สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

พิษไซยาไนด์ (Cyanide Poisoning)

ไซยาไนด์หาได้ยาก แต่เป็นพิษที่อันตรายถึงตายได้ ไซยาไนด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ การที่ร่างกายได้รับ พิษไซยาไนด์ (Cyanide Poisoning) ควรไปพบคุณหมอทันที คำจำกัดความพิษไซยาไนด์ คืออะไร ไซยาไนด์เป็นสารที่พบได้ยาก แต่เป็นพิษที่อันตรายถึงตายได้ ไซยาไนด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ไซยาไนด์ที่มีพิษประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ผลึกแข็ง โพแทสเซียมไซยาไนด์ และโซเดียมไซยาไนด์ อาการเป็นพิษจากไซยาไนด์พบได้บ่อยแค่ไหน เนื่องจากไซยาไดน์เป็นสารที่สามารถพบได้ยาก การได้รับพิษจากไซยาไนด์จึงอาจไม่สามารถที่จะพบได้บ่อยครั้ง สำหรับความถี่ของการได้รับพิษจากไซยาไนด์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับ พิษไซยาไนด์ การตรวจว่าได้รับพิษจากไซยาไนด์หรือไม่นั้นเป็นเรื่องยาก การกลืนกินไซยาไนด์เกิดผลลัพธ์ใกล้เคียงกับการขาดอากาศหายใจ กลไกของพิษเกิดขึ้นเนื่องจากไซยาไนด์จะไปยับยั้งเซลล์ในร่างกายไม่ให้ใช้ออกซิเจนได้ ซึ่งออกซิเจนจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของเซลล์ อาการที่เกิดจากการได้รับพิษจากไซยาไนด์นั้นคล้ายกับตอนที่เดินทางไกลหรือปีนภูเขาสูง ๆ นอกจากนี้ยังมีอาการดังต่อไปนี้ ร่างกายอ่อนแรง รู้สึกสับสน มีพฤติกรรมผิดปกติ นอนมากเกินไป หมดสติ หายใจได้สั้น ปวดหัว เวียนหัว อาเจียน ปวดท้อง มีอาการชัก โดยปกติ การกลืนกินไซยาไนด์เข้าไปอย่างฉับพลันนั้นจะเกิดผลกระทบอย่างรวดเร็วและรุนแรงกับหัวใจ และทำให้หมดสติในทันที นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสมอง และอาจทำให้ชักและหมดสติได้ ถ้าได้รับไซยาไนด์เป็นระยะเวลานานผ่านทางการกลืนกิน หรือได้รับจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ผลกระทบจะค่อย ๆ เกิดขึ้น ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ ปวดหัว การรับรู้รสเปลี่ยนแปลงไป อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดท้อง รู้สึกวิตกกังวล ในบางกรณี ถ้าผิวหนังได้รับพิษจากไซยาไนด์ อาจจะทำให้ผิวบริเวณนั้นกลายเป็นสีชมพูหรือแดง เนื่องจากออกซิเจนจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดและเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ ผู้ได้รับพิษอาจหายใจเร็วขึ้น และมีอัตรการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นมากหรือช้าลงมาก บางกรณี ลมหายใจของผู้ได้รับพิษจากไซยาไนด์จะมีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์ อย่างไรก็ตาม การตรวจว่าได้รับพิษหรือไม่นั้นเป็นเรื่องยาก การที่จะทราบว่าใครได้รับพิษจากไซยาไนด์ได้นั้นอาจดูได้จากสภาพแวดล้อมที่คน ๆ นั้นอาศัยอยู่อาจจะได้ผลมากกว่าการสังเกตจากอาการ ผู้ที่ทำงานในห้องทดลอง หรือโรงงานพลาสติกมีความเสี่ยงได้รับพิษจากไซยาไนด์มากกว่าคนปกติ บ้าน รถบ้าน (Recreational vehicle: RV) เรือ และอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ก็มีส่วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับไซยาไนด์ได้เช่นกัน ถ้าคุณรู้จักคนที่มีอาการซึมเศร้า หรือผ่านการใช้สารเคมีใด ๆ อย่างผิด ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ทริปโตเฟน กรดอะมิโนจำเป็น มีดีกว่าที่คิด

ทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น มีหน้าที่ในการสร้างความสมดุลของไนโตรเจนในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนี้ทริปโตเฟนยังสร้าง ไนอาซิน (Niacin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีส่วนในการควบคุมอารมณ์ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของกรดอะมิโนจำเป้นตัวนี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ทริปโตเฟน (Tryptophan) คืออะไร ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ ทริปโตเฟนเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ส่วนใหญ่แล้วพบได้ตามธรรมชาติ จากโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช ทริปโตเฟน เป็นสารที่มีความสำคัญสำหรับใช้พัฒนาและช่วยในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งสารทริปโตเฟนจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสารเซโรโทนินและวิตามินบี 6 ซึ่งสารเซโรโทนินเป็นสารที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบสื่อประสาท หากระดับของเซโรโทนินมีความแปรปรวน ไม่อยู่ในระดับที่มีความสมดุลก็จะส่งผลต่ออารมณ์ได้ ประโยชน์ต่อสุขภาพของทริปโตเฟน ทริปโตเฟนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย สารทริปโตเฟนจากธรรมชาติที่พบในอาหารที่รับประทานนั้นมีประโยชน์ด้านสุขภาพมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้รับประโยชน์มาจากการที่ทริปโตเฟนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไนอาซินและเซโรโทนิน ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากเซโรโทนิน เช่น ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพและช่วยให้หลับได้สนิทและมีคุณภาพมากขึ้น สามารถบรรเทาภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ช่วยให้อารมณ์มีความคงที่ ไม่แปรปรวน และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น การจัดการความอดทนต่อความเจ็บปวด อาหารที่ช่วยเพิ่มทริปโตเฟนให้ร่างกาย สารทริปโตเฟน เป็นสารที่สามารถพบได้ในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่มีทริปโตเฟนสูง ได้แก่ไก่ ไข่ ชีส ปลา ถั่ว เมล็ดฟักทองและงา นม ไก่งวง เต้าหู้และถั่วเหลือง ช็อกโกแลต และเพื่อให้ทริปโตเฟน เปลี่ยนไปเป็นไนอาซินเพื่อใช้ในร่างกาย ร่างกายจึงจำเป็นต้องมีธาตุเหล็ก วิตามินบี 6 และวิตามินบี […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เกษตรกรยุคใหม่ หยุด เผาไร่อ้อย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง  PM 2.5 ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาไหม้ทางการการเกษตร เช่น เผาไร่นา เผาไร่อ้อย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานที่มีการเพาะปลูกอ้อยเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ยิ่งในช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายนที่เป็นช่วงเก็บเกี่ยวไร่อ้อยจะทำให้เกิดฝุ่นละอองจำนวนมาก หากเกษตรกรยังคงเผาไร่อ้อยอยู่ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ ทำไมเกษตรกร จึงต้อง เผาไร่อ้อย ก่อนตัด การเก็บเกี่ยวอ้อยนั้นสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือการตัดอ้อยสด และการเผาอ้อยก่อนตัด แต่เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกเผาอ้อยก่อนตัดโดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ การเผาอ้อยก่อนตัดนั้นเก็บเกี่ยวได้สะดวกและง่ายกว่า อัตราค่าจ้างแรงงานถูกกว่าการจ้างแรงงานตัดอ้อยสด รถตัดอ้อยมีน้อยและไม่บางพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้รถตัดอ้อย หากเผาอ้อยก่อนตัดจะได้คิวในการขายก่อนอ้อยสด โดยโรงงานน้ำตาลให้คิวอ้อยไฟไหม้ก่อนอ้อยสด เนื่องจากค่าความหวานของอ้อยไฟไหม้จะมีน้ำหนักลดลงถึงร้อยละ 20 แต่อ้อยสดลดลงเพียงร้อยละ  14 (ระยะเวลาหลังตัด 14วัน) ส่งผลให้โรงงานต้องรีบรับซื้อภายใน 48 ชั่วโมง  ภัยเงียบของสารที่เกิดจากการ เผาไร่อ้อย ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ประชาชนในเขตพื้นที่เผาอ้อยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยสารต่างๆที่เกิดจากการเผาไหม้ส่งผลเสียต่อสุขภาพดังนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเผาไร่อ้อยทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าเราสูดเข้าไปในร่างกายมากๆ จำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง บางรายถึงขึ้นหมดสติ และเสียชีวิตได้เลย สารคาร์บอนมอนอกไซด์ สารคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถรวมกับเฮโมโกลบิน (Hemoglobin)ในเลือดได้ ทำให้ร่างกายเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน บางรายถึงขึ้นหมดสติ และเสียชีวิตได้เหมือนกัน สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช สารนี้ส่งผลให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด เป็นต้น สารฟอร์มาดีไฮด์ สารตัวนี้ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เมื่อร่างกายได้รับสารนี้บ่อยๆอาจทำให้เกิดโรคต่อถุงลมปอด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

จำหน้าคนไม่ได้ แม้แต่หน้าคนใกล้ชิด คุณอาจจะกำลังเป็น โรคลืมใบหน้า (Prosopagnosia)

เราอาจจะคุ้นเคยกับอาการจำหน้าคนอื่นได้ แต่กลับจำชื่อของเขาไม่ได้ แต่หากคุณได้ยินว่ามีโรคที่ทำให้คุณสามารถจำชื่อ จำท่าทางลักษณะ แต่กลับไม่สามารถจดจำใบหน้าของคนคนนั้นได้ คุณจะเชื่อหรือไม่ โรคลืมใบหน้า เป็นโรคแปลกๆ ที่ค่อนข้างจะหายาก แต่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเข้าสังคม มาเรียนรู้เรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคลืมใบหน้าไปพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ โรคลืมใบหน้า คืออะไร โรคลืมใบหน้า (Prosopagnosia) หมายถึงอาการที่คุณไม่สามารถจดจำใบหน้าของใครได้เลย แม้แต่คนใกล้ชิด อย่าง พ่อแม่ ญาติ และเพื่อน โรคนี้มักจะเป็นกันตั้งแต่กำเนิด และมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตลอดชีวิต แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคลืมใบหน้านั้นอาจจะไม่สามารถจดจำได้แค่เฉพาะใบหน้าของมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็มีบางส่วนที่อาการนั้นจะครอบคลุมไปถึงความสามารถในการจดจำและรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น สัตว์เลี้ยง รถยนต์ หรือสิ่งของเครื่องใช้อีกด้วย ผู้ป่วยโรคลืมใบหน้าส่วนใหญ่มักจะมีเทคนิคในการจดจำคนแทนการจำใบหน้า ด้วยการจำลักษณะท่าทาง การพูด การแสดงออก รูปร่าง การแต่งกาย ทรงผม เสียง หรืออะไรก็ตามที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถแยกแยะคนออกจากกันได้ แต่เทคนิคเหล่านี้ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้กับทุกคน และอาจจะไม่ได้ผลทุกครั้ง ยิ่งโดยเฉพาะเวลาที่ต้องพบเจอกับคนใหม่ๆ อาการของผู้ที่เป็นโรคลืมใบหน้า ไม่สามารถจดจำใบหน้าของคนใกล้ชิดได้ พวกเขาจะไม่สามารถนึกหน้าของคนที่รู้จักได้ แม้ว่าจะใกล้ชิดสนิทสนมกับเขาเพียงใด สับสนกับตัวละครในหนังมากกว่าคนอื่น ผู้ที่เป็นโรคลืมใบหน้ามักจะไม่ชอบที่จะดูภาพยนตร์หรือละคร เนื่องจากพวกเขามักจะชอบสับสน และไม่สามารถแยกแยะตัวละครออกจากกันได้ จำไม่ได้แม้แต่หน้าตัวเอง ผู้ป่วยโรคลืมใบหน้าบางคนอาจจะไม่สามารถจดจำได้แม้แต่กระทั่งกับใบหน้าของตัวเอง โดยเฉพาะเวลามองมองรูปถ่ายแล้วไม่สามารถระบุได้ว่าตัวเองคือคนไหน เขาจะจำคุณไม่ได้หากคุณเปลี่ยนทรงผม ผู้ป่วยโรคลืมใบหน้าส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วิธีในการจดจำทรงผมแทนการจำใบหน้า ดังนั้นหากคุณเปลี่ยนทรงผม ก็อาจทำให้พวกเขาไม่สามารถจำคุณได้ ผลกระทบจากการเป็นโรคลืมใบหน้า ผลกระทบที่สำคัญของการเป็นโรคลืมใบหน้า คือการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถจดจำใบหน้าผู้อื่นได้ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก หากทำตามเทคนิคเหล่านี้

ด้วยความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ส่งผลคนมีอายุยืนยาวมากขึ้น จนทำให้สังคมในปัจจุบันนั้นเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลายครอบครัวจึงอาจต้องประสบปัญหาการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด บทความนี้ Hello คุณหมอ  ขอนำเสนอเทคนิคดี ๆ ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยได้ ผลกระทบจากการเป็น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ผลกระทบต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อนั้นจะทำงานได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อรองรับร่างกายในแนวตั้งตรง ต้านแรงโน้มถ่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักในบริเวณคอ ช่องท้อง หลังส่วนล่าง ก้น ต้นขา และน่อง ดังนั้น การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน ๆ จึงส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อในบริเวณเหล่านี้มากที่สุด ผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะแทบไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเหล่านี้เลย และเมื่อเราไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อก็จะเริ่มอ่อนแอลงและเสื่อมสภาพ และต้องใช้เวลานานมากกว่าจะฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรงดังเดิมได้ การนอนติดเตียงเป็นเวลานานยังทำให้สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก เนื่องจากไม่ได้รองรับน้ำหนักของร่างกายตามปกติ กระดูกข้อต่อที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวก็จะเริ่มเสื่อมลง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในบริเวณข้อต่อนั้นก็จะหนาขึ้น ส่งผลให้เคลื่อนไหวข้อต่อได้ลำบากมากขึ้น ผลกระทบต่อหัวใจและเลือด ระบบหัวใจและหลอดเลือดนั้นจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้นโลก ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่จึงมักจะประสบปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือด การไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายอาจส่งผลให้การเต้นของหัวใจและการสูบฉีดของเลือดลดลง ทำให้มีปริมาณของออกซิเจนที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายน้อยลงตามไปด้วย จึงทำให้เหนื่อยล้าได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในบริเวณขา เมื่อมีลิ่มเลือดมากขึ้น ความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดอุดตันก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย การเคลื่อนไหวของร่างกายที่น้อยลง การดื่มน้ำน้อยลง และการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ลดลง สามารถส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงมีอาการท้องผูกบ่อยครั้ง และหากผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลไม่ดีพอ ยังอาจทำให้ขาดสารอาหารและขาดน้ำได้ด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น เทคนิคดี ๆ ในการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง เทคนิคดี […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

บอกลาผิวเปลือกส้ม วิธีการ ลดเซลลูไลท์ (Cellulite) ด้วยวิธีทางธรรมชาติ

เซลลูไลท์ หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้สาวๆ หลายคนหมดความมั่นใจในการแต่งตัว เพราะไม่ว่าใครก็คงไม่อยากจะโชว์ผิวตะปุ่มตะป่ำเหมือนเปลือกส้มแบบนี้ให้ใครมอง และการจะกำจัดไขมันส่วนเกินเหล่านี้ด้วยการดูดไขมัน ก็ดูจะเป็นวิธีที่ยุ่งยากซ้ำยังมีราคาแพงอีกด้วย แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธีการ ลดเซลลูไลท์ ด้วยวิธีทางธรรมชาติ เซลลูไลท์ คืออะไร เซลลูไลท์ (Cellulite) คือเซลล์ไขมันผลักดันขึ้นมาสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง จนทำให้ผิวที่มีลักษณะขรุขระ ตะปุ่มจะป่ำ ไม่เรียบเนียน ดูแล้วคล้ายเปลือกส้ม โดยปกติแล้วเซลลูไลท์มักจะพบได้ในบริเวณต้นขา สะโพก ต้นแขน และหน้าท้อง เซลลูไลท์นั้นแตกต่างจากไขมันธรรมดา เพราะร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ง่ายๆ เพียงแค่การออกกำลังกาย แต่จำเป็นต้องอาศัยการนวดผิวควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร ประเภทต่างๆ ของเซลลูไลท์อาจมีดังต่อไปนี้ Soft Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่อยู่ในบริเวณบั้นท้าย หน้าท้อง และสะโพก มักจะพบได้ในผู้หญิงช่วงอายุ 20-30 ปี มีลักษณะเป็นก้อนไขมันเล็กๆ เป็นริ้วคลื่นแบบนิ่มๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นจากพันธุกรรม Hard Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่พบได้บ่อยในบริเวณสะโพกและบั้นท้าย มักจะพบได้ในผู้หญิงอายุ 20-40 ปี มีลักษณะเป็นก้อนแข็งเล็กๆ ถ้าบีบดูจะเห็นเป็นก้อนอย่างชัดเจน Flaccid Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่พบได้บ่อยในบริเวณหน้าท้อง รอบเอว ท้องแขน และใต้คาง (เหนียง)  เซลลูไลท์ประเภทนี้จะพบได้มากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

รู้จักกับ โยโย่ เอฟเฟค (YoYo Effect) ก่อนการลดน้ำหนักกันเถอะ

โยโย่ เอฟเฟค ถือได้ว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะแม้จะออกกำลังกาย และควบคุมการรับประทานอาหาร ก็ยังไม่เป็นผล ถึงแม้ตัวเลขน้ำหนักจะลดลง แต่เมื่อกลับมากินปกติอีกครั้ง น้ำหนักกลับดีดตัวพุ่งขึ้นสูงกว่าเดิมเสียอีก ลองมาหยุด ภาวะโยโย่เอฟเฟค ก่อนที่หุ่นคุณจะพังไปมากกว่านี้กับบทความของ Hello คุณหมอ ที่ทางเราได้นำเคล็ดลับดีๆ มาฝากทุกคนกัน โยโย่เอฟเฟค คืออะไร ทำไมเราควรรู้ก่อนลดน้ำหนัก? โยโย่ เอฟเฟค (YoYo Effect) คือผลกระทบจากที่คุณลดน้ำหนัก โดยการอดอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดและไม่สมควรทำอย่างมาก ถึงแม้จะเป็นกระบวนการที่ทำให้ตัวเลขลดลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อคุณกลับมารับประทานอาหารอีกครั้งด้วยความชะล่าใจ ส่งผลให้น้ำหนักเกิดเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่า และยังรวมไปถึง สรีระร่างกายของคุณอาจเปลี่ยนแปลงไป เช่น กล้ามเนื้อหย่อนคล้อย ลงพุง การลดน้ำหนักแบบผิดวิธี ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง น้ำหนักที่ดีดตัวกลับมา หรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการลดน้ำหนักแบบผิดวิธี สามารถทำให้สุขภาพร่างกายของคุณแย่ลง รวมถึงยังนำโรคแทรกซ้อนเหล่านี้มาด้วย โรคอ้วน โรคหัวใจ มะเร็งบางชนิด โรคเบาหวานประเภท 2 โรคไขข้อเสื่อม โรคถุงน้ำดี ความดันโลหิตสูง วิธีหยุด โยโย่เอฟเฟค ก่อนหุ่นจะพังโดยไม่รู้ตัว ลดไขมันในร่างกาย พร้อมกับการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย ในการสร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเป็นทางออกที่ดีที่สุด คุณสามารถเลือกวิธีออกกำลังกายให้เหมาะกับตนเองได้ ตามความถนัดและความสะดวก โดยควรคำนึงถึงความปลอดภัย นอกจากจะช่วยลดไขมันแล้ว ยังสามารถทำให้คุณเกิดความผ่อนคลายลดความเครียดได้อีกด้วย ไม่ควรงดอาหารไม่ว่าจะเป็นมื้อใดๆ ก็ตาม เพราะอาหารทุกมื้อล้วนสำคัญในการเปลี่ยนเป็นพลังงานกระจายตามทั่วร่างกาย โดยเฉพาะมื้อเช้าที่เป็นมื้อเริ่มต้น ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองให้มีสมาธิในการทำกิจกรรมระหว่างวันต่างๆ เช่น ทำงาน เรียนหนังสือ เป็นต้น หากคุณอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งไปอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ในอนาคต จำกัดปริมาณอาหารที่เหมาะสม ปรับสมดุลมื้ออาหาร และของว่าง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

บาร์โฮส สวรรค์บนดินที่สาวขี้เหงาจ่ายได้เพื่อความสุข

“บาร์โฮส” สถานบริการที่ให้บริการสำหรับผู้หญิง กับพฤติกรรมการแสวงหาความสุขที่สังคมบางส่วนยังคงตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ แท้จริงแล้วมีอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังภาพลักษณ์อันฉาบฉวย หรือเป็นแค่บริการคลายเหงาให้สาวๆ ที่ต้องการเพื่อนร่วมดื่ม ร่วมคุยเพียงเท่านั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาหาคำตอบกัน บาร์โฮส คืออะไร? บาร์โฮส เป็นบาร์ที่เปิดให้บริการคล้ายบาร์ทั่วๆไป โดยมีโฮส ทำหน้าที่เทคแคร์เอาใจลูกค้า หากคุณเข้าไปเที่ยวในนั้นรับรองได้เลยว่าจะได้รับการบริการจากหนุ่มโฮสเสมือนคุณเป็นเจ้าหญิงเลยล่ะ สุภาพ พูดเพราะ ปากหวาน เอาใจเก่ง แต่จะมี PR ของร้านหรือผู้จัดการเดินเข้ามาต้อนรับ เชียร์ให้ผู้ใช้บริการเปิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นขวดในราคาหลายพันบาท รวมค่ามิกเซอร์ ไม่รวมค่าอาหารและค่าดื่ม จากนั้น PR พาลูกค้าไปเลือกเด็กโฮสเพื่อให้ลูกค้าเลือก หากถูกใจคนไหนก็จะเรียกมาให้บริการ ตามกฎทั่วไปแล้ว ลูกค้าจะต้องเหมาจ่าย 3 ดริงก์ ดริงก์ละ 350 บาท ซึ่งทางร้านจะหัก 30 บาท ส่วนอีก 320 บาท โฮสจะได้ไปโดยยังไม่รวมกับค่าทิป ยิ่งเปย์ ยิ่งฟิน มีความสุขทุกครั้งที่ได้เปย์ แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้หญิงสาวหลายคนชื่นชอบบาร์โฮสก็คือ บรรยากาศของร้านที่เต็มไปความสนุกสนาน ได้ผ่อนคลายความอึดอัดเคร่งเครียดจากการทำงาน โดยมีหนุ่มหล่อที่ลูกค้าเลือกมานั่งเป็นเพื่อนคุย เพื่อนดื่ม ดูแลเอาอกเอาใจ ให้ความบันเทิงแต่ลูกค้า […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย แต่ใจก็อยากกิน

อย่างที่หลายๆ คนคงเคยได้ยิน หรือว่าพอจะทราบข้อมูลมาบ้างแล้วว่า การรับประทานอาหารปิ้ง ย่าง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง แต่หลายคนก็อาจจะยังมีข้อส่งสัยว่าแล้วการรับประทานอาหารปิ้งย่างนั้น ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาหารปิ้งย่าง ต้นเหตุมะเร็งร้าย พร้อมเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่กินอาหารปิ้งย่างอย่างไรให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ อาหารปิ้งย่าง ส่งผลต่อโรคมะเร็งอย่างไร จากการศึกษาในปี 2010 โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Vanderbilt พบว่า การรับประทานเนื้อย่างนั้น ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยการย่างเนื้อแดง หรือการทำให้เนื้อสุกด้วยอุณหภูมิที่สูงด้วยวิธีการ อบ ย่าง ต้ม หรือทอด จะก่อให้เกิดสาร Heterocyclic Animes (HCAs) ซึ่งเป็นสารที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้การปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงยังก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons ; PAHs) ซึ่งสาร PAHs เป็นสารเคมีที่โดยทั่วไปแล้วพบได้ในถ่านหรือน้ำมันซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ เมื่อมีการปิ้งหรือย่างเนื้อ น้ำมันที่เกิดจากการย่างเนื้อ หยดลงบนถ่านหรือเชื้อเพลิง จึงเกิดเป็นควันลอยขึ้นในอากาศ ซึ่งควันเหล่านั้นมีการปนเปื้อนของสาร PAHs เมื่อสาร PAHs […]


การทดสอบทางการแพทย์

ชิลเบลนส์ (Chilblains) อาการคันตามมือเท้า ที่มาพร้อมอากาศหนาว

เคยเป็นกันไหมอยู่ๆ พออากาศเย็นก็รู้สึกคันตามมือ เท้า และผิวหนัง บางครั้งก็มีผื่นแดงเกิดขึ้นแถมยังมีอาการคันตามมา ทำให้รู้สึกรำคาญใจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นยังรู้สึกเจ็บปวดอีกด้วย ถ้าคุณกำลังเป็นเช่นนี้ นั่นอาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเป็น ชิลเบลนส์ ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องเกี่ยวกับชิลเบลนส์มาฝากกัน [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับชิลเบลนส์ ชิลเบลนส์ (Chilblains) เป็นแผลขนาดเล็กที่เกิดจากอาการอักเสบของเส้นเลือดเล็กๆ เมื่อสัมผัสกับอากาศเย็น มันมักจะทำให้รู้สึกเจ็บปวด คัน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อผิวที่มือและเท้าของคุณ ทำให้เกิดอาการบวม หรือพองได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วชิลเบลนส์จะหายได้เองภายใจ 1-3 สัปดาห์ถ้าอากาศอุ่นขึ้น แต่ก็สามารถเป็นซ้ำได้ตามฤดูกาล ชิลเบลนส์มักไม่ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บถาวร แต่สามารถนำไปสู่การติดเชื้อ และอาจจะรุนแรงมากขึ้นได้หากไม่ได้รับการรักษา สาเหตุของการเกิดชิลเบลนส์ ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ใกล้ผิวหนังของคุณกระชับขึ้น เมื่อคุณรู้สึกอุ่นขึ้นหลอดเลือดเหล่านี้อาจจะขยายตัวเร็วเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดเลือดไหลรั่วเข้าไปในเนื้อเยื่อใกล้เคียงจนทำให้เกิดอาการบวมเกิดขึ้น ซึ่งอาการบวมนั้นจะทำให้เส้นประสาทในบริเวณที่ได้รับผลกระทบเกิดการระคายเคือง ทั้งยังทำให้เกิดอาการปวดได้อีกด้วย ความจริงแล้วแพทย์ก็ยังไม่ชี้ชัดว่า ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่มันอาจจะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อการสัมผัสอาการเย็นและอากาศอุ่นได้ เมื่อเป็นชิลเบลนส์จะมีอาการเป็นอย่างไร เมื่อคุณเป็นชิลเบลนส์จะมีอาการต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น มีผื่นสีแดงบริเวณเล็กๆ เกิดขึ้นบนผิวหนัง โดยปกติแล้วผื่นมักจะขึ้นตามมือหรือเท้า มีแผลพุพอง หรือแผลผิวหนัง อาการบวมของผิวหนัง แสบร้อนบริเวณผิว การเปลี่ยนแปลงของสีผิว จากสีแดงกลายเป็นสีน้ำเงินเข้ม และมีอาการเจ็บปวด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดชิลเบลนส์ แม้จะยังไม่สามารถชีชัดได้ว่า ชิลเบลนส์ สามารถพัฒนากลายเป็นโรคอะไรได้บ้าง แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่มีต้นเหตุมาจากชิลเบลนส์ นั่นก็คือ การใส่เสื้อผ้าที่แน่นจนเกินไป ผิวหนังสัมผัสกับอากาศที่เย็นและชื้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน