สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

เช็กด่วน! วัคซีนที่ควรฉีด เป็นประจำทุกปี มีอะไรบ้าง

การฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีมีความสำคัญในการช่วยป้องกันโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่าย และลดความรุนแรงของโรค ซึ่งนอกจากจะช่วยปกป้องตัวเองแล้วยังสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในสังคมได้อีกด้วย บทความนี้จะมาแนะนำ เช็กลิสต์ วัคซีนที่ควรฉีด เป็นประจำในแต่ละปี รวมไปถึงวัคซีนกระตุ้นที่ควรได้รับ [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนที่ควรฉีด เป็นประจำทุกปี มีอะไรบ้าง 1. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine) วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัสทุกปี วัคซีนจึงได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสายพันธุ์ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้น ๆ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ คือช่วงก่อนฤดูฝนและฤดูหนาว การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและลดความรุนแรงของอาการ อีกทั้งยังช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้อีกด้วย กลุ่มเป้าหมายที่ควรฉีด เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคปอด หญิงตั้งครรภ์ บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาล 2. วัคซีนโควิด-19 (COVID-19 Vaccine) แม้ว่าในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 อาจจะลดลงไปมากกว่าแต่ก่อน แต่ก็อาจยังคงมีการระบาดในบางพื้นที่ ดังนั้น จึงควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น (booster) ตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อกำหนดเวลาการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม​ กลุ่มเป้าหมายที่ควรฉีด ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้า 3. วัคซีนป้องกันโรคไอกรน บาดทะยัก […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง คืออะไร การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy) เป็นวิธีที่ทำให้ศัลยแพทย์ทำการวินิจฉัย และรักษาอาการบางอย่างที่ส่งผลต่อข้อเท้าได้ โดยไม่ต้องมีการกรีดผ่า ซึ่งอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดของคุณ และทำให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น การผ่าตัดส่องกล้องทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นภายในของข้อเท้า โดยการส่องกล้องผ่านช่องตัดเล็กๆ บนผิวหนัง ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ความเสียหายที่ผิวข้อต่อหรือเส้นเอ็น ข้ออักเสบ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง การผ่าตัดส่องกล้องไม่สามารถรักษาอาการปวดข้อที่เกิดขึ้นจากทุกสาเหตุ คุณอาจเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องได้ หากคุณมีเศษเล็กๆ อยู่ในข้อเท้าจากการหักของกระดูกอ่อน หรือจากกระดูกชิ้นเล็ก คุณยังสามารถใช้วิธีนี้ได้ หากเกิดความเสียหายที่เส้นเอ็นจากอาการข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินความเสียหาย และรักษาต่อไป ความเสี่ยงความเสี่ยงของการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้องเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีอัตราการเกิดอาการแทรกซ้อนต่ำ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดวิธีนี้ คล้ายกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่นๆ กล่าวคือ มีความเสี่ยงจากการใช้ยาชา ขึ้นอยู่ประเภทที่เลือกใช้ ผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย อาจเจอกับอาการแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ เกิดเลือดออกจากการตัดโดนเส้นเลือด เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทโดยรอบ ความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง บริเวณกระดูกน่องบวม เกิดการติดเชื้อที่ข้อต่อข้อเท้า อาการปวดรุนแรง จนข้อติดและข้อเท้าไม่สามารถใช้การได้ นอกจากการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาปัญหาที่ข้อเท้าแล้ว แพทย์อาจใช้วิธีตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI scan) แต่ก็ยังจำเป็นต้องรักษาอาการด้วยการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง โดยทั่วไป ควรงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณใช้อยู่ แพทย์จะแนะนำไม่ให้คุณใช้ยาต้านอาการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน เป็นเวลา 2-3 […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เผยความลับ! สร้างความแข็งแรงให้กระดูก ง่ายนิดเดียว!

กระดูก มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว และกิจกรรมต่างๆ ที่คุณทำ ในขณะที่บางคนมีความเสี่ยง ต่อการเกิดกระดูกเปราะบางได้มากกว่าคนอื่น แต่มีวิธีมากมาย ที่คุณสามารถช่วย สร้างความแข็งแรงให้กระดูก ได้ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาหารที่มีแคลเซียมสูงประกอบด้วย โยเกิร์ต ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ และมีแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก เพื่อประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น คุณควรรับประทานควบคู่กับผักใบเขียวเข้ม ซึ่งมีปริมาณแคลเซียมอยู่สูง อาหารประเภทอื่นๆ ที่เสริมสร้างกระดูก ได้แก่ เต้าหู้ และหากคุณแพ้ผลิตภัณฑ์จากนม ลองรับประทานถั่วเหลือง หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก อาหารประเภทนี้ ได้แก่ กาแฟ แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ คาเฟอีนมีประโยชน์ต่อสุขภาพบางประการ แต่ไม่ส่งผลดีต่อกระดูก การดื่มคาเฟอีนมากเกินไป รบกวนประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย การศึกษาหนึ่งเผยว่า การดื่มกาแฟมากกว่าวันละสองแก้ว เร่งการสูญเสียมวลกระดูก ในผู้ที่ไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ ผลของการดื่มแอลกอฮอล์ คล้ายกับการดื่มกาแฟ คือทำให้สูญเสียมวลกระดูก เนื่องจากแอลกอฮอล์รบกวนการดูดซึมวิตามินดี เดินออกกำลัง ลองออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งเหยาะหรือเดิน หรือแอโรบิค อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรออกกำลังกายแบบเข้มข้น พร้อมกับการทำกิจกรรมแบบเบาๆ สัปดาห์ละ 2-3ครั้ง ยกน้ำหนัก การออกกำลังกายที่ใช้แรงต้าน จำเป็นต้องใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ที่นอกจากจะช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ ยังเสริมสร้างกระดูกด้วย  อุปกรณ์สำหรับการออกกำลังประเภทนี้ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แผลที่ใกล้หาย ทำไมถึงคัน-คั้น-คัน?!

นี่เป็นสิ่งที่แทบทุกคนต่างต้องเคยเจอ เมื่อ แผลที่ใกล้หาย เกิดอาการคันขึ้นมาจนแทบห้ามใจให้เกาไม่ไหว ทำไมจึงเกิดอาการคันเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อแผลใกล้หาย? แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่มีหลายทฤษฎีที่อาจอธิบายได้ดังนี้ กระบวนการของการสมานแผล ก่อนจะหาคำตอบของคำถามว่า ทำไมจึงเกิดอาการคันเมื่อแผลใกล้หาย คุณควรทำความเข้าใจกระบวนการเยียวยาตนเองของแผล ผิวหนังเป็นปราการด่านแรก ในการต่อสู้กับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เปรียบเหมือนระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อบริเวณรอบๆ ถูกรุกราน จะเกิดสัญญาณเตือน ทำให้ร่างกายทำปฏิกิริยาบางอย่าง และเริ่มกระบวนการเยียวยา สี่ขั้นตอนในกระบวนการของการสมานแผล ขั้นตอนแรกคือ การห้ามเลือด (hemostasis) หลังจากที่เส้นเลือดบีบแคบลง ทำให้เลือดไหลช้าลง เกล็ดเลือดจะเกาะกลุ่มกัน และเกิดเป็นลิ่มเลือดบริเวณบาดแผล การแข็งตัวของเลือดนี้เกิดขึ้นเมื่อเส้นใยในเลือดหรือไฟบริน (Fibrin) สร้างตาข่ายเส้นใย และดักเกล็ดเลือดกับเซลล์เม็ดเลือดแดงเอาไว้เพื่อสร้างเป็นลิ่มเลือด ขั้นต่อไปคือขั้นอาการอักเสบ เกิดขึ้นในระหว่างที่ร่างกายเริ่มทำความสะอาดบาดแผล สิ่งสกปรกต่างๆ ถูกกำจัดออกไปจากบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ระยะเพิ่มจำนวน คือขั้นต่อมาที่ร่างกายเริ่มสร้างเส้นเลือดใหม่และผิวหนังใหม่ ขั้นสุดท้าย คือขั้นของปรับตัวและฟื้นฟู เซลล์ที่ถูกทำลายจะได้รับการซ่อมแซม รวมถึงเซลล์ประสาทด้วย ทำไมจึงเกิดอาการคันเมื่อแผลใกล้หาย มีหลักการมากมายที่สามารถอธิบายการเกิดสะเก็ดแผลที่ทำให้คัน ในสะเก็ดแผลมีฮีสตามีน ที่ทำให้ผิวหนังรอบบาดแผลระคายเคือง แพทย์บางท่านคิดว่าเป็นกลไกของร่างกาย ในการกำจัดสะเก็ดแผลที่ไม่ต้องการอีกต่อไป เมื่อเกิดอาการคัน คุณมักเกา และสะเก็ดจะหลุดออก แต่ก็มีข้อบกพร่องในทฤษฎีนี้ เนื่องจากในบางครั้งอาการคันที่สะเก็ดแผล เกิดขึ้นก่อนที่แผลจะสมานเสียอีก ทฤษฎีที่สองเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนัง เมื่อร่างกายเริ่มเยียวยาตนเอง เส้นประสาทจะไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ เมื่อแผลเริ่มหาย สัญญาณต่างๆ อาจส่งผลกระทบ และสมองได้รับสัญญาณผิดประเภท จึงตีความว่าเป็นอาการคัน และทำให้ร่างกายต้องเกาสะเก็ดที่เกิดขึ้น อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ ในขณะที่แผลเริ่มสมาน สะเก็ดแผลจะดึงรั้งผิวหนังใหม่ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ตับของเรา ทำงานอย่างไรและสำคัญขนาดไหน?

ตับ ทำหน้าที่ในการเผาผลาญมากมาย มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัมและเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มาทำความรู้จักกับหน้าที่และความสำคัญของ ตับของเรา ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งของตับ ตำแหน่งของตับอยู่บริเวณด้านขวาบนของช่องท้อง ใต้กระบังลม กินพื้นที่ส่วนใหญ่ใต้ซี่โครงและช่องท้องส่วนซ้ายบน เมื่อมองจากด้านนอก กลีบตับฝั่งขวาที่ใหญ่กว่า จะต่างจากกลีบตับข้างซ้ายที่เล็กกว่า ทั้งสองส่วนแบ่งด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่ยึดตับไว้กับโพรงช่องท้อง ถุงน้ำดีซึ่งเป็นบริเวณที่ผลิตน้ำดี อยู่ในโพรงเล็กๆ ภายในตับ หน้าที่ของตับ ตับทำหน้าที่ที่สำคัญมากมาย เช่น ขจัดสารที่พิษที่เป็นอันตรายในกระแสเลือด รวมถึง สารเสพติดและแอลกอฮอล์ ย่อยไขมันอิ่มตัวและผลิตคอเลสเตอรอล ผลิตโปรตีนเลือดที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว การส่งออกซิเจน และหน้าที่ระบบภูมิคุ้มกัน เก็บน้ำตาล (กลูโคส) ในรูปแบบของไกลโคเจน เก็บสารอาหารส่วนเกิน และส่งสารอาหารบางชนิดเข้าสู่กระแสเลือด ผลิตน้ำดี ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการย่อยอาหาร การทำงานของตับ เนื้อเยื่อของตับเกิดจากเซลล์ตับเล็กจำนวนมากที่เรียกว่า โลบูล (lobules) ท่อเล็กๆ จำนวนมากนำพาเลือดและน้ำดีไหลผ่านในเซลล์ตับ เลือดที่มาจากอวัยวะย่อยอาหารไหลผ่านเส้นเลือดมาสู่ตับ นำสารอาหาร ยา และสารพิษต่างๆ มาสู่ตับ สารเหล่านี้จะผ่านกระบวนการ กักเก็บ ฟอก และส่งกลับไปยังกระแสเลือด หรือไปยังลำไส้ใหญ่ เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกาย ตับจึงสามารถขจัดแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือด และสารตกค้างที่เกิดจากการย่อยของยา ตับทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินเค ในการผลิตโปรตีนที่สำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ย่อยสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่า ตับกับกระบวนการเผาผลาญ ตับทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย โดยในการเผาผลาญไขมันนั้น เซลล์ตับทำหน้าที่ย่อยไขมันและสร้างพลังงาน เซลล์เหล่านี้ยังหลั่งน้ำดีประมาณ 800 ถึง 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน ของเหลวสีเหลืองน้ำตาล หรือเขียวมะกอก […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด คือการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออก นอกจากนี้ การผ่าตัดนำรังไข่ออกก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ แต่มักปล่อยรังไข่ทิ้งไว้ ข้อมูลพื้นฐานผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด คืออะไร การผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (vaginal hysterectomy) คือการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออกไป นอกจากนี้ การผ่าตัดนำรังไข่ออกก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ แต่มักปล่อยรังไข่ทิ้งไว้ สาเหตุทั่วไปสำหรับการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด ได้แก่ มดลูกหย่อน มีประจำเดือนมากเกินไปและมีอาการปวด รวมทั้งการเกิดเนื้องอกในมดลูก ความจำเป็นในการ ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด การผ่าตัดมดลูกช่วยรักษาหรือทำให้อาการดีขึ้น และคุณจะไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด อาการมดลูกหย่อนอาจดีขึ้นโดยการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อาการประจำเดือนมามากผิดปกติสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา หรือการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือการผ่าตัดนำเยื่อบุมดลูกออกไป การเลือกวิธีรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกในมดลูก คุณสามารถใช้ยาเพื่อควบคุมอาการต่างๆ การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การผ่าตัดนำเนื้องอกออกไปเพียงอย่างเดียวหรือการอุดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกและเนื้องอกของมดลูก สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด คุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาการแพ้ต่างๆ หรือภาวะสุขภาพใดๆ โดยก่อนเข้ารับการผ่าตัด และคุณจะต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาในการหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณควรได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามก่อนเข้ารับการผ่าตัด เช่น คุณควรรับประทานในช่วงเวลาก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว คุณควรเริ่มอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด แต่อาจสามารถดื่มของเหลว เช่น กาแฟ ได้จนกระทั่งสองสามชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด ขั้นตอนการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด การผ่าตัดมักทำโดยใช้ยาสลบ การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 45 นาที นรีแพทย์จะลงรอยผ่ารอบปากมดลูกในบริเวณช่องคลอดด้านบนเพื่อให้สามารถนำมดลูกและคอมดลูกออกมาได้ โดยปกติแล้ว แพทย์จะเย็บเอ็นยึดมดลูกไว้ที่ช่องคลอดส่วนบนเพื่อลดความเสี่ยงมดลูกหย่อนตัวในอนาคต ข้อควรปฏิบัติหลังการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด โดยปกติแล้ว คุณจะสามารถกลับบ้านได้ 1-3 วัน หลังการผ่าตัด ให้พักผ่อนเป็นเวลา […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจดูมุมตา (Gonioscopy)

การ ตรวจดูมุมตา (Gonioscopy) เป็นการตรวจเพื่อดูว่าบริเวณที่มีของเหลวไหลออกจากดวงตา  มีการเปิดหรือปิด การตรวจขึ้นอยู่กับอายุและความเสี่ยงในการเป็นต้อหิน ข้อมูลพื้นฐานการตรวจดูมุมตาคืออะไร การตรวจดูมุมตา (Gonioscopy) เป็นการตรวจตาประเภทหนึ่งที่บริเวณดวงตาส่วนหน้า (anterior chamber) ระหว่างกระจกตาและม่านตา เพื่อดูว่า มุมระบายของเหลวของตา (drainage angle) อยู่ในลักษณะปกติหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มุมระบายของเหลวของตานั้นจะค่อนข้างเปิดกว้าง ส่วนใหญ่คือ 45 องศา และไม่ตีบตัน โดยปกติแล้ว การตรวจดูมุมตา มักดำเนินการในระหว่างการตรวจตาปกติ ขึ้นอยู่กับอายุ และความเสี่ยงในการเกิดต้อหิน (glaucoma) หากแพทย์เห็นว่าคุณควรได้รับการตรวจหาต้อหิน ก็จะทำการตรวจดูมุมตาของคุณ ต้อหินเป็นโรคตาประเภทหนึ่งที่อาจทำลายเส้นประสาทดวงตาจนส่งผลให้ตาบอดได้ หากคุณเป็นต้อหิน การตรวจดูมุมตาสามารถช่วยให้จักษุแพทย์มองเห็นว่าคุณเป็นต้อหินประเภทใด ความจำเป็นในการ ตรวจดูมุมตา แพทย์จะทำการตรวจดูมุมตา ในกรณีต่อไปนี้ ตรวจหาต้อหินที่บริเวณดวงตาด้านหน้า ตรวจสอบว่าบริเวณมุมระบายของเหลวของตามีการปิดหรือเกือบปิดหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยว่าคุณเป็นต้อหินประเภทใด นอกจากนี้ การตรวจมุมดวงตายังสามารถตรวจหาพังผืดหรือความเสียหายอื่นๆ ที่มีต่อบริเวณมุมระบายของเหลวของตาได้ด้วย การรักษาต้อหิน – ในระหว่างการตรวจดูมุมตา แพทย์จะฉายเลเซอร์ผ่านเลนส์พิเศษที่มุมระบายของเหลวของตา การรักษาด้วยเลเซอร์สามารถลดความดันลูกตาและช่วยควบคุมต้อหินได้ ตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิด (birth defects) ที่อาจทำให้เกิดต้อหิน ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อน ตรวจดูมุมตา คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจอื่นๆ เพื่อตรวจหาต้อหิน หรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตา การตรวจตาเพิ่มเติม เช่น การตรวจตาด้วย slit lamp ซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่ช่วยให้แพทย์ส่องเห็นทั้งภายในและภายนอกดวงตาได้แบบ 3 มิติ การตรวจวัดความดันลูกตา (tonometry) การตรวจจอประสาทด้วยเครื่องส่องดูตา […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจไข้เลือดออก (Dengue Fever Testing)

ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจไข้เลือดออกคืออะไร ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคประเภทหนึ่งที่เกิดจากยุงในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ไข้เลือดออกที่มีอาการไม่รุนแรง ทำให้มีไข้สูง มีผื่นขึ้น ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ไข้เลือดออกรุนแรง (Dengue Hemorrhagic Fever) สามารถทำให้เลือดออกมาก ความดันโลหิตลดลงกะทันหัน (shock) และเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยไข้เลือดออกเป็นเรื่องยาก เนื่องจากสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ สามารถสับสนกับโรคอื่นๆ ได้ เช่น มาลาเรีย ไข้ฉี่หนู (leptospirosis) ไข้ไทฟอยด์ (typhoid fever) การตรวจไข้เลือดออก ใช้เพื่อวินิจฉัยว่า คนที่มีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ และอาจได้รับเชื้อเมื่อไม่นานมานี้ มีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก (dengue virus) หรือไม่ ความจำเป็นในการตรวจไข้เลือดออก อาจให้มีการตรวจเมื่อมีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ ที่สัมพันธ์กับไข้เลือดออกที่เกิดขึ้น โดยสัญญาณเตือนและอาการสำคัญบางประการ ได้แก่ มีไข้สูงกะทันหัน (40°C) มีอาการปวดศีรษะหรือปวดหลังดวงตากะทันหัน มีอาการปวดที่ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และ/หรือกระดูก มีเลือดออกที่เหงือกและจมูก มีแผลฟกช้ำง่าย มีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ ภายในหนึ่งสัปดาห์ที่มีอาการต่างๆ จะต้องดำเนินการตรวจในระดับโมเลกุล (Molecular testing)  เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเฉียบพลัน และอาจมีการตรวจแอนติบอดีหลังจากอาการหายไปมากกว่า 4 วัน หากมีการตรวจแอนติบอดี อาจมีการเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติม […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก (Umbilical Hernia Repair For Children)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก คืออะไร ไส้เลื่อนที่สะดือ (umbilical hernia) หรือที่มักเรียกกันว่าสะดือจุ่น เกิดจากการหย่อนตัวในกล้ามเนื้อผนังช่องท้องบริเวณด้านหลังสะดือ ตามปกติ ไส้เลื่อนมักจะปิดตัวก่อนคลอด แต่ทารกประมาณ 1 ใน 5 รายที่คลอดเมื่อครบอายุครรภ์ (หลังจาก 37 สัปดาห์) ยังคงเป็นไส้เลื่อนที่สะดือ และทารกทุกรายที่มีภาวะนี้ เป็นไส้เลื่อนที่สะดือเมื่อเติบโตอยู่ในมดลูก  หากลูกของคุณเป็นไส้เลื่อน อาจสังเกตเห็นได้จากอาการบวมบริเวณสะดือ โดยเฉพาะเมื่อลูกของคุณร้องไห้หรือเกิดแรงตึง ไส้เลื่อนที่สะดืออาจเป็นอันตราย เนื่องจากลำไส้หรืออวัยวะอื่นๆ ภายในช่องท้องถูกกักไว้ และไม่มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้ว ไส้เลื่อนที่สะดือมักไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในวัยเด็ก แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก ทารกที่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา เนื่องจากไส้เลื่อนที่สะดือจะหดและปิดได้เองเมื่ออายุ 3-4 ปี การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดืออาจจำเป็น หากเด็กมีภาวะดังต่อไปนี้ ไส้เลื่อนที่สะดือสร้างความเจ็บปวดและปูดออกมา ส่งผลกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงบริเวณลำไส้ อายุ 3-4 ปีแล้วแต่ไส้เลื่อนยังไม่ปิดเอง ไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่มากจนพ่อแม่ต้องการให้ผ่าตัด แต่ในกรณีนี้ แพทย์จะแนะนำให้รอจนกว่าเด็กจะอายุ 3-4 ปีก่อน เพื่อดูว่าไส้เลื่อนที่สะดือจะปิดเองหรือไม่ การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงใดๆ ที่สามารถเกิดจากไส้เลื่อนได้เมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก ไส้เลื่อนที่สะดือมักปิดตัวเองก่อนทารกมีอายุครบ 1 ปี แต่หากเด็กอายุ 3-4 ปีแล้วไส้เลื่อนยังไม่ปิด อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อปิดไส้เลื่อน โดยไส้เลื่อนสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้ การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็กนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงบางประการ เช่น ความเสี่ยงจากการให้ยาระงับประสาท และการผ่าตัดทั่วไป เช่น ปฏิกิริยาต่อตัวยา […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy)

การ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก แต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด คืออะไร การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบทั้งหมด (subtotal thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์ยังคงทำงานต่อไปได้ ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) อยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนที่เรียกว่าไทรอกซิน (thyroxine) ซึ่งควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ในบางครั้ง ต่อมไทรอยด์มีการทำงานมากเกินไป เรียกว่า ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) ซึ่งก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น น้ำหนักลด เหงื่อออก มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ความจำเป็นในการ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์สามารถทำงานต่อไปได้อยู่ โดยปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์จะลดลงสู่ระดับปกติหรือระดับต่ำกว่าเดิม และอาการต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็จะหายไป ความเสี่ยงความเสี่ยงของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เช่นเดียวกันกับการผ่าตัดใหญ่อื่นๆ ความเสี่ยงในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมดส่วนใหญ่นั้น จะอยู่ที่ผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาและยาสลบ ส่วนความเสี่ยงอื่นๆ ก็มาจากการตกเลือด และการติดเชื้อในบริเวณแผลผ่าตัด ความเสี่ยงเฉพาะที่เกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมดนั้นอาจมีดังต่อไปนี้ เส้นประสาท recurrent laryngeal nerves เสียหาย (เส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับเส้นเสียง) ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid) เสียหาย (ต่อมที่ควบคุมระดับของแคลเซียมในร่างกาย) ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ และโดยส่วนใหญ่จะสามารถรักษาหายได้ภายในเวลา 1 ปี ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เนื่องจากก่อนการผ่าตัดนั้นจะต้องมีการให้ยาสลบหรือยาชา ผู้ป่วยจึงควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 1 คืนก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนมาใส่ชุดสำหรับผู้ป่วยที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ พยาบาลจะทำการเสียบสาย IV สำหรับให้น้ำเกลือและยาเข้ากับข้อมือของผู้ป่วย ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะเข้ามาตรวจร่างกายคร่าวๆ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

ปลูกถ่ายไต เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายไตที่มีสุขภาพดีจากบุคคลหนึ่ง (ผู้บริจาค) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับบริจาค) โดยผู้รับบริจาคมักเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ข้อมูลพื้นฐานปลูกถ่ายไต คืออะไร การปลูกถ่ายไต (kidney transplant) เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายไตที่มีสุขภาพดีจากบุคคลหนึ่ง (ผู้บริจาค) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับบริจาค) ผู้รับบริจาคมักเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง (chronic kidney failure) หน้าที่ของไต คือ กำจัดของเสียออกจากเลือด เมื่อไตทำงานไม่ปกติ ของเสียในร่างกายเริ่มสะสมตัวในเลือด ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในร่างกาย มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวานประเภท 1 หรือประเภท 2 ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) ซึ่งเป็นอาการอักเสบที่หน่วยกรองของไต (glomeruli) ไตอักเสบประเภท Interstitial nephritis ซึ่งเป็นอาการอักเสบของหลอดไตฝอยและอวัยวะโดยรอบ ถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ทางเดินปัสสาวะอุดกั้นเป็นเวลานานจากภาวะต่างๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต และมะเร็งบางชนิด ปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับไปยังไต ไตติดเชื้อซ้ำ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) ในหลายกรณี การปลูกถ่ายไตสามารถช่วยให้ผู้รับบริจาคมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น ความจำเป็นของการ ปลูกถ่ายไต แพทย์จะประเมินอาการในปัจจุบันของคุณ คุณอาจได้รับการปลูกถ่ายไตด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้  คุณมีสุขภาพดีพอสำหรับการผ่าตัด ข้อดีของการปลูกถ่ายไตมีมากกว่าความเสี่ยง คุณได้ลองเข้ารับการรักษาทางเลือกแล้วไม่ได้ผล คุณรับทราบความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อน คุณรับทราบว่าคุณจะใช้ยากดภูมิคุ้มกัน และเข้ารับการนัดหมายติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการปลูกถ่ายไต มีเหตุผลหลายประการที่การปลูกถ่ายไตไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาการติดเชื้อที่กำลังเป็นอยู่ (จำเป็นต้องรักษาก่อน) โรคหัวใจ ไตวาย มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย โรคเอดส์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน