็บหน้าอก อาจจะดูเป็นอาการเล็ก ๆ แต่ผลเสียที่ตามมาอาจไม่เล็กอย่างที่คิด มากไปกว่านั้น ถ้าหากคุณปล่อยให้อาการ เจ็บหน้าอกข้างขวา นี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยไม่มีการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงบางอย่างก็เป็นได้ บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับ อาการเจ็บหน้าอก ให้ชัดถึงสาเหตุหลัก เพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ [embed-health-tool-heart-rate] อาการ เจ็บหน้าอกข้างขวา คืออะไร เป็นอาการที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณได้หลายประการ ทั้งในระดับไม่รุนแรง จนไปถึงขั้นระดับรุนแรงที่อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต ซึ่งอาจมาจากสาเหตุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ เจ็บอกข้างขวา จากความเครียด หากคุณมีความเครียดในระดับที่รุนแรง อาจส่งผลให้สุขภาพหัวใจคุณได้รับผลกระทบ หรือหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนเกิดเป็น อาการเจ็บหน้าอก อาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย กล้ามเนื้อหน้าอกตึงเครียด เนื่องจากหน้าอกของคนเรามีผนังที่เรียกกว่า กล้ามเนื้อ กั้นเอาไว้ ซึ่งอาการนี้จะพบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ชอบทำกิจกรรมโดยใช้ร่างกายอย่างหนัก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เป็นต้น จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นรู้สึกเจ็บปวด และอาจเกิดอาการ เจ็บอกข้างขวา ได้ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะในกรณีนี้คุณสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการพักผ่อน หรือการใช้ยาที่ซื้อตามร้านขายยาโดยผ่านการอนุญาตจากเภสัชกรมาทา เพื่อบรรเทาอาการก็ย่อมได้ อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แน่นอนว่าอุบัติเหตุย่อมเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นขณะทำงาน หรือระหว่างการดำเนินกิจวัตรประจำวันตามปกติก็ตาม ดังนั้น อาการเจ็บหน้าอก ก็อาจเกิดจากการได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง […]


อาการของโรค

รู้ให้ชัดถึงข้อแตกต่างระหว่าง อาการอ่อนเพลียจากความร้อน กับ โรคลมแดด

เมื่ออากาศเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายของใครหลาย ๆ คน อาจไม่สามารถปรับตัวได้ อีกทั้งด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ทางด้านปัญหาสุขภาพ ทำให้การออกไปเผชิญกับแสงแดด หรืออยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ในบางรายอาจมี อาการอ่อนเพลียจากความร้อน บางคนก็ถึงกับเป็นลมหมดสติ ซึ่งเรียกอีกอย่างได้ว่า โรคลมแดด แต่ทั้ง 2 อาการนี้จะแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากทุกคนกันค่ะ อาการอ่อนเพลียจากความร้อน และ โรคลมแดด ต่างกันอย่างไร โรคลมแดด (Heat Stroke) โรคลมแดด มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายคุณมีอุณหภูมิความร้อนสูงเกินกว่า 103 ฟาเรนไฮต์ (39 องศาเซลเซียส) หรืออาจสังเกตได้จากผิวหนังภายนอกที่เริ่มแสบร้อน รอยแดงร่วมด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ภายใน เช่น สมองและระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด ตับ ไต ช่องทางเดินอาหาร และอาจนำไปสู่การชักขั้นรุนแรง ดังนั้น หมั่นสังเกตตนเองยามคุณออกไปเผชิญความร้อนสม่ำเสมอ และถ้าพบอาการผิดปกติใด ๆ ให้รีบปฐมพยาบาล หรือเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินได้ในทันที อาการอ่อนเพลียจากความร้อน (Heat exhaustion) ในส่วนของ […]


อาการของโรค

มือสั่น บ่อยๆ อาจเป็นหนึ่งสัญญาณของโรคร้ายที่คุณไม่เคยรู้

มือสั่น ถือว่าเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากต้องอยู่ในสถานการณ์คับขันหรืออาจจะรู้สึกตึงเครียด ตื่นเต้น กังวล รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน (Caffeine) แต่ถ้าอาการมือสั่นนี้เป็นมากขึ้นอย่างรุนแรง ก็น่าจะไม่ใช่เรื่องปกติแล้ว โดยสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคมือสั่นนั่นเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ ใครเป็นบ้าง? อยู่ ๆ มือก็สั่นแบบไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor) อาการโรคมือสั่นแบบไม่ทราบสาเหตุเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่มักจะเกิดขึ้นกับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีอาการเริ่มต้นเป็นที่มือแล้วมีอาการสั่นขยับขึ้นลงอยู่บ่อยๆ โดยไม่สามารถบังคับตนเองได้ ในทางการแพทย์คาดว่าน่าจะเป็นอาการที่เกิดจากสมองส่วนซีรีเบลลัม (Celebellum) นั้นทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงาน สาเหตุของอาการมือสั่นอาจเกิดจากโรคร้าย กล่าวกันว่าอาการมือสั่นเป็นอาการเบื้องต้นของโรคบางโรค โดยเฉพาะโรคพาร์กินสันที่จะสังเกตผู้ป่วยได้ชัดเจนว่ามีอาการมือสั่นข้างเดียวและจะสั่นเมื่อมืออยู่เฉยๆ ส่วนอาการของโรคมือสั่น (Essential Tremor) จะมีอาการมือสั่นทั้งสองข้าง ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นชัดเมื่อต้องเขียนหนังสือหรือจับช้อน แต่ก็อาจจะมีอาการสั่นบริเวณอื่นร่วมด้วยอย่างเช่นศีรษะสั่นหรือพูดเสียงสั่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังสันนิษฐานถึงสาเหตุที่ทำให้มีอาการ มือสั่น ได้ก็คือ พันธุกรรม เพราะพบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้แบบยีนเด่น และอีกสาเหตุหนึ่งคือ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาหารบางชนิดก็ต้นเหตุที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน มือสั่นบ่อยๆ ควรรักษาอย่างไร รักษาโดยการใช้ยา แพทย์จะเริ่มต้นการใช้ยาโพรพราโนลอล (Propanolol) ในปริมาณที่น้อยๆ ถ้าไม่มีผลข้างเคียงจึงจะปรับขนาดยาเพิ่มขึ้น แต่มีข้อควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจที่อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น รักษาโดยใช้อัลตร้าซาวด์ ด้วยเครื่อง MRI ที่สามารถระบุตำแหน่งของสมองส่วน ธาลามัส (Talamus) อันเป็นจุดกำเนิดของการสั่น แล้วใช้คลื่นเสียงส่งผ่านเข้าไปบริเวณนี้เพื่อช่วยหยุดอาการมือสั่น ซึ่งมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องผ่าตัดสมองนั่นเอง รักษาโดยการผ่าตัด  แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีความแม่นยำในการฝังขั้วไฟฟ้าที่สมองส่วนธาลามัส โดยใช้วิธีควบคุมไฟฟ้าจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งบริเวณชั้นใต้ผิวหนังส่วนหน้าอกของผู้ป่วย วิธีการป้องกันเบื้องต้น ใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน