สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ระดับไอคิว เพิ่มได้ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ง่ายๆ

ทุกคนเคยสงสันกันไหมว่า ระดับไอคิว ของคนเรานั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ แล้วถ้ามันสามารถเพิ่มได้ เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะเพิ่มระดับไอคิวให้กับตัวเอง หรือมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เมื่อทำแล้วจะช่วยเพิ่มระดับไอคิวของเราให้ดีขึ้น ถ้าคุณกำลังสงสัยอยู่ล่ะก็ ลองมาติดตามเรื่องนี้จากทาง Hello คุณหมอ กันดู ทำความรู้จักกับ ระดับไอคิว ไอคิว (Intelligence Quotient หรือ IQ) หมายถึง “เชาว์ปัญญา” เป็นการวัดความฉลาดทางปัญญาและศักยภาพของคนๆ หนึ่ง การวัดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1900 โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ “Alfred Binet” ระดับไอคิวจะถูกวัดโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานที่ดำเนินการโดยนักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาตและในบางกรณีจะดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพจิต ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งการทดสอบไอคิวมาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วย Wechsler Intelligence Scale สำหรับเด็ก (WISC-V) Wechsler Intelligence Scale สำหรับผู้ใหญ่ (WAIS) Stanford-Binet Intelligence Scale แม้ว่าการทดสอบไอคิวและแอพพลิเคชั่นออนไลน์จะได้รับความนิยมมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถวัดไอคิวของคุณได้อย่างแม่นยำ เหมือนกับการทดสอบไอคิวจากนักจิตวิทยา แม้ว่าการวัดระดับไอคิวจะเป็นวิธีหนึ่งในการวัดความฉลาด แต่ก็ไม่ได้เป็นการวัดเพียงชนิดเดียวที่ใช้วัดระดับความฉลาดได้ การทดสอบไอคิวสามารถใช้เป็นขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยสุขภาพจิตอื่นๆ และความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อีกด้วย กิจกรรมที่สามารถเพิ่ม ระดับไอคิว สติปัญญาของคนเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ความฉลาดที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด (Fluid Intelligence) และความฉลาดที่เกิดจากการฝึกฝนและประสบการณ์ […]


ข่าวสารสุขภาพทั่วไป

อะมีบากินสมอง เชื้ออันตรายที่กำลังระบาดในเท็กซัส ปะปนอยู่ในน้ำประปา!

ถึงแม้โรค อะมีบากินสมอง หรือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา (Brain-eating amoeba) จะอยู่คู่กับเรามาเป็นเวลายาวนาน แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการเฝ้าระวัง และป้องกันตนเองอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะเรานั้น ไม่สามารถทราบได้เลยว่า เชื้ออะมีบาเหล่านี้ จะสามารถเข้าสู่ร่างกาย หรือแฝงตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวของเราอย่างใดได้บ้าง เช่นเดียวกับเหตุการณ์นี้ล่าสุดที่เกิดขึ้นในเมืองเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกัน อะมีบากินสมอง สามารถอยู่ในน้ำประปา ได้ด้วยจริงหรือ จากรายงานของเว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ระบุว่าการเสียชีวิตครั้งแรกจากเชื้ออะมีบานั้นถูกพบในน้ำประปาทางตอนใต้ของรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ. 2554 และพ.ศ. 2556 และมีการค้นพบจุลินทรีย์ในปีพ.ศ. 2546 ในระบบน้ำดื่มที่ไม่ผ่านการบำบัดในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับถูกพบในน้ำดื่มสาธารณะประเทศออสเตรเลียเมื่อปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2523 รวมถึงในประเทศปากีสถานเมื่อปี พ.ศ. 2551 จนถึงล่าสุดเมื่อต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ล่าสุดนายเกร็ก แอบบอตต์ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion)

ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion) คือ ภาวะผิดปกติของเปลือกตา ทำให้เปลือกตาม้วนเข้าไปข้างใน จนเสียดสีกับกระจกตา ทำให้เจ็บ ระคายเคือง หรือตาติดเชื้อได้ คำจำกัดความภาวะเปลือกตาม้วนเข้า คืออะไร ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion) คือ ภาวะที่เปลือกตาหรือหนังตาของผู้ป่วยม้วนเข้าไปข้างใน ทำให้ขนตาและผิวหนังเปลือกตาเสียดสีกับกระจกตา จนส่งผลให้เกิดอาการน้ำตาไหล รู้สึกเจ็บ ระคายเคือง ไม่สบายตา หรืออาจถึงขั้นตาติดเชื้อได้ ส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดกับเปลือกตาล่าง แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีภาวะเปลือกตาม้วนเข้าทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง และบางรายอาจเกิดภาวะนี้กับตาทั้งสองข้างได้ คนที่มีเปลือกตาม้วนเข้าส่วนใหญ่จะมีภาวะนี้ถาวร แต่ในบางครั้ง การหลับตาหรือกะพริบตาแรงๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนเข้าแบบชั่วคราวได้เช่นกัน ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาม้วนถือเป็นภาวะที่พบได้ยากมากในเด็กและคนวัยหนุ่มสาว แต่จะพบมากในคนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของภาวะเปลือกตาม้วนเข้า อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะเปลือกตาม้วนเข้า ได้แก่ รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา รู้สึกเจ็บตา ตาแดง ระคายเคืองตา หรือเจ็บตา เกิดสะเก็ด หรือเมือกที่บริเวณเปลือกตา ตาไวต่อแสง หรือลม มีภาวะน้ำตาเอ่อ หรือน้ำตาไหลมากกว่าปกติ (Epiphora) ผิวหนังบริเวณดวงตาบวม หรือย้อย หากกระจกตาเสียหาย อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดได้ด้วย สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณเกิดอาการดังต่อไปนี้กะทันหัน ควรไปพบคุณหมอทันที ตาแดงฉับพลัน เจ็บตา ตาไวต่อแสงผิดปกติ อยู่ ๆ ก็มองเห็นไม่ชัด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะเปลือกตาม้วนเข้า ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยิ่งอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อใต้ตาก็จะยิ่งอ่อนแอลง เส้นเอ็นยิ่งยืดออก จนส่งผลให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนเข้าได้ และปัญหากล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนี้ก็ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ด้วย การติดเชื้อที่ตา การติดเชื้อที่ตาที่เรียกว่า โรคริดสีดวงตา (Trachoma) เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion)

ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion) คือ ภาวะผิดปกติของเปลือกตา ทำให้เปลือกตาม้วนออก ไม่แนบสนิทกับตาเหมือนปกติ จนส่งผลให้ตาเจ็บ ระคายเคือง หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น คำจำกัดความภาวะเปลือกตาม้วนออก คืออะไร ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion) คือ ภาวะที่เปลือกตาหรือหนังตาของผู้ป่วยห้อยหรือย้อยออก จนมองเห็นด้านในของเปลือกตา และเปลือกตาไม่แนบสนิทกับตาเหมือนปกติ ส่งผลทำให้ดวงตาเสี่ยงต่อการระคายเคืองหรือการติดเชื้อมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ภาวะนี้มักเกิดกับเปลือกตาล่าง ภาวะเปลือกตาม้วนออกพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาม้วนออกพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไม่รุนแรงนัก อาจมีเปลือกตาม้วนออกแค่บางส่วนเท่านั้น แต่หากเป็นกรณีรุนแรง เปลือกตาล่างอาจม้วนออกทั้งแถบ อาการอาการของภาวะเปลือกตาม้วนออก อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะเปลือกตาม้วนออก ได้แก่ มีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) ตาแห้งผิดปกติ แสบตา ระคายเคืองดวงตาเป็นประจำ ตาไวต่อแสง หรือตาสู้แสงไม่ได้ ตาแดงเรื้อรัง หากคุณมีอาการของภาวะเปลือกตาม้วนออกข้างต้น ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้ หรือรักษาล่าช้าเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณเกิดอาการดังต่อไปนี้กะทันหัน ควรไปพบคุณหมอทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ อยู่ ๆ ตาก็ไวต่อแสง หรือแพ้แสง เจ็บตา ตาแดงฉับพลัน อยู่ ๆ ก็มองเห็นไม่ชัด สาเหตุสาเหตุของภาวะเปลือกตาม้วนออก ภาวะเปลือกตาม้วนออก อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเนื้อเยื่อคลายตัว ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่อเราอายุมากขึ้น และปัญหาสุขภาพตามวัยเหล่านี้ถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะเปลือกตาม้วนออก โรคอัมพาตใบหน้า (Facial paralysis หรือ Bell’s palsy) รวมถึงเนื้องอกบางชนิดที่ส่งผลให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต สามารถส่งผลให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนออกได้ มีแผลเป็น หรือเคยเข้ารับการผ่าตัด หากผิวหนังถูกทำลายจากการเผาไหม้ หรือการเกิดแผล เช่น โดนสุนัขกัด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เตือนภัยนักสูบ! หากสูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์

เป็นที่ทราบกันดีว่าโทษจากการสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง และคนที่คุณรักอีกด้วย บทความนี้  Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคเบอร์เกอร์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่สูบบุหรี่จัด เรามาทำความรู้จักกับโรคเบอร์เกอร์ให้มากขึ้นกันค่ะ ทำความรู้จักโรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) เป็นโรคหายากที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณแขนและขา ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดการอักเสบและบวม อาการของโรคเบอร์เกอร์ในระยะแรกมักพบบริเวณมือและเท้า และอาจส่งผลต่อบริเวณแขนและขาด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลาย และอาจนำไปสู่การติดเชื้อและเนื้อเน่าเปื่อย นักสูบจงระวัง! สูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์ ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุสาเหตุของโรคเบอร์เกอร์อย่างแน่ชัด  แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดโรคดังกล่าว (สารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดเลือด)  นอกจากการสูบบุหรี่แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรค ดังนี้ โรคเหงือกเรื้อรัง การติดเชื้อในเหงือกระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบอร์เกอร์ เพศ พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุ มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี 5 สัญญาณอันตราย เข้าข่ายผู้ป่วย โรคเบอร์เกอร์ ผู้ป่วยโรคเบอร์เกอร์มีอาการแสดงปรากฏ ดังต่อไปนี้ รู้สึกเสียวซ่าหรือมีอาการชาบริเวณมือและเท้า มือและเท้ามีสีซีดแดงหรือน้ำเงิน มีอาการปวดบริเวณขาและเท้า หรือแขนและมือ การอักเสบตามหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิว นิ้วและเท้าซีดเมื่อสัมผัสกับความเย็น มีบาดแผลเปิดบริเวณบนนิ้วมือและนิ้วเท้า รักษา โรคเบอร์เกอร์ อย่างไร ปรึกษาคุณหมอได้ วิธีการรักษา ในส่วนของวิธีการรักษา ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังนี้ ยา เช่น ยาขยายหลอดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด การผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดเส้นประสาทในบริเวณที่ผิดปกติ  วิธีการป้องกัน โดยวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบอร์เกอร์ คือการเลิกบุหรี่ แม้แต่การดูดบุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวันก็อาจส่งผลให้สุขภาพแย่ลงกว่าเดิมได้ […]


ข่าวสารสุขภาพทั่วไป

ระวัง! เชื้อบรูเซลลา แบคทีเรียตัวใหม่ที่รั่วไหล จากห้องปฏิบัติการในจีน

นอกจากข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว  ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความสนใจจากสำนักข่าว และประชาชนทั่วโลกที่กำลังติดตามอยู่อย่างมากในเวลานี้ เนื่องจาก ล่าสุดวันที่ 17 กันยายน 2563 ที่ผ่านมามีการรายงานว่า เชื้อบรูเซลลา ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการของบริษัทแห่งหนึ่ง ของจีนเกิดการรั่วไหลออกมา ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ต้องบอกเลยว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาจสร้างความสูญเสียแก่ร่างกายของมนุษย์เราได้ไม่แพ้ COVID-19 เลยทีเดียว เชื้อบรูเซลลา เชื้อแบคทีเรียที่นำพามาซึ่งโรคอันตราย บรูเซลลา (Brucella) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่นำมาซึ่ง โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) โรคนี้เรียกอีกอย่างได้ว่า ไข้มอลตา (Malta fever) หรือ ไข้เมดิเตอร์ริเนียน ( Mediterranean fever) ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ อ่อนเพลีย ซึ่งอาการข้างต้นอาจสามารถบรรเทาลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้เกิดเป็นอาการเรื้อรังรุนแรงได้ทันที จีนแถลง! พบ ผู้ติดเชื้อบรูเซลลา กว่า 1,000 ราย สำนักงานคณะกรรมการด้านสุขภาพของเมืองหลานโจว เมืองหลวงของมณฑณกานซู ที่ประเทศจีน ได้ออกมายืนยันถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ได้รับผลกระทบจากเหตุกาณ์ครั้งนี้ ซึ่งมีประชาชนจำนวนกว่า 3,245 คน ได้รับเชื้อ ที่มาจากการสัมผัสสัตว์ที่มี เชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา และยังมีการค้นพบอีกกว่า 1,401 […]


อาการของโรค

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)  เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างแอนติบอดี้ ส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตามบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง นอกจากนี้หากสตรีมีครรภ์อยู่ในภาวะต้านฟอสโฟลิพิด อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้ คำจำกัดความกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างแอนติบอดี้ ส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตามบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง นอกจากนี้หากสตรีมีครรภ์อยู่ในภาวะต้านฟอสโฟลิพิด อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดที่แน่ชัด แต่การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวได้  พบได้บ่อยเพียงใด อาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคลูปัส (Lupus) หรือกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) อาการอาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด ผู้ป่วยที่อยู่กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด จะมีอาการดังต่อไปนี้ เลือดอุดตันที่ขา เช่น อาการปวดและบวมแดง การแท้งบุตรบ่อย ๆ หรือปัญหาในการคลอดบุตร รวมถึงปัญหาภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ ผื่น มีอาการผื่นแดงขึ้นตามบริเวณร่างกาย โรคหลอดเลือดสมอง อาการทางระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ภาวะสมองเสื่อมและอาการชัก เลือดออกเป็นระยะๆ โดยเฉพาะบริเวณจมูกและเหงือก นอกจจากนี้อาจมีเลือดออกที่ผิวหนัง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์ เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ดีดังใจ

การฉีดโบท็อกซ์นั้น นอกจากจะลดริ้วรอยบนใบหน้าได้แล้ว ยังสามารถใช้เพื่อรักษาภาวะทางสุขภาพต่างๆ ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เพื่อทำให้การฉีดโบท็อกซ์เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์ จึงเป็นเรื่องที่คุณควรจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีข้อควรระวังต่างๆ อีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน หลังการฉีดโบท็อกซ์ ทำไมจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ โบท็อกซ์ หรือ โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin A ; Botox) ถือเป็นยาในกลุ่มเครื่องสำอางชนิดฉีด ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อของคุณเป็นอัมพาตชั่วคราว การฉีดโบท็อกซ์ถือเป็นเรื่องที่ปลอดภัย เพราะการฉีดจะใช้สารชนิดนี้ในปริมาณที่เจือจาง เพื่อหยุดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยให้ริ้วรอยอ่อนลงและผ่อนคลาย นอกจากคนส่วนใหญ่จะใช้โบท็อกซ์ เพื่อลดริ้วรอยบนใบหน้าแล้ว ยังใช้เพื่อรักษาภาวะทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ไมเกรนเรื้อรัง เหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือโอเอบี (Overactive Bladder หรือ OAB) ภาวะตาขี้เกียจ (Lazy Eye) คอบิดเกร็ง (Cervical Dystonia) หรือคอกระตุก (Neck Spasms) หลังจากเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์ 4 ชั่วโมง คุณควรหลีกเลี่ยงการนอนหงาย หลีกเลี่ยงการนวดหรือใช้ความร้อนในบริเวณที่ฉีดโบท็อกซ์ไป หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดง เช่น ออกกำลังกายอย่างหนัก การดื่มแอลกอฮออล์ และการใช้อ่างน้ำร้อน เหตุผลที่จำเป็นจะต้องดูแลตัวเองหลังการฉีดโบท็อกซ์เป็นพิเศษ ก็เพื่อลดการแพร่กระจายของสารดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธี […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เทคนิคการดูแลตัวเองที่บ้าน สำหรับ ผู้ป่วยเข้าเฝือก

เมื่อเกิดอาการกระดูกหัก หรือแขนขาผิดรูป แพทย์ก็มักจะให้ผู้ป่วยได้เข้าเฝือก เพื่อช่วยตรึงไม่ให้บริเวณที่บาดเจ็บนั้นเคลื่อนไหว และช่วยให้บาดแผลฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น แต่หลายๆ คนอาจจะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ วิธีการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเมื่อต้องเข้าเฝือก วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับ เทคนิคการดูแลตัวเอง สำหรับ ผู้ป่วยเข้าเฝือก ให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ เทคนิคการดูแลตัวเอง สำหรับ ผู้ป่วยเข้าเฝือก อย่าให้เปียก เฝือกนั้นควรจะแห้งอยู่เสมอ ควรระมัดระวัง อย่าให้เฝือกเปียกน้ำเป็นอันขาด เนื่องจากหากเฝือกเปียกน้ำ อาจทำเฝือกอ่อนตัวลง และไม่สามารถค้ำกระดูกของคุณได้ดีดังเดิม นอกจากนี้เฝือกก็อาจจะอุ้มน้ำไว้ ทำให้อับชื้น และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง หรือนำไปสู่การติดเชื้อได้ ในช่วงที่ต้องเช็ดตัว หรืออาบน้ำ ควรหาพลาสติกมาหุ้มเฝือกใช้หลายๆ ชั้น หรือหาซื้อถุงคลุมกันน้ำสำหรับเฝือกโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าระหว่างอาบน้ำหรือเช็ดตัว และพยายามอาบน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้มีเหงื่อออกภายใต้เฝือก หากเฝือกเปียกน้ำเล็กน้อย อาจสามารถซับน้ำและเป่าให้แห้งได้ แต่ห้ามใช้ลมร้อน เพราะเฝือกอาจจะเสียหายได้ หากเฝือกเปียกน้ำมาก ควรติดต่อแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจากแพทย์โดยตรงจะดีกว่า ดูแลรักษาความสะอาด แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการดูแลตัวเองระหว่างใส่เฝือก เพราะหากว่าเราไม่สามารถรักษาความสะอาดของเฝือกได้ดีพอ อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นหนองได้ ควรพยายามระมัดระวัง อย่าให้เศษฝุ่น เศษทราย หรือเศษดินเข้าไปในเฝือก และใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดเฝือก และบริเวณโดยรอบเป็นประจำ อย่าเกา ในบางครั้งผิวหนังใต้บริเวณที่ใส่เฝือก อาจจะเกิดอาการคันขึ้นมาได้ อย่าพยายามเกา หรือหาอะไรมาแหย่มาเกา เพราะอาจทำให้เฝือกผิดรูปเสียหาย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เคี้ยวหมากฝรั่ง ลดน้ำหนัก จริงแท้หรือแค่มั่วนิ่ม

หมากฝรั่ง ผลิตภัณฑ์เคี้ยวหนึบ ที่ผลิตขึ้นจากแบะแซ และทำการแต่งกลิ่นเพิ่มรส บางครั้งก็เพิ่มสารที่มีประโยชน์อื่น ๆ เช่น สารที่มีส่วนช่วยป้องกันฟันผุ หลายๆ คนมักจะมีหมากฝรั่งติดกระเป๋าอยู่เสมอ สำหรับเคี้ยวหลังรับประทานอาหาร เพื่อดับกลิ่นปาก บางคนเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อเลิกบุหรี่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งประโยชน์ที่น่าสนใจของการเคี้ยวหมากฝรั่งมาฝาก นั่นก็คือ เคี้ยวหมากฝรั่ง ลดน้ำหนัก เรื่องนี้จะจริงเท็จแค่ไหน ลองไปอ่านกันค่ะ เคี้ยวหมากฝรั่ง ลดน้ำหนัก ได้จริงไหม แม้ว่าจะมีงานวิจัยหลายๆ ชิ้นแสดงให้เห็นว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อลดน้ำหนักนั้นมีแนวโน้มเพียงเล็กน้อย แต่ว่าก็ยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่มีความน่าสนใจว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งมีประโยชน์ในการลดน้ำหนัก ดังนี้ ช่วยให้รู้สึกหิวได้น้อยลง การเคี้ยวอาหารที่ต้องเคี้ยวบ่อยๆ เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง ขนบขบเคี้ยว อาจมีส่วนช่วยทำให้รู้สึกอิ่มและช่วยให้รู้สึกหิวได้น้อยลง จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าการเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยลดความหิวและความอยากอาหารได้หลังจากเวลาผ่านไป 10 ชั่วโมง แถมยังมีประสิทธิภาพเท่ากับการดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแคลอรีสูงเลยด้วย ช่วยให้รับประทานอาหารแคลอรี่ที่น้อยลง หลาย ๆ คนชอบเคี้ยวหมากฝรั่งระหว่างมื้ออาหาร เพราะเชื่อว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก และช่วยให้รับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลอรีที่น้อยลง จากการศึกษาหนึ่ง ที่ให้ผู้เข้าการศึกษา เคี้ยวหมากฝรั่งระหว่างมื้อเช้าและมื้อกลางวัน พบว่าไม่เพียงแต่พวกเขาจะรู้สึกหิวน้อยลงระหว่างมื้ออาหารแล้ว แต่ยังกินอาหารกลางวันน้อยกว่า 68 แคลอรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง จากการศึกษามีบางรายงานว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งมีผลต่ออาหารหรือปริมาณแคลอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อความชัดเจนของข้อมูล ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้มากขึ้น จากการศึกษาเล็กๆ งานหนึ่งชี้ให้เห็นว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งอาจช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้เล็กน้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน