สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขกระดูก อีกหนึ่งอวัยวะสำคัญ ที่คุณอาจยังไม่รู้จักดีพอ

หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “ไขกระดูก” หรือ “การปลูกถ่ายไขกระดูก” แต่ก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าไขกระดูกคืออะไร และทำหน้าที่ใดในร่างกายของเรากันแน่ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความรู้จักไขกระดูกให้ดีขึ้น คุณจะได้ดูแลไขกระดูกได้อย่างถูกต้อง เพราะไขกระดูกสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของคุณมากกว่าที่คิด ไขกระดูก คืออะไร ไขกระดูก (Bone marrow) คือ เนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำซึ่งบรรจุอยู่ในช่องไขกระดูก หรือโพรงกระดูก (Medullary cavity) ที่อยู่ตรงกลางของกระดูก เราสามารถพบไขกระดูกได้ในกระดูกบางบริเวณของร่างกาย เช่น กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกสันหลัง ไขกระดูก สำคัญอย่างไร ไขกระดูกนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไขกระดูกแดง และไขกระดูกเหลือง โดยไขกระดูแต่ละชนิด มีหน้าที่สำคัญในร่างกายดังนี้ 1. ไขกระดูกแดง (Red bone marrow) เป็นเนื้อเยื่อมัยอีลอยด์ (Myeloid tissue) มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างเลือดจากเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ โดยกระบวนการนี้เรียกว่า Hematopoiesis หรือ Hemopoiesis ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดที่ได้จากกระบวนการนี้ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาว มีด้วยกันหลายชนิด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนตัดสินใจทำ การดูดไขมัน

การดูดไขมันนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของน้ำหนักตัว หรือไขมันส่วนเกิน วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การดูดไขมัน ว่ามีการทำงานอย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนได้ทราบก่อนตัดสินใจทำการดูดไขมันกันนะคะ การดูดไขมัน เป็นอย่างไร การดูดไขมัน (Liposuction) เป็นกระบวนการศัลยกรรมเพื่อความสวยความงามประเภทหนึ่ง ที่จะทำการกำจัดไขมันที่สะสมเฉพาะส่วน เช่น สะโพก หน้าท้อง ใต้คาง หรือต้นขา ที่คุณไม่สามารถกำจัดได้จากวิธีการควบคุมอาหาร หรือการออกกำลังกายตามปกติ โดยการใช้ท่อดูดไขมันออกจากร่างกายโดยตรง การดูดไขมันนี้จะมีจุดประสงค์มุ่งเน้นไปที่การปรับลักษณะและรูปร่าง มากกว่าการลดน้ำหนักตัว แต่ในบางครั้งการดูดไขมันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการศัลยกรรมอื่นๆ เช่น การผ่าตัดดึงหน้า การผ่าตัดกระชับหน้าอก หรือการผ่าตัดกระชับหน้าท้อง เป็นต้น การดูดไขมันเหมาะกับใครบ้าง ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนเลยว่า การดูดไขมันนั้น ไม่ใช่วิธีในการลดน้ำหนัก และไม่สามารถช่วยกำจัดเซลลูไลท์ (Cellulite) ออกไปจากร่างกายได้ การดูดไขมันนั้นจะใช้เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนรูปร่าง กำจัดไขมันส่วนเกิน และช่วยทำให้บางส่วนดูยุบหรือเล็กลงไปเล็กน้อย แต่ไม่สามารถทำให้ดูผอมได้ในคราวเดียว เนื่องจากการดูดไขมันนั้นอาจมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อสุขภาพต่างๆ มากมาย ดังนั้น ผู้ที่ต้องการดูดไขมัน จึงควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ผู้ที่มีไขมันส่วนเกิน ที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้ แม้จะควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว มีน้ำหนักตัวมากกว่าน้ำหนักตัวที่ต้องการ อย่างน้อย 30% มีสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน ผิวมีความยืดหยุ่นสูง ไม่สูบบุหรี่ มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่ใช้ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จะไม่แนะนำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ […]


ข่าวสารสุขภาพทั่วไป

นักวิจัยเผย! ข้อเท็จจริง การว่ายน้ำของอสุจิ ที่ถูกเข้าใจผิดมาตลอดเป็นเวลา 350 ปี

ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของวงการวิทยาศาสตร์ ทำให้ ณ ปัจจุบันเราจึงได้ทราบข้อมูลมากมายจากการทดลอง การศึกษา หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ช่วยนำมาคลายข้อสงสัยภายในใจให้เราได้เป็นอย่างดี ซึ่งบทความของ Hello คุณหมอวันนี้ ก็ได้มีอีกหนึ่งข่าวสารใหม่เกี่ยวกับ การว่ายน้ำของอสุจิ ที่ถูกเข้าใจแบบผิด ๆ มาเป็นเวลานาน มาอัพเดตใหม่ ให้ทุกคนได้ทราบ และทำความเข้าใหม่กันอย่างทั่วถึงมาฝากค่ะ ความเชื่อเกี่ยวกับ การว่ายน้ำของอสุจิ เป็นอย่างไร ตลอดหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่ในช่วง ค.ศ.1677 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ท่านหนึ่ง ชื่อว่า อันโทนี ฟาน เลเวนฮูก (Antonie Van Leeuwenhoek) ที่เป็นผู้ทดสอบคนแรกโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เขาได้ประดิษฐ์ขึ้นมาส่องไปยังอสุจิของตนแล้วพบว่า อสุจินั้นนอกจากจะมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกับลูกอ๊อดแล้ว ยังมีการเคลื่อนตัว หรือการแหวกว่ายสะบัดหางไปมาคล้ายกันกับงู และปลาไหลอีกด้วย จากการค้นคว้าล่าสุด มีการค้นพบครั้งใหม่เกี่ยวกับ การว่ายน้ำของอสุจิ เมื่อไม่นานมานี้ด้วยความก้าวไกลทางเทคโนโลยีของทางวิทยาศาสตร์ Dr. Hermes Gadelha จากมหาวิทยาลัยบริสทอล Dr. Gabriel Corkidi และ Dr. Alberto Darszon จากมหาวิทยาลัยเสรีแห่งชาติในประเทศเม็กซิโก จึงได้ทำการร่วมมือกันเพื่อค้นคว้าถึงข้อเท็จจริงนี้ โดยการนำกล้องจุลทรรศน์ 3 มิติ ที่มีการตรวจจับด้วยความเร็วสูงทำให้เราออกมาพบบางอย่างเกี่ยวกับการว่ายน้ำของอสุจิใหม่ว่า.. เนื่องจากการหมุนตัวของอสุจิค่อนข้างมีความเร็วสูง เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ […]


อาการของโรค

เลือดออกจากหัวนม เป็นเพราะอะไร อันตรายรึเปล่านะ

หน้าอกและเต้านมนั้น เป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญ ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านั้น บางครั้งก็อาจจะเรื่องปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคได้เช่นกัน แล้วอาการ เลือดออกจากหัวนม นั้นเกิดขึ้นจากอะไร เป็นสัญญาณบอกอันตรายอะไรรึเปล่า Hello คุณหมอ ชวนมาดูคำตอบไปพร้อมกันจากบทความนี้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เลือดออกจากหัวนม อาการเลือดออกจาก หัวนม อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ หัวนม แตกจากการให้นมลูก แม้ว่าโดยปกติแล้ว การให้นมลูกนั้นไม่ควรจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้มีเลือดไหล แต่คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลาย ๆ คน โดยเฉพาะเหล่าคุณแม่มือใหม่ อาจจะต้องประสบปัญหากับอาการหัวนมแตก เนื่องจากการให้นมลูก ด้วยอาจเป็นเพราะคุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ คุณแม่ตั้งท่าให้นมไม่เหมาะสม หรืออาจเป็นเพราะลูกของคุณดูดนมอย่างไม่ถูกต้อง มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า การสอนให้ทารกอายุระหว่าง 4 วัน ถึง 12 เดือน ให้สามารถดูดนมแม่ได้อย่างถูกต้องนั้น จะสามารถช่วยลดปัญหาอาการเจ็บ หัวนม จากการให้นมบุตรได้มากถึง 65% คุณสามารถสังเกตได้ว่า ลูกของคุณกำลังดูดนมอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ โดยดูได้จากสัญญาณดังต่อไปนี้ หลังจากให้นมลูกแล้ว หัวนมของคุณยังอยู่ในลักษณะแบน หรือบุ๋มเข้าไป มีอาการเจ็บหัวนมอย่างรุนแรงขณะให้นมลูก ลูกไม่อิ่ม หรือยังไม่สงบลง แม้ว่าจะให้นมแล้ว บริเวณฐานเต้านมไม่อยู่ในปากของลูก การจัดการ เราสามารถจัดการได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนท่าทางการให้นมลูกเสียใหม่ โดยพยายามจัดให้หัวนมนั้นอยู่พอดีตรงปากของลูก แล้วกดให้หัวนมเข้าไปลึกขึ้น […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือ ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

การ ปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplantation) เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของเซลล์ไขกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด และเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ข้อมูลพื้นฐานการ ปลูกถ่ายไขกระดูก คืออะไร การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplantation) หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell Transplantation) คือ หัตถการในการแทนที่ไขกระดูกที่เสียหายหรือถูกทำลายโดยโรค การติดเชื้อ หรือการทำเคมีบำบัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด หรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ซึ่งเป็นเซลล์ตัวอ่อนของเลือดที่อาศัยอยู่ในไขกระดูก และจะเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ที่ไหลวนอยู่ในร่างกาย รวมถึงมีส่วนในการสร้างไขกระดูกใหม่ด้วย การปลูกถ่ายไขกระดูกมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้กระดูกของตนเอง (Autologous Bone Marrow Transplantation) โดยต้องใช้ไขกระดูกของผู้ป่วยที่เก็บไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับเคมีบำบัดหรือฉายรังสี โดยผู้เชี่ยวชาญจะปลูกถ่ายไขกระดูกที่เก็บไว้กลับคืนเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาดังกล่าวแล้ว แต่วิธีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีไขกระดูกที่สมบูรณ์ดีเท่านั้น การปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของผู้บริจาค (Allogeneic Bone Marrow Transplantation) โดยผู้บริจาคจะต้องมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ตรงกับผู้ป่วย วิธีนี้มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากกว่า เช่น ภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย และคุณอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายไม่ทำลายเซลล์ใหม่ แต่ยาก็อาจทำให้คุณติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น ความจำเป็นในการ ปลูกถ่ายไขกระดูก ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูกเมื่อไขกระดูกในร่างกายไม่แข็งแรง และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ให้น้ำเกลือ สำคัญอย่างไร ทำไมถึงจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ

ให้น้ำเกลือ หรือการใช้สารละลายโซเดียมคลอไรด์  (Sodium Chloride: NaCl) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่พบเห็นได้บ่อย โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ ท้องเสียรุนแรง อาเจียน รวมไปถึงสูญเสียเลือด เพื่อช่วยทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไป อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมคุณหมอจึงต้อง ให้น้ำเกลือ น้ำเกลือ มีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์  (Sodium Chloride: NaCl)  ถูกใช้เป็นวัตถุดิบหลักทางการแพทย์มานานกว่า 150 ปี เมื่อเวลาเราป่วยเข้าโรงพยาบาล แพทย์จะให้ น้ำเกลือ เนื่องจากมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับเลือด เพื่อใช้ทดแทนน้ำที่ร่างกายได้เสียไป (ให้ผ่านเส้นเลือดดำ) จากภาวะขาดน้ำ ไข้ อาการท้องเสีย อาเจียน รวมถึงการเสียเลือดจากอุบัติเหตุต่างๆ  เป็นต้น จริงหรือไม่ เมื่อได้รับน้ำเกลือบ่อย ๆ จะทำให้ตัวบวม ความเชื่อที่ว่า การได้รับ น้ำเกลือ บ่อย ๆ ทำให้น้ำหนักขึ้น หรือตัวบวมนั้น ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงอาการระยะสั้น ๆ เท่านั้น น้ำเกลือจะถูกกำจัดออกจากร่างกายภายใน 24 ชม. ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการตัวบวม หรือพบว่าน้ำหนักขึ้นอย่างผิดปกติหลังจากได้รับน้ำเกลือ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทันที […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กัดเล็บบ่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

พฤติกรรมการ กัดเล็บบ่อยๆ นั้นถือเป็นพฤติกรรมที่นอกจากจะทำให้ดูเสียบุคลิกภาพแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย เนื่องจากในชีวิตประจำวัน ทุกคนย่อมใช้มือในการหยิบจับสิ่งของหรือวัตถุต่างๆ ซึ่งของบางอย่างอาจจะมีเชื้อโรคแฝงตัวอยู่ ดังนั้นการกัดเล็บอาจเป็นการนำพาให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับการกัดเล็บบ่อยๆ มาฝากกัน ทำไมคนเราถึงชอบ กัดเล็บบ่อยๆ นิสัยเป็นเรื่องที่ยากจะแก้ไข บางครั้งคนเรากัดเล็บเพราะกำลังรู้สึกประหม่า เบื่อ หรือบางที่คุณอาจจะไม่ได้สังเกตตัวเองจนไปทำเล็บที่ร้านแล้วถึงเห็นว่าเล็บสั้นเกินไป ไม่ว่าจะกัดเล็บเพราะกรณีใดๆ มันมีบางวิธีที่สามารถช่วยให้คุณหยุดกัดเล็บได้ สำหรับพฤติกรรมการกัดเล็บ (Nail Biting) ในทางการแพทย์เรียกพฤติกรรมประเภทนี้ว่า Chronic onychophagia ถือเป็นพฤติกรรมที่พบมากที่สุดในการบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีนิสัยอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ การดูดนิ้วหัวแม่มือ การแคะจมูก การม้วนผม การกัดฟัน การหยิกผิว กัดเล็บบ่อยๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร แน่นอนว่าการกัดเล็บนั้นไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน เพราะมือของเรานั้นต้องสัมผัสกับสิ่งของมากมายหลายอย่าง ซึ่งบางอย่างที่สัมผัสอาจจะมีเชื้อโรครวมอยู่ด้วย เชื้อโรคเหล่านี้สามารถเข้าไปติดในซอกเล็บของคุณได้ และเมื่อคุณกัดเล็บเชื้อโรคเหล่านั้นก็จะเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถนำมาสู่ผลเสียต่อสุขภาพหรือโรคต่างๆ เราลองมาดูกันว่า การกัดเล็บนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ผิวหนัง Debra Jaliman แพทย์ผิวหนังจากกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า การกัดเล็บสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียใต้เล็บ เช่น พาโรนีเคีย (Paronychia) ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยแดง บวม และทำให้เล็บเต็มไปด้วยหนอง นอกจากนั้นยังทำให้การติดเชื้อในช่องปากได้ ซึ่งจำจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา อาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบหรือความพิการ David Katz ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการป้องกันมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า หากไม่สามารถควบคุมพาโรนีเคียหรือการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ไม่ควรมองข้าม

คุณผู้อ่านท่านใดมีข่าวดีเตรียมตัวลั่นระฆังวิวาห์บ้างคะ Hello คุณหมอ ขอแสดงความยินดีไว้ล่วงหน้าก่อนเลย ซึ่งโอกาสมงคลแบบนี้คู่รักหลายคู่ก็มักจะยุ่งอยู่กับการเตรียมงาน หาฤกษ์งามยามดี ผูกดวงสมพงศ์ หรือกราบไหว้ผู้ใหญ่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอพรให้การใช้ชีวิตคู่นั้นเป็นสิริมงคลและราบรื่น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ต้องไม่ลืมว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะคนทั้งสองคนจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันไปอีกนาน การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คู่รักไม่ควรละเลย แต่ทำไมเราต้อง ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ? ตรวจแล้วจะได้อะไร ? แล้วต้องตรวจอะไรบ้าง ? ถ้าอยากรู้ล่ะก็มาติดตามกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน คืออะไร การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน คือ การเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อเช็กสภาพความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจของคู่รักที่กำลังจะตกลงปลงใจแต่งงานและสร้างครอบครัวไปด้วยกัน ซึ่งกระบวนการในการตรวจจะไม่แตกต่างจากการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปมากนัก การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนี้เจึงป็นเสมือนคู่มือพื้นฐานสำหรับคู่รักเพื่อประกอบการตัดสินใจและวางแผนการใช้ชีวิตหลังแต่งงานได้ ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ต้องตรวจอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน นั้นมักจะมีโปรแกรมการตรวจที่คล้ายๆ กัน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันไปตามแพ็กเกจหรือโปรโมชั่นของสถานพยาบาลที่เลือกใช้บริการ ซึ่งปกติแล้วแพทย์จะทำการตรวจโดยมีโปรแกรมสำคัญๆ ดังนี้ การตรวจเลือด การตรวจเลือดก่อนตัดสินใจแต่งงานถือว่ามีความสำคัญ เพราะคู่รักจะสามารถทราบหมู่โลหิตของลูกที่จะเกิดมา ทราบความเสี่ยงทางพันธุกรรมที่อาจมาจากพ่อหรือแม่เป็นพาหะ รวมถึงทราบความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ซึ่งทารกที่จะเกิดมาในอนาคตอาจมีภาวะเหล่านี้ได้ หากตรวจเลือดแล้วพบว่าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของโรค ตรวจภาวะการมีบุตรยาก เพื่อลดปัญหาการกล่าวโทษกันแบบที่อาจจะเห็นกันบ่อยๆ ทั้งในละครและชีวิตจริง ที่เมื่อเกิดปัญหาการไม่มีบุตรสักทีแล้วก็มักจะกล่าวโทษกันเองว่ากรรมพันธุ์ฉันดี กรรมพันธุ์เธอไม่ดี การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อหาภาวะการมีบุตรยากจะช่วยไขข้อข้องใจในกรณีนี้สำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร รวมถึงสามารถที่จะหาทางออกในกรณีที่ต้องการจะมีบุตรได้อีกด้วย ตรวจพันธุกรรม การตรวจพันธุกรรมสามารถช่วยระบุความเสี่ยงที่จะส่งต่อไปยังทารกที่จะเกิดมาในอนาคตได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคซิสติก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker's Cyst)

ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า  (Baker’s Cyst)  คือ อาการบวมบริเวณหัวเข่า ซึ่งเกิดจากถุงน้ำหรือมีก้อนของเหลวอยู่ภายในบริเวณหลังหัวเข่า ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่า น่อง เคลื่อนไหวลำบาก คำจำกัดความภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker’s Cyst) คืออะไร ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า (Baker’s Cyst)  คือ อาการบวมบริเวณหัวเข่า ซึ่งเกิดจากถุงน้ำหรือมีก้อนของเหลวอยู่ภายในบริเวณหลังหัวเข่า ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณข้อเข่า น่อง เคลื่อนไหวลำบาก อย่างไรก็ตามภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สามารถหายไปเองได้ แต่หากผู้ป่วยมีอาการบวมมาก ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป อาการอาการของภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า ผู้ป่วยที่อยู่ใน ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าจะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ อาการปวดเข่า ปวดน่อง เข่ามีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด เมื่อยืนเปรียบเทียบกับอีกข้าง มีถุงน้ำหรือก้อนนิ่มๆขึ้นชัดเจนบริเวณหัวเข่า อาการช้ำที่เข่า และน่อง ถุงน้ำบริเวณหัวเข่าแตก เคลื่อนไหวลำบาก งอเข่าได้ไม่เต็มที่ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าเกิดจากปริมาณน้ำไขข้อที่ไหลเวียนผ่านโพรงข้อเข่ามากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ เมื่อหัวเข่าผลิตน้ำมาจนเกิดไปทำให้เข่าเกิดเป็นก้อนบวมนูนขึ้นมา รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้ กระดูกข้อหัวเข่าเกิดความเสียหาย โรคข้ออักเสบที่หัวเข่า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การบาดเจ็บที่หัวเข่า เช่น กระดูกอ่อนฉีก ความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเข่า การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและตรวจร่างกายดูอาการ โดยแพทย์อาจเปรียบเทียบกับเข่าอีกข้างเพื่อดูความแตกต่าง  นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) หรือการอัลตราซาวด์ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

นิ้วเปื่อย (Pruney Fingers) สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผิวหนังบนนิ้วมืออาจเกิดรอยย่นขึ้นได้ เมื่อแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “นิ้วเปื่อย” นอกจากนั้นการจับวัตถุที่เปียกหรือจับวัตถุต่าง ๆ ในน้ำก็สามารถทำให้นิ้วเปื่อยได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ นิ้วเปื่อย (Pruney Fingers) คืออะไร ผิวหนังบนนิ้วมืออาจเกิดรอยย่นขึ้นได้ เมื่อแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “นิ้วเปื่อย” นอกจากนั้นการจับวัตถุที่เปียกหรือจับวัตถุต่าง ๆ ในน้ำก็สามารถทำให้นิ้วเปื่อยได้ แต่ถ้าหากนิ้วมือเปื่อยนั้นเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้โดนน้ำเลยแม้แต่น้อย มันอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาทางการแพทย์ก็ได้ ผิวหนังบนนิ้วมือและนิ้วเท้าของมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ผิวหนังเรียบไม่มีขน (Glabrous) แต่เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ผิวหนังที่เรียบและไม่มีขนนั้นมีลักษณะเหมือนลูกพรุน โดยคนส่วนใหญ่จะพบเจอนิ้วเปื่อยได้บ่อย ๆ จากการอาบน้ำนาน ๆ ว่ายน้ำ หรือล้างจาน ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นจากน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น นิ้วเปื่อย พบบ่อยเพียงใด โดยปกติแล้วนิ้วเปื่อยจะพบได้บ่อย เมื่อคุณอาบน้ำเป็นเวลานานๆ หรือใช้เวลาในสระว่ายน้ำเป็นเวลานาน ๆ แต่บางครั้งนิ้วเปื่อยก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากน้ำเพียงอย่างเดียว มันอาจเกิดขึ้นได้จากอาการของปัญหาทางการแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด นิ้วเปื่อยที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสน้ำไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะมันสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้หลังจากที่แห้งแล้ว บุคคลที่มีอาการนิ้วเปื่อยโดยที่ไม่ได้เกิดจากน้ำ แต่ไม่มีอาการอื่น ๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจน อาจจะเกิดจากภาวะขาดน้ำที่ยังไม่รุนแรง ซึ่งทุกคนที่ประสบภาวะขาดน้ำควรดื่มน้ำให้มากขึ้น หากบุคคลดื่มน้ำเพียงพอ แต่ยังมีอาการนิ้วเปื่อย มันอาจเป็นภาวะทางการแพทย์ ใครก็ตามที่มีอาการนิ้วเปื่อยบ่อย ๆ จนเกิดความกังวล คุณสามารถไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ นอกจากนั้นการจดบันทึกอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และตัวกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการนิ้วเปื่อยได้นั้น สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ดีขึ้น หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน