สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

บำรุงขนตา ให้ยาวหนาแบบเป็นธรรมชาติ น้ำมันมะพร้าวช่วยได้

น้ำมันมะพร้าว จัดเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีประโยชน์ ในด้านสุขภาพและความงามมากมาย เช่น ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ต้านเชื้อรา รวมไปถึงช่วย บำรุงขนตา ให้ยาวหนา ดกดำเงางามอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทั้งในมนุษย์และสัตว์ที่ยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ปลอดภัยต่อผิวหนังส่วนที่บอบบาง เช่น บริเวณรอบดวงตา และไม่อุดตันรูขุมขนบริเวณดวงตา เหมือนผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันอื่นเป็นส่วนประกอบ จึงไม่เพียงแค่ช่วยบำรุงขนตา แต่ยังช่วยบำรุงผิวรอบดวงตาอีกด้วย Hello คุณหมอ นำเรื่องของน้ำมันมะพร้าวใช้บำรุงขนตามาฝากกัน ข้อดีของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อขนตา ช่วยให้ขนตาแข็งแรงขึ้น ผลการศึกษาระบุว่า น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวสายโมเลกุลยาวปานกลาง (Medium-Chain Triglycerides) หลายชนิด เช่น กรดลอริก (Lauric acid) กรดไมริสติก (Myristic acid) กรดคาไพรลิก (Caprylic acid) กรดคาพริก (Capric acid) ซึ่งมีประโยชน์ต่อเส้นผมและผิวพรรณ กรดไขมันเหล่านี้ช่วยให้น้ำมันมะพร้าวสามารถซึมซาบเข้าสู่เส้นผมได้ง่าย การทาน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงช่วยลดการสูญเสียโปรตีนในเส้นขน ทำให้ขนตาแข็งแรง ไม่ถูกทำลายเพราะการเช็ดเครื่องสำอางรอบดวงตาและการล้างหน้า ป้องกันเชื้อโรคและรังแค หลายคนอาจไม่รู้ว่า บนขนตาของคนเรามีจุลินทรีย์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และสามารถเป็นรังแคได้ไม่ต่างจากหนักศีรษะ กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวมีสรรพคุณในการต่อต้านจุลินทรีย์และเชื้อรา รวมถึงป้องกันการอักเสบ การทามันมะพร้าวที่ขนตาและผิวหนังโดยรอบจึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ เช่น รากขนอักเสบ (Folliculitis) รังแคได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า มาสคาร่าสองยี่ห้อที่ใช้ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคกับเครื่องพ่นละอองยา ใครบ้างต้องพึ่งเครื่องพ่นละอองยา

เครื่องพ่นละอองยา (Nebulizer) ถือเป็นอุปกรณ์รักษาและระงับอาการแบบเฉียบพลันประเภทหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมักจะใช้กัน โดยในบางกรณี เครื่องพ่นละอองยานี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตของผู้ป่วยเลยก็ว่าได้ อุปกรณ์นี้คืออะไร ทำงานอย่างไร และทำไม โรคกับเครื่องพ่นละอองยา ถึงมีความสัมพันธ์และความสำคัญต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคต่างๆ ไปดูกัน เครื่องพ่นละอองยาคืออะไร เครื่องพ่นละอองยา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ออกซิเจนอัดอากาศหรือใช้พลังอัลตราโซนิกเพื่อเปลี่ยนยาซึ่งอยู่ในรูปของเหลวให้กลายเป็นละอองฝอยเพื่อให้เหมาะต่อการสูดดมทางลมหายใจ โดยเครื่องพ่นละอองยาจะช่วยส่งอนุภาคของละอองยาที่มีฤทธิ์ในการรักษาตรงไปสู่ปอด มักใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อการรักษาที่บ้านในกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถบรรเทาอาการป่วยของโรคต่างๆ ได้แก่ โรคกับเครื่องพ่นละอองยา สัมพันธ์กันอย่างไร หอบหืด หอบหืดเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ เมื่อทางเดินหายใจเกิดอาการบวมและคัดแน่น จะผลิตสารคัดหลั่งปริมาณมากออกมาเป็นสาเหตุของอาการหายใจลำบาก อาการหอบหืดกำเริบนั้นเกิดจากการที่อาการหอบหืดแย่ลงแบบทันทีทันใด เป็นเหตุให้ทางเดินหายใจบวมและมีสารคัดหลั่งหนาแน่นกว่าปกติ ผู้ที่มีอาการหอบหืดนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นละอองยาในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม เครื่องพ่นละอองยานั้นมักใช้เพื่อการฉีดพ่นละอองยาปริมาณมากในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน เมื่อเทียบกับยาพ่น (inhaler) เครื่องพ่นละอองยานั้นอาจเป็นทางเลือกที่สะดวกกว่าสำหรับเด็กที่ยังไม่โตพอที่จะใช้ยาพ่น หรือในผู้ใหญ่ที่สามารถควบคุมอาการหอบหืดได้ยากและเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันขั้นรุนแรงบ่อยๆ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นอาการปอดอักเสบต่อเนื่องที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาแต่สามารถควบคุมอาการเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายมากขึ้น วิธีการป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นคือการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ อาการเฉพาะของโรคนี้ คืออาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและทางเดินหายใจถูกอุดกั้น อาการทางเดินหายใจอุดกั้นเกิดจากโรคทางเดินหายใจย่อยๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ยาก แม้ว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักถูกพิจารณาว่า ภาวะหลอดลมตีบตันที่ไม่สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็มีอาการดีขึ้นได้ด้วยยาขยายหลอดลมในปริมาณมาก ดังนั้น การใช้เครื่องพ่นละอองยาจึงมักถูกนำมาใช้การรักษาอาการทางเดินหายใจกำเริบ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังแสดงอาการรุนแรงมากขึ้น หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) หลอดลมฝอยอักเสบ เกิดจากหลอดลมฝอยในปอดเกิดการบวมและอักเสบจาการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบบ่อยในเด็กทารกและมีแนวโน้มที่จะพัฒนากลายเป็นโรคหอบหืดได้ในภายหลัง หลอดลมฝอยอักเสบอาจถูกเข้าใจสับสนว่าเป็นอาการของหลอดลมอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบบริเวณหลอดลม เครื่องพ่นละอองยานั้นอาจถูกนำมาใช้ในกรณีพิเศษในผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ ขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) โรคหลอดลมโป่งพอง หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า โรคมองคร่อ เกิดจากการมีแผลเป็นและการอักเสบบริเวณหลอดลมที่มีสารคัดหลั่งหรือเสมหะคั่งอยู่ หลอดลมจึงขยายตัวและไม่สามารถกำจัดเสมหะออกไปได้ตามปกติ จึงก่อให้ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย เครื่องพ่นละอองยาจึงถูกนำมาใช้เพื่อส่งตัวยาที่สามารถลดอาการคั่งของเสมหะ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ (Revision Total Hip Replacement)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ คืออะไร การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ (Revision Total Hip Replacement) เป็นการผ่าตัดเพื่อนำข้อสะโพกเทียมเก่าออกไป และใส่ข้อสะโพกเทียมใหม่เข้าไปแทนที่ เนื่องจากข้อสะโพกเทียมที่เปลี่ยนไปในตอนแรกเกิดปัญหา ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ข้อต่อเทียม สะโพกติดเชื้อ การวางผิดตำแหน่ง กระดูกรอบข้อสะโพกเทียมแตกหัก ข้อสะโพกเทียมหลุดบ่อยๆ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ เพื่อทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บปวด และช่วยให้สามารถเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ ข้อสะโพกเทียมอาจเสื่อมได้ตามกาลเวลา และอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำอีก ทางเลือกในการรักษานอกเหนือจากการผ่าตัด หากอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้รอดูอาการซักระยะก่อน หากคุณติดเชื้อ แพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หากสะโพกเคลื่อนตัวจากข้อต่อ คุณสามารถใส่สายรัดได้ หากมีอาการกระดูกแตก อาจรักษาได้ด้วยการดึง คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ คุณต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ หรือภาวะสุขภาพใดๆ และก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณจะเข้าพบวิสัญญีแพทย์และวางแผนร่วมกันเรื่องการใช้ยาระงับความรู้สึก เป็นสิ่งสำคัญที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาที่ควรหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำ ก่อนการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ การผ่าตัดจะทำโดยใช้ยาสลบ แพทย์จะกรีดที่ด้านข้างสะโพก ก่อนจะนำข้อสะโพกเทียมและซีเมนต์เชื่อมที่มีอยู่เดิมออก จากนั้นจึงใส่ข้อสะโพกใหม่เข้าไปแทน ข้อสะโพกใหม่จะถูกติดเข้ากับกระดูก โดยใช้อะครีลิกซีเมนต์ หรือสารเคลือบชนิดพิเศษ รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี และอาจมีความซับซ้อนมากขึ้น หากกระดูกบาง กระดูกแตก หรือติดเชื้อ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำ โดยปกติแล้ว คุณสามารถกลับบ้านได้หลังจากเข้ารับการผ่าตัด 5-10 วัน และอาจจำเป็นต้องใช้ไม้เท้าหรือไม้ช่วยเดินเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วขึ้น แต่ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมซ้ำมักได้ผลดี และผู้เข้ารับการผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงขึ้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test)

การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน เป็นการใช้เครื่องมือตรวจสภาพและการทำงานของปอด เพื่อตรวจและประเมินปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจที่คุณอาจมีในแต่ละวัน ข้อมูลพื้นฐานการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน คืออะไร การตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน (Home Lung Function Test) เป็นการใช้เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินการทํางานของปอด (peak flow meter หรือ home spirometer) เพื่อตรวจและประเมินปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจที่คุณอาจมีในแต่ละวัน เครื่องมือนี้ช่วยให้คุณวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (ค่า Forced Expiratory Volume at 1 second หรือ FEV1) ได้ หากคุณเป็นโรคปอด เช่น หอบหืด แพทย์อาจตรวจหาอัตราการไหลของอากาศหายใจเข้าที่สูงที่สุด (ค่า peak inspiratory flow หรือ PIF) และอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด  ( ค่า peak expiratory flow หรือ PEF) เพื่อวัดปริมาณอากาศที่คุณสามารถหายใจเข้าและหายใจออก ซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของปอดที่สมบูรณ์มากขึ้น ความจำเป็นของการตรวจสมรรถภาพปอดที่บ้าน การตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 หรืออัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดที่บ้าน มีประโยชน์ดังนี้ เพื่อตรวจว่าปอดของผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด นั้นทำงานได้ดีเพียงใด การวัดอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด จะให้ข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหอบหืดตัดสินใจเข้ารับการรักษาที่ดีขึ้นได้ เพื่อตรวจสอบสมรรถภาพการทำงานของปอดอย่างสม่ำเสมอ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (External Cephalic Version)

ข้อมูลพื้นฐานการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกคืออะไร การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (external cephalic version หรือ ECV) เป็นหัตถการประเภทหนึ่งในการเปลี่ยนทารกในครรภ์จากท่าก้นให้เป็นท่าศีรษะ ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผล หากทารกอยู่ในท่าก้นหลังจากอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ แพทย์จะแนะนำให้ใช้การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก เพื่อใหคุณมีโอกาสในการคลอดธรรมชาติมากที่สุด วิธีหมุนเปลี่ยนท่าทารกในครรภ์วิธีนี้ถือว่าเหมาะสำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ ความจำเป็นในการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก แพทย์จะแนะนำให้คุณรับการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก หากคุณมีภาวะดังต่อไปนี้ ตั้งครรภ์ 36 ถึง 42 สัปดาห์ – ก่อนอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีโอกาสเปลี่ยนเป็นท่ากลับศีรษะด้วยตัวเอง แต่การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกอาจได้ผลมากกว่า หากทำโดยเร็วที่สุดหลังอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ เนื่องจากทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็ก ล้อมรอบไปด้วยน้ำคร่ำ และมีที่ว่างมากกว่าในการเคลื่อนที่ในมดลูกได้ ตั้งครรภ์โดยมีทารกในครรภ์เพียงคนเดียว ทารกในครรภ์ไม่เข้าไปในเชิงกราน ซึ่งทารกในครรภ์ที่ติดอยู่จะเคลื่อนที่ได้ยาก มีน้ำคร่ำที่ล้อมรอบทารกในครรภ์เพียงพอสำหรับการหมุนท่าทารกในครรภ์ หากปริมาณน้ำคร่ำต่ำกว่าปกติ (oligohydramnios) จะทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงได้รับบาดเจ็บในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกมากขึ้น เคยตั้งครรภ์มาก่อน นั่นหมายความว่า ผนังช่องท้องมักมีความยืดหยุ่นมากกว่า และสามารถขยายได้ในระหว่างการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก แต่ถึงแม้จะเพิ่งเคยตั้งครรภ์ครั้งแรก ก็สามารถหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอกได้เช่นกัน ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้นนำ ท่าก้นทั้งหมด หรือท่าเท้าเหยียดลงไปต่ำสุด ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ หมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก หากคุณมีภาวะเหล่านี้ แพทย์จะไม่แนะนำให้เข้ารับการการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก ถุงน้ำคร่ำแตก คุณมีภาวะโรค เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ที่ทำให้คุณไม่สามารถใช้ยากลุ่มโทโคไลติก (tocolytic medicines) บางชนิด ที่ใช้เพื่อป้องกันการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก (uterine contractions) จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าคลอด (cesarean delivery) […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดเส้นเลือดขอดคืออะไร การผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery) เป็นการรักษาเส้นเลือดขอด หรือหลอดเลือดขอด (Varicose veins) ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Varicose Vein Surgery)ดำใต้ผิวหนังที่บิดนูนและขยายตัว ส่วนใหญ่จะพบมากบริเวณขา เส้นเลือดขอดมีแนวโน้มถ่ายทอดในครอบครัวและมีอาการแย่ลงจากการตั้งครรภ์และการยืนเป็นเวลานาน หลอดเลือดดำที่ขามีลิ้นเปิดปิดทางเดียวจำนวนมาก ที่ช่วยให้กระแสเลือดที่ไหลไปด้านบนให้ไหลกลับสู่หัวใจได้ หากลิ้นเปิดปิดเหล่านั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม เลือดจะไหลเวียนผิดทิศทาง ทำให้หลอดเลือดโปร่งและเกิดเส้นเลือดขอดได้ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด ส่วนใหญ่แล้ว เส้นเลือดขอดมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงแต่อย่างใด หากเส้นเลือดขอดของคุณส่งผลต่อสุขภาพ แพทย์อาจแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ แต่ในบางกรณี เส้นเลือดขอดอาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น อาการปวด การเกิดลิ่มเลือด แผลที่ผิวหนัง และหากร้ายแรงแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีรักษาหลายวิธีควบคู่กันไป การผ่าตัดเส้นเลือดขอดจะช่วยลดความดันในหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดที่ขอดอยู่แล้วขยายตัวมาขึ้น ทั้งยังป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่ๆได้ด้วย สำหรับผู้ที่มีแผลหรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเส้นเลือดขอด การผ่าตัดเส้นเลือดขอดยังช่วยไม่ให้ปัญหาที่มีแย่ลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลจากเส้นเลือดขอดในอนาคต บางครั้งการผ่าตัดเส้นเลือดขอดยังใช้ในการรักษาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ด้วย การผ่าตัดเส้นเลือดขอด มีทั้งการผ่าเอาหลอดเลือดดำที่ขอดออกไป และการผนึกหลอดเลือดดำด้วยความร้อนหรือการฉีดยาเฉพาะ การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออกจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณขา เพราะเลือดจะถูกลำเลียงผ่านหลอดเลือดเส้นอื่นที่แข็งแรงกว่าแทน โดยเฉพาะหลอดเลือดดำชั้นลึก ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเส้นเลือดขอด การผ่าตัดเส้นเลือดขอดจัดเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย และมีความเสี่ยงน้อย แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดรอยช้ำ รอยบวม ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือมีอาการปวดเล็กน้อยได้ ส่วนการผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) อาจทำให้มีอาการปวดรุนแรง เกิดปฏิกิริยาแพ้ยาระงับความรู้สึก ติดเชื้อ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

6 วิธีรับมือ อาการอ่อนเพลียจากการรักษามะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังเข้ารับการรักษาโรคนี้อยู่ คุณอาจมี อาการอ่อนเพลียจากการรักษามะเร็ง ที่เกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างเข้ารับการรักษาและหลังรักษา ซึ่งความรู้สึกเหนื่อยล้านี้มักไม่ดีขึ้นแม้คุณได้พักหรือนอนหลับแล้วก็ตาม อาการนี้เรียกว่า อาการอ่อนเพลียจากโรคมะเร็ง และส่งผลเสียต่ออารมณ์ ความสัมพันธ์และกิจวัตรประจำวัน Hello คุณหมอ ขอนำเสนอวิธีที่จะมาช่วยในการควบคุมอาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น และปรับสภาพความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้นมาฝากกันค่ะ 6 วิธีรับมือ อาการอ่อนเพลียจากการรักษามะเร็ง 1. พักผ่อนให้พอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป ควรจัดตารางเวลาเพื่อให้มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ เช่น คุณอาจพักสายตาช่วงสั้น ๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง แทนการพักนาน ๆ ในระหว่างวัน และต้องพยายามนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมง แต่ระวังอย่านอนมากไป เพราะจะทำให้ระดับพลังงานของร่างกายลดลงได้ 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เวลาที่คุณรู้สึกเหนื่อยตลอดทั้งวัน การจะให้ตื่นตัวอยู่เสมออาจฟังดูยาก แต่งานวิจัยเผยว่า การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มพลังงาน และบรรเทาอาการอ่อนเพลีย โดยคุณสามารถเริ่มออกกำลังกายได้ ด้วยเทคนิคง่าย ๆ เหล่านี้ เริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะกับระดับของคุณ เช่น การเดิน การฝึกโยคะ การว่ายน้ำ เพิ่มระดับหรือความยากตามต้องการ ฟังร่างกายตนเองให้ดี อย่าหักโหมเกินไป แต่ควรทำอย่างต่อเนื่อง จดบันทึกความก้าวหน้าและปรึกษาผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อคำแนะนำเพิ่มเติม 3. ปรับพฤติกรรมการนอน นิสัยการนอนหลับที่ดี เป็นวิธีที่ทำให้สภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรง และเทคนิคต่อไปนี้จะช่วยทำให้การนอนของคุณดีขึ้น ช่วงเช้า ตื่นในเวลาเดิมทุกวัน ไม่ว่าคุณจะนอนหลับได้กี่ชั่วโมงก็ตาม ช่วงกลางวัน งีบช่วงสั้น ๆ ระหว่างเวลาเที่ยงวันและบ่ายสามโมง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) เป็นอาการที่แสดงออกผ่านอาการไม่สบายท้อง และอยากอาเจียน (Vomit) อาการคลื่นไส้เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของการอาเจียน เพื่อขับสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมา อาการคลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ก็ได้   คำจำกัดความคลื่นไส้และอาเจียน คืออะไร คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) เป็นอาการที่แสดงออกผ่านอาการไม่สบายท้อง และอยากอาเจียน (Vomit) อาการคลื่นไส้เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของการอาเจียน เพื่อขับสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมา อาการคลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting) สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ก็ได้ พบบ่อยเพียงใด คลื่นไส้และอาเจียนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการคลื่นไส้และอาเจียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อยู่ในภาวะ อาการคลื่นไส้และอาเจียน มีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ กรดไหลย้อน มีไข้ เวียนศีรษะ ไม่สบายท้อง ปวดท้อง ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรเข้าพบหมอหากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการ ดังต่อไปนี้ อาการคลื่นไส้ที่ร่วมกับกับอาการหัวใจวาย อาการหัวใจวาย ได้แก่ อาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกราม เหงื่อออก หรือปวดที่แขนซ้าย อาการคลื่นไส้เกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง หายใจลำบากหรือมึนงง อาการคลื่นไส้เกิดตามหลังสารพิษเข้าสู่ร่างกาย อาการคลื่นไส้เกิดร่วมกับภาวะขาดน้ำ เกิดอาการรับประทานหรือดื่มน้ำไม่ได้นานกว่า 12 ชั่วโมง เนื่องจากอาการคลื่นไส้ อาการคลื่นไส้เกิดนานกว่า 4 ชั่วโมงหลังจากการรับประทานยาที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป เมื่อสังเกตว่าเกิดอาการต่าง ๆ หรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสอบถามถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับอาการที่เกิดขึ้น สาเหตุสาเหตุของ อาการคลื่นไส้และอาเจียน สาเหตุของ อาการคลื่นไส้และอาเจียน […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test)

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test) เป็นการวัดระดับของคอเลสเตอรอลดีในเลือด แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี เพื่อเป็นการติดตามผล จากการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลที่อยู่ในระดับสูง   ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจวัดปริมาณไขมันดี คืออะไร ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test) เป็นการวัดระดับของคอเลสเตอรอลดีในเลือด ไขมันดี (HDL) คือ คอเลสเตอรอลไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ไลโปโปรตีนประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ไขมันเอชดีแอล รู้จักกันในชื่อ คอเลสเตอรอลดี เนื่องจากไขมันชนิดนี้ดักเอาคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันที่เป็นอันตรายและส่งไปที่ตับเข้าสู่กระบวนการ เมื่อไขมันดีเข้าสู่ตับ จากนั้นตับจะทำการย่อยไขมันไม่ดีให้อยู่ในรูปของน้ำดีและขับออกจากร่างกาย งานวิจัยเผยว่า ผู้ที่ระดับไขมันดีอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับต่ำ ความจำเป็นในตรวจวัดปริมาณไขมันดี แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี เพื่อเป็นการติดตามผลจากการวัดระดับคอเลสเตอรอลที่อยู่ในระดับสูง การตรวจวัดไขมันดีมักทำควบคู่ไปกับการวัดระดับอื่น ๆ ด้วย เช่น คอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการตรวจวัดค่าลิปิดโปรไฟล์ (lipid profile) ที่เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ มีดังนี้ การสูบบุหรี่ อายุ (ชาย 45 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป) ความดันโลหิตสูง (ระดับค่า 140/90 หรืออยู่ระหว่างการใช้ยารักษาอาการความดันโลหิตสูง) ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจก่อนวัย (สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA Antibody Test)

ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ คืออะไร การตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA antibody test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย และติดตามอาการโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE) ส่วนใหญ่แล้ว จะพบแอนติบอดีชนิดนี้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตนเองจำนวนร้อยละ 65 ถึง 80 อาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง คือ มีแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม หากปริมาณความเข้มข้นของแอนติบอดีอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ อาจหมายความว่าคุณไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง เนื่องจาก ยังมีโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ที่พบว่า เกี่ยวข้องกับระดับความเข้มข้นของแอนติบอดีอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ ความจำเป็นในการ ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ แพทย์จะเจาะจงการตรวจชนิดนี้ เมื่อคุณมีสัญญาณหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือมีผลการตรวจเอเอ็นเอ (ANA test) เป็นบวก อาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ผมร่วง น้ำหนักลด ผิวไวต่อแสง ปวดข้อ เหมือนอาการข้ออักเสบ แม้ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ ชาหรือเสียวแปลบที่มือและเท้าเหมือนโดนเข็มทิ่ม การตรวจนี้สามารถใช้ในการติดตามและบ่งชี้อาการกำเริบของโรคลูปัสชนิดร้ายแรงได้ด้วย ข้อควรรู้ก่อนตรวจ ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ คุณควรระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการตรวจ ดังต่อไปนี้ หากคุณรับการตรวจด้วยรังสีภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการตรวจหาแอนติบอดี ผลการตรวจอาจคลาดเคลื่อนได้ ยาชนิดต่างๆ อาจเพิ่มความเข้มข้นของแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ เช่น ไฮดราลาซีน (hydralazine) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน