backup og meta

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)

คำจำกัดความอาการสาเหตุการวินิจฉัยและการรักษาการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

คำจำกัดความ

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints) คืออะไร

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เจ็บหน้าแข้ง (Shin Splints)  คือ อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง

อย่างไรก็ตามอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉันและทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายบ่อยๆ ที่ต้องใช้แรงค่อนข้างมาก เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาเทนนิส กีฬาบาสเกตบอล

อาการ

อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปวดบริเวณหน้าแข้ง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกปวดที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกหน้าแข้ง
  • ปวดตามส่วนด้านในของกระดูกหน้าแข้ง
  • อาการบวมบริเวณหน้าแข้ง (ระดับไม่รุนแรง)
  • รู้สึกชาและอ่อนแรง

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ เป็นผลมาจากการที่กระดูกบริเวณหน้าแข้งและเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกหน้าแข้งถูกใช้งานบริเวณนั้นซ้ำ ๆ มากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการบวม การอักเสบ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจทำให้กระดูกบริเวณนั้นหักได้

ปัจจัยเสี่ยงของ อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

  • ปัจจัยดังต่อไปนี้มีผลทำให้ผู้ป่วยมี อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมต่อการออกกำลังกาย (รองเท้าแบนหรือมีส่วนโค้งสูง)
  • ความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น โรคเท้าแบน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ต้นขา หรือก้น
  • วิ่งลงเนิน
  • อยู่ระหว่างการฝึกทหาร
  • วิ่งบนพื้นที่ไม่เรียบ เช่น เนินเขา หรือพื้นแข็ง ๆ เช่น คอนกรีต
  • เล่นกีฬาที่มีการหยุดและเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาสกี

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมถึงทดสอบทางกายภาพ แพทย์อาจสั่งการตรวจวินิจฉันเพิ่มเติม เช่น การสแกนภาพและการเอกซเรย์

การรักษา อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

โดยปกติหากคุณมีอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบให้หยุดพักกิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลต่ออาการเจ็บปวดของคุณ เพื่อให้ความเจ็บปวดบรรเทาลง หากยังรู้สึกปวดอยู่ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้

การรักษาเบื้องต้น

  • ยกขาของคุณให้สูงขึ้น ประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม
  • ทานยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน(Ibuprofen) หรือ นาพรอกเซน (Naproxen)
  • สวมผ้าพันแผลแบบยืดหยุ่น

 การรักษาด้วยการผ่าตัด

โดยส่วนมากแพทย์จะทำการผ่าตัดเฉพาะในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และมีอาการเจ็บปวดนานหลายเดือน การผ่าตัดนี้เรียกว่า การผ่าตัดเปิดเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (Fasciotomy) โดยแพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อพังผืดรอบๆ กล้ามเนื้อน่องของคุณเล็กน้อย จะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้

 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกรองเท้าที่เหมาะสม หากคุณออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย 
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวกิจกรรมที่รุนแรง การออกกำลังกายมากจนเกินไป หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่ออาการปวดสูง อาจทำให้หน้าแข็งปวดมากขึ้นกว่าเดิม
  • เลือกพื้นรองเท้าที่ดูดซับแรงกระแทก การเลือกพื้นรองเท้าที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันความเจ็บปวดของกระดูกหน้าแข้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Are Shin Splints?. https://www.webmd.com/fitness-exercise/shin-splints#1. Accessed  10 August 2020

Shin splints. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/shin-splints/symptoms-causes/syc-20354105. Accessed  10 August 2020

Shin Splints. https://www.healthline.com/health/shin-splints. Accessed  10 August 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ที่พบบ่อย พร้อมวิธีการรับมือ

จัดการกับอาการ ปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ให้ได้ผล


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไข 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา