5 ข้อต้องรู้ ดูแลความจำของผู้สูงอายุ
เคยสังเกตหรือไม่? ว่าคนสูงวัยในบ้านเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมกุญแจบ้าน จำชื่อเพื่อนไม่ได้ ลืมว่าจะเดินไปหยิบอะไร หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาก็สามารถลืมได้ง่ายขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของความจำก็เริ่มลดลง และยิ่งสังเกตได้ชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี เพราะสมองบางส่วนเริ่มหดตัว การจดจำจะลดลงตามไปด้วย หากไม่เพิ่มการดูแลร่างกายและใส่ใจรายละเอียดการช่วยฟื้นฟูให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน จะยิ่งมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมได้มากขึ้น เราในฐานะลูกหลานจึงควรหมั่นสังเกตสิ่งที่เปลี่ยนไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น 5 วิธีดูแลความจำของผู้สูงอายุ ที่เราควรรู้ เพื่อรับมือดูแลการรับรู้และความจำของคุณพ่อคุณแม่สูงวัยได้อย่างเหมาะสม คือ 1. พฤติกรรมอะไรบ้าง ที่เป็นสัญญาณว่าเสี่ยงเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาด้านการสื่อสาร การใช้คำ การเรียบเรียงประโยคที่ผิดไปจากเดิม จดจำข้อมูลไม่ค่อยได้ ลืมเหตุการณ์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นก็ตาม เรื่องที่เคยทำได้ก็จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เช่น การคำนวณตัวเลข หรือ การทำอาหารที่กะสัดส่วนไม่ค่อยถูก มีปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป อารมณ์ไม่เหมือนเดิม ฉุนเฉียวง่าย บางครั้งอาจเกิดภาพหลอน 2. สาเหตุของการเกิดโรค สาเหตุหลัก […]