สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง กับเคล็ดลับการใช้ชีวิตร่วมกับโรคได้อย่างเป็นสุข

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ เป็นแผล หรือยิ่งหากเป็นโรครุนแรงหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย ใช้เวลารักษาไม่นานก็คงหาย แต่หาก ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดไม่ได้ และคุณต้องอยู่กับโรคนั้นไปตลอดชีวิต โรคเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ จนทำให้คุณเครียด กังวล และไม่รู้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับดี ๆ ในการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างเป็นสุขมาฝากคุณแล้ว ทำความเข้าใจ โรคเรื้อรัง ให้กระจ่างขึ้น โรคเรื้อรัง คืออะไร โรคเรื้อรัง (Chronic diseases) หมายถึง โรคที่เป็นแล้วจะมีอาการ หรือต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต และโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ตัวอย่าง โรคเรื้อรัง ตัวอย่างโรคเรื้อรังที่พบบ่อย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ โรคหืด โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม โรคลมชัก การติดเชื้อเอชไอวี โรคพาร์กินสัน โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder หรือ Cyclothymia) เมื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพยิ่งแย่ลง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ ทั้งการเรียน การทำงาน […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัด มี่กี่ประเภท และข้อควรรู้ก่อนการผ่าตัด

การผ่าตัด เป็นกระบวนการแพทย์อย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อรักษาความเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น การผ่าตัดเนื้องอก การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ รวมไปถึงการผ่าตัดศัลยกรรมความงาม อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการเตรียมพร้อมก่อนการผ่าตัดให้พร้อม รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการผ่าตัดให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจรับการรักษาใด ๆ [embed-health-tool-bmi] การผ่าตัด คืออะไร ศัลยกรรม หรือการผ่าตัด (Surgery) คือ วิธีหนึ่งในการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค หรือความผิดปกติทางร่างกายบางอย่างที่ไม่สามารถรักษาให้ทุเลาหรือหายขาดได้ด้วยวิธีการอื่น ส่วนใหญ่แล้วการ ผ่าตัด จะเกิดขึ้นในกรณีที่ต้องจัดการกับโรคหรืออาการบาดเจ็บเฉียบพลัน มักไม่ค่อยเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ เว้นแต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดจริง ๆ เท่านั้น นอกจากเครื่องมือเฉพาะที่แพทย์ต้องใช้ในการผ่าตัดแต่ละประเภทแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อีกหลายชิ้นที่คอยช่วยตรวจสอบและติดตามผลระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เครื่องวัดความดันโลหิต และไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดชนิดไหน ก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ทั้งในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด อาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่พบได้บ่อย เช่น การติดเชื้อ ภาวะเลือดออกมากผิดปกติ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาระงับความรู้สึก การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ประเภทของการผ่าตัด การผ่าตัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. การผ่าตัดใหญ่ การผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) คือ การผ่าตัดแบบรุกล้ำหรือรุกรานร่างกาย ที่ทีมแพทย์ต้องทำหัตถการหลายอย่างในการผ่าตัดแต่ละครั้ง เช่น การเปิดโพรงหรือช่องบนร่างกาย การตัดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก การปรับเปลี่ยนกายวิภาคหรือโครงสร้างปกติของร่างกาย […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ คืออะไร และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมทุกครั้งที่เราไปฉีดยา หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรค แพทย์จะทำการฉีดเข้าเพียงไม่กี่จุดบนร่างกายเราเท่านั้น แถมแต่ละจุดที่แพทย์เลือก ก็เป็นส่วนกล้ามเนื้อ จนทำเอาเราเกิดอาการปวดระบมภายในไม่กี่นาทีหลังฉีดเลยทีเดียวอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำบทความดี ๆ เกี่ยวกับ ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ มาฝากทุกคนให้ได้ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-bmi] ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับอะไร เหตุผลที่แพทย์เลือกใช้เทคนิค การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular Injection) มากกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือด และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยตรงนั้น อาจเป็นเพราะ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของเราสารมารถกักเก็บยาได้ในปริมาณมากกว่าส่วนอื่น ๆ และทำให้ร่างกายของเรามีการดูดซึมตัวยาได้ดี อีกทั้งตัวยาบางชนิดอาจสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดเลือดดำได้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้น จึงทำให้แพทย์มีการพิจารณาที่จะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อของคุณแทน ที่สำคัญไม่ว่าคุณจะได้รับการฉีดยาเพื่อรักษาสภาวะทางสุขภาพใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ร่วมด้วย เพราะบางกรณีนั้นคุณหมออาจแนะนำ หรือสั่งยาชนิดรับประทานที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่คุณประสบมากกว่าการใช้เทคนิคการฉีดยาก็เป็นได้ ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่นิยมฉีดบริเวณใด เมื่อคุณทำการตรวจสอบร่างกายตามขั้นตอนของทางแพทย์เรียบร้อยแล้วพบว่าจำเป็นต้องมีการได้รับการฉีดยา หรือวัคซันใด ๆ ร่วม ส่วนใหญ่นั้นคุณหมออาจมีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อคุณได้ ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ดังต่อไปนี้ ต้นแขน หรือกล้ามเนื้อเดลทอยด์ของแขน กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle) เป็นจุดที่พบได้บ่อยมากที่สุดสำหรับการฉีดวัคซีน เนื่องจากเป็นจุดที่สามารถได้รับปริมาณยาน้อย หรือประมาณ 1 มิลลิลิตรเท่านั้น ทำให้บางครั้งในการฉีดยาเพื่อรักษาโรคที่ต้องใช้ปริมาณยามากกว่าที่กำหนด อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนย้ายไปฉีดเข้ากล้ามเนื้อในส่วนอื่น ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาแคปซูล ติดคอ กลืนยาก กินแต่ผงยาข้างในไม่กินแคปซูลได้ไหม

เวลากินยาแต่ละที รู้สึกเหมือนกำลังจะถูกจับไปเชือดเสียอย่างนั้น ทั้งรสชาติที่ไม่อร่อย และจำนวนยาที่ต้องกิน แค่คิดก็เอียนแล้ว ทำให้หลายคนประสบปัญหากินยายากไปโดยปริยาย ยิ่งถ้าเป็น ยาแคปซูล ด้วยล่ะก็ ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะบางทีกินแล้วก็ติดอยู่ในปาก บางทีก็ติดในลำคอ กลืนไม่ลงสักที พอเป็นแบบนี้เวลากินยาแคปซูลบ่อยเข้า หลายคนก็เลยเทเอาแต่ผงยาออกมาจากแคปซูลยาแล้วนำไปละลายน้ำดื่มก่อนกิน ซึ่งก็ทำให้ง่ายต่อการกินยาได้จริงๆ แต่…การทำแบบนั้นจะดีต่อร่างกายของเราจริงๆ หรือเปล่า แล้ว แคปซูลยา สามารถเปิดแคปซูลออกก่อนจะกินได้ด้วยหรือ เพื่อตอบข้อสงสัยนั้น Hello คุณหมอ มีสาระดีๆ ในการกินยาแบบแคปซูลมาฝากค่ะ [embed-health-tool-bmr] ยาแคปซูล คืออะไร แคปซูล แคปซูลยา หรือยาแคปซูล เปรียบเสมือนภาชนะทรงมน รี และยาว ใช้สำหรับบรรจุยาหรือผงยา โดยตัวแคปซูลนี้ผลิตจากเจลาติน (Gelatin) ซึ่งเจลาตินนี้มาจากกระดูกหรือผิวหนังของสัตว์ ร่างกายของเราจึงสามารถที่จะละลายและดูดซึมแคปซูลยานี้ได้ แคปซูลยาจะถูกละลายเมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายตัวเข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อบำรุงร่างกาย แคปซูลยานี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ในการกลบกลิ่น หรือรสชาติของตัวยา เพื่อช่วยให้การกินยาทำได้ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสารเคลือบที่แคปซูลยา เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการปลดปล่อยตัวยาอีกด้วย ยาแคปซูล มีกี่ประเภท แคปซูลยา มีอยู่ด้วยกันสองชนิดหลักๆ ได้แก่ แคปซูลปลอกแข็ง (Hard-shelled capsules) แคปซูลปลอกแข็ง หรือแคปซูลยาแบบแข็ง จะประกอบไปด้วยปลอกแคปซูล […]


การทดสอบทางการแพทย์

ริมฝีปากเขียวคล้ำ สัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

เชื่อหรือไม่! ปากสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของสุขภาพได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มี ริมฝีปากเขียวคล้ำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ เพราะนั่นอาจไม่ใช่อาการของคนที่มีปากคล้ำทั่วไป แต่แท้จริงแล้วอาจสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงปัญหาของสุขภาพ จะมีวิธีการรักษาและวิธีการป้องกันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ทุกคนค่ะ [embed-health-tool-bmr] ริมฝีปากเขียวคล้ำ (Blue Lips) คืออะไร? ริมฝีปากเขียวคล้ำ อาจไม่ใช่อาการของคนปากคล้ำทั่วไป แต่นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดออกซิเจนในเลือด นอกจากนี้ยังสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าริมฝีปากของเราจะเปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิเย็น แต่อาการริมฝีปากเขียวคล้ำ ต้องได้รับการรับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติของโรค การขาดออกซิเจนในเลือด สาเหตุของริมฝีปากเขียวคล้ำ โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุของ ริมฝีปาก เขียวคล้ำเกิดจากการขาดออกซิเจนในเลือด และสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ สภาพแวดล้อม สัมผัสกับความเย็น อยู่ในที่สูง การได้รับสารพิษ ภาวะระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด โรคปอดอักเสบ โรคความดันโลหิตสูงในปอด ภาวะอื่นๆ มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคซาง โรคหัวใจวาย สูบบุหรี่ โรคโลหิตจาง อาการหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด อาการที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกับ ริมฝีปาก เขียวคล้ำ หากคุณมีอาการริมฝีปากเขียวคล้ำเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และไม่ได้เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายหนักหรืออยู่ในที่กลางแจ้งนาน ให้หมั่นสังเกตอาการ หากไม่ดีขึ้นใน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ระบบทางเดินอาหาร ระบบสำคัญของร่างกายที่เราควรต้องรู้

ร่างกายของเรา ประกอบไปด้วยระบบต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกายอยู่หลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการขับเคลื่อนร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ สมบูรณ์ และแข็งแรง วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในระบบพื้นฐานและมีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่าง ระบบทางเดินอาหาร แต่ระบบนี้คืออะไร และทำหน้าที่สำคัญต่อร่างกายเราอย่างไรบ้างนั้น มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันที่บทความนี้กันเลยค่ะ ระบบทางเดินอาหาร คืออะไร ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่สำคัญในการย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป และดูดซึมเอาสารอาหารจากอาหารมื้อนั้น ๆ ไปหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีพลังงาน เจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่เกิดการสึกหรอ โดยการทำงานของระบบทางเดินอาหารนั้นจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ที่ปากและเรื่อยไปจนจบกระบวนการที่ทวารหนัก ความสำคัญของ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินอาหารจะทำหน้าที่ในการแปรเปลี่ยน ดูดซึม และส่งต่อสารอาหารไปยังระบบหรือเซลล์ต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี ธาตุเหล็ก แคลเซียม หรือโพแทสเซียม เป็นต้น ซึ่งสารอาหารที่ได้จากกระบวนการทำงานของระบบทางเดินอาหารนี้นี่เอง ที่ทำให้เรามีพลังงาน มีร่างกายที่แข็งแรง และมีสุขภาพดี  ระบบทางเดินอาหาร ทำงานอย่างไร การทำงานของระบบทางเดินอาหาร จะมีลำดับและขั้นตอนที่ไล่เรียงกันไปจนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดของกระบวนการ ดังนี้ ปาก ตั้งแต่วินาทีแรกที่อาหารถูกตักเข้าปาก และฟันเริ่มทำการบดหรือเคี้ยวอาหารคำนั้น นั่นถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการของระบบทางเดินอาหารแล้ว โดยการบดหรือเคี้ยวอาหารของฟันจะช่วยแยกอาหารออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการย่อยอาหารในลำดับต่อไป […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อข้องใจ รู้หรือไม่? มีไข้สูงเท่าไหร่ถึงควรไปหาหมอ

เชื่อทุกคนน่าจะต้องผ่านการ เป็นไข้ หรือ มีไข้ กันมาอย่างแน่นอน มีไข้แต่ละครั้งนี่ก็ทำเอาสูญเสียพลังงานและกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่มิใช่น้อย อย่างไรก็ตาม เพียงพักผ่อนเยอะ ๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และรับประทานยาลดไข้ ก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้โดยไม่ต้องไปหาหมอ แต่…คุณผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า แล้วเราต้องมีไข้สูงขนาดไหน หรือเป็นไข้แบบไหนล่ะ ที่จำเป็นจะต้องไปพบกับคุณหมอ ถ้ากำลังสงสัยกันอยู่ล่ะก็ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากกันในบทความนี้แล้วค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุที่ มีไข้ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เรามีไข้ หรือ เป็นไข้ มักจะมาจากการที่ร่างกายติดเชื้อ หรือมีเชื้อโรคแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังทำการต่อสู้กับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมนั้น ร่างกายจึงมีอาการตอบสนองด้วยการเป็นไข้ และนอกจากนี้การมีไข้ ยังสามารถเกิดได้จาก อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลง หรือมีอุณหภูมิสูง เป็นหวัด หรือไข้หวัด การอักเสบต่าง ๆ เช่น ไซนัสอักเสบ ลำไส้อักเสบ ปอดอักเสบ  การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นไข้ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นไข้จากการติดเชื้อรา สภาพอากาศ เชื้อโรคต่าง ๆ มีไข้ แบบไหนถึงควรไปหาหมอ การมีไข้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายระดับ ตั้งแต่มีไข้อ่อนๆ หรือไข้เพียงเล็กน้อย […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

โบท็อกซ์สำหรับผู้ชาย กับสิ่งที่ควรรู้ก่อนรับการฉีด

การฉีดโบท็อกซ์นั้นกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมในวงกว้างในการรักษาริ้วรอยต่าง ๆ ทั้งยังมีประโยชน์อื่น ๆ ในการรักษาอาการทางร่างกายอีกด้วย นอกจากโบท็อกซ์จะเป็นที่นิยมในหมู่ผู้หญิงแล้ว ผู้ชายก็สามารถฉีดโบท็อกซ์ได้ ทำไม โบท็อกซ์สำหรับผู้ชาย ถึงกลายเป็นที่นิยม แล้วบริเวณไหนบ้างที่เหล่าคุณผู้ชายนิยมฉีดโบท็อกซ์กัน ติดตามได้ใน Hello คุณหมอ เมื่อ โบท็อกซ์สำหรับผู้ชาย กำลังได้รับความนิยม โบท็อกซ์ หรือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin A ; Botox) ถือเป็นยาในกลุ่มเครื่องสำอางชนิดฉีด ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) สำหรับใช้ในเครื่องสำอางตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์ยังได้รับความนิยมจากผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ แต่จำนวนผู้ชายที่นิยมฉีดโบท็อกซ์ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน การฉีดโบท็อกซ์และการฉีดสารโบทูลินั่มอื่น ๆ เช่น ดีสพอร์ต (Dysport) และ ซีโอมีน (Xeomin) เป็นวิธีการช่วยชะลอความแก่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับผู้ชาย ความจริงแล้วมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลให้การฉีดโบท็อกซ์สำหรับผู้ชาย ได้รับความนิยมและเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ การแข่งขันในสถานที่ทำงาน ผู้ชายหลายคนให้เหตุผลว่าที่ฉีดโบท็อกซ์ก็เพราะถูกกระตุ้นให้ฉีด เพื่อที่จะได้แข่งขันกับเพื่อนร่วมงานที่อายุน้อยกว่าได้ หลายคนรู้สึกว่าการรักษารูปลักษณ์ที่ดูอ่อนเยาว์จะช่วยให้พวกเขาต่อสู้กับยุคนิยมในที่ทำงานได้ โซเชียลมีเดีย การเพิ่มขึ้นของโซเชียลมีเดียและแอพพลิเคชั่นหาคู่ออนไลน์ อาจเป็นปัจจัยที่กระตุ้นสำหรับผู้ชายบางคน ที่ต้องการดูดีที่สุดสำหรับโปรไฟล์ในโลกออนไลน์ของพวกเขา แรงบันดาลใจ กำลังใจจากคนอื่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

หนังตาตก (Ptosis)

หนังตาตก (Ptosis) หมายถึงภาวะที่เปลือกตาบนนั้นมีลักษณะหย่อนคล้อย หรือตกลงมา โดยไม่สามารถควบคุมได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง คำจำกัดความหนังตาตก คืออะไร หนังตาตก (Ptosis) หมายถึงภาวะที่เปลือกตาบนนั้นมีลักษณะหย่อนคล้อย หรือตกลงมา โดยไม่สามารถควบคุมได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้เองตั้งแต่กำเนิด หนือเกิดขึ้นในภายหลัง เนื่องจากอายุ การบาดเจ็บ หรือสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ และอาจมีอาการเพียงแค่ชั่วคราว หรือเป็นอย่างถาวรก็ได้ ในกรณีรุนแรง อาการหนังตาตกนี้อาจจะรุนแรงมาก จนส่งผลกระทบกับการมองเห็น ทำให้มองเห็นได้น้อยลง หรือหนังตาหย่อนคล้อยลงมาจนปิดดวงตา ทำให้มองไม่เห็นเลยก็ได้เช่นกัน ภาวะหนังตาตก นี้เป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งจากวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือแพทย์ทางเลือกต่างๆ หนังตาตกพบบ่อยแค่ไหน ภาวะหนังตาตก นี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม เด็กทารกบางคนก็อาจจะมี ภาวะหนังตาตกนี้ตั้งแต่แรกเกิดได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของหนังตาตก อาการหลักที่เห็นได้ชัดที่สุดของภาวะหนังตาตกก็คือ อาการเปลือกตาบนหย่อนคล้อยลงมา โดยไม่มีอาการเจ็บหรืออาการปวดใดๆ แต่หนังตาที่ย้อยลงมานี้อาจบดบังการมองเห็น ทำให้มองเห็นได้ลำบากมากขึ้น หรือทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ หากเด็กมี ภาวะหนังตาตก เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็อาจจะเกิดภาวะที่เรียกว่า ตาขี้เกียจ (Amblyopia) หมายถึงภาวะการที่ดวงตาไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ จนทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้สายตาพร่าเลือน และมองเห็นไม่ชัด ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของหนังตาตก ภาวะหนังตาตก อาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ การบาดเจ็บบริเวณดวงตา เช่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เสื้อกันยูวี ป้องกันแดด ป้องกันรังสียูวีได้จริงหรือเปล่า?

เวลาที่ไปช้อปปิ้งเสื้อผ้าชุดใหม่ คุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยผ่านหูผ่านตากับเสื้อผ้ากันยูวีมาบ้าง แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าเสื้อผ้ากันยูวี อย่าง เสื้อกันยูวี กางเกงกันยูวี มันสามารถป้องกันผิวหนังของเราจากแสงยูวีได้จริงๆ หรือ? ถ้าใส่เสื้อผ้ากันยูวีแล้วเนี่ย ไม่ต้องทาครีมกันแดดก็ได้ใช่ไหม? และถ้าหากคุณผู้อ่านกำลังสงสัยหรือกำลังตัดสินใจว่าจะลองซื้อชุดกันยูวีอยู่ล่ะก็ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณผู้อ่านในบทความนี้เลยค่ะ  เสื้อกันยูวี คืออะไร ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกันว่าเสื้อกันยูวีคืออะไร เราควรมาเริ่มทำความรู้จักกับ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีของสิ่งทอ (Ultraviolet Protection Factor) หรือค่าUPF กันเสียก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันในชีวิตประจำวันนี้ก็มีค่าUPF ที่สามารถที่ป้องกันรังสียูวีหรือแสงแดดได้ด้วยเหมือนกัน เพราะเส้นใยที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตสิ่งทออย่างเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้นจะมีค่าUPF ที่ทำหน้าที่ในป้องกันรังสียูวีทั้งยูวีเอและยูวีบีอยู่เสมอ เสื้อผ้าโดยทั่วไปจะมีค่าUPF อยู่ประมาณ 15-50 ซึ่งUPF = 15 หมายถึง จะมีรังสียูวีแค่เพียง 1/15 เท่านั้นที่สามารถเล็ดลอดเสื้อผ้าเข้าไปสัมผัสกับผิวหนังได้ หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะมีรังสียูวีแค่เพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะได้เข้าไปสัมผัสกับผิวหนังของเรา แต่ถ้าหากเสื้อผ้าชุดนั้นมีค่าUPF ตั้งแต่ 50 ขึ้นไปล่ะก็ จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีสูงในระดับสูงถึงสูงสุด โดยเสื้อผ้าที่มีค่าUPF มากกว่า 50 ขึ้นไป จะสามารถป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า 98 เปอร์เซนต์ ดังนั้น เสื้อผ้าที่มีค่าUPF ที่สูงเกิน 50 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน