backup og meta

จู่ ๆ ก็ หูดับเฉียบพลัน แบบกะทันหัน ภาวะอันตรายที่คุณควรระวัง

จู่ ๆ ก็ หูดับเฉียบพลัน แบบกะทันหัน ภาวะอันตรายที่คุณควรระวัง

อาการหูดับโดยทั่วไป ใช้ระยะเวลาเพียงไม่เท่าไหร่ก็กลับมาเป็นปกติได้ แต่อาการ หูดับเฉียบพลัน ร้ายแรงกว่าหูดับแบบธรรมดา เพราะคุณอาจหูดับไปตลอด และไม่ได้ยินเสียงอีกเลย Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่าน ไปรับทราบข้อมูลน่ารู้เรื่องนี้กันค่ะ

หูดับเฉียบพลัน เป็นอย่างไร

หากจะพูดถึงอาการหูดับ อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ และสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น ฟังเพลงโดยเปิดเสียงดังมากจนเกินไป หรือไปในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมากกว่าปกติ สถานการณ์เหล่านี้ เป็นเหตุให้มีอาการหูดับขึ้นมาได้ แต่ถ้าอยู่ ๆ เกิดหูดับขึ้นมากะทันหันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ไม่ว่าจะดับเพียงข้างเดียว หรือสองข้างก็ตาม (แต่โดยมากจะเกิดแค่เพียงข้างเดียว) คุณควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะนั่นเป็นสัญญาณอันตรายที่ไม่ควรละเลย

สาเหตุที่เกิดอาการหูดับชนิดเฉียบพลัน

อาการหูดับไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดเมื่อปีหรือสองปีที่ผ่านมา แต่ทว่า…จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของอาการหูดับแบบเฉียบพลันได้ว่าเกิดจากอะไร แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการ หูดับเฉียบพลัน

สัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าคุณกำลังจะมีอาการหูดับเฉียบหลันนั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีสัญญาณใด ๆ ทางสุขภาพที่แสดงออกมาให้รับรู้ได้ มีเพียงความผิดปกติทางการได้ยินเท่านั้น ที่ทำให้คุณสามารถที่จะเดาออกว่า คุณกำลังอยู่ในสภาวะหูดับแบบเฉียบพลัน โดยอาจมีการหูดับทันทีในครั้งเดียว หรือค่อย ๆ ดับลงในระยะเวลา 2-3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง หรืออาจน้อยกว่านั้น

ผู้ที่มีอาการหูดับแค่ข้างเดียว จะยังคงได้ยินเสียงอยู่บ้าง แต่แผ่วและเบา เสียงพูดปกติ จะได้ยินเหมือนเสียงกระซิบเท่านั้น หรือมีบางกรณีที่ผู้ป่วยด้วยอาการ หูดับแบบเฉียบพลัน พยายามสื่อสารกับคนรู้จักผ่านโทรศัพท์โดยใช้หูข้างที่มีอาการ พบว่าจะได้ยินเสียงดัง ป็อป (Pop) ก่อนที่หูจะดับไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

อาการเช่นนี้ ไม่ใช่อาการโดยทั่วไปที่รอเพียงหนึ่งหรือสองวันแล้วจะหายเป็นปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีที่รู้ตัวว่าคุณมีอาการหูดับและอาการนั้นไม่ดีขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที ถ้าหากปล่อยไว้ โอกาสที่จะกลับมาได้ยินเป็นปกติอาจจะมีน้อย ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากับคุณหมอทันที มีโอกาสสูงที่จะกลับมาได้ยินเป็นปกติ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sudden Sensorineural Hearing Loss (SSHL). https://www.healthline.com/health/sensorineural-deafness. Accessed on January 20, 2020.

Sudden sensorineural hearing loss. https://www.hearinglink.org/your-hearing/sudden-sensorineural-hearing-loss/. Accessed on January 20, 2020.

Sudden hearing loss. https://www.earpros.com/hearing-loss/types/sudden. Accessed on January 20, 2020.

Sudden Deafness. https://www.nidcd.nih.gov/health/sudden-deafness. Accessed on January 20, 2020.

Sudden Hearing Loss: What You Need to Know. https://www.webmd.com/healthy-aging/sudden-hearing-loss#1. Accessed on January 20, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความสะอาดหู วิธีที่ดีที่สุดคืออะไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

ผู้สูงอายุเสียการทรงตัวเพราะ โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา