backup og meta

ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะนั่งนาน นั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง

ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะนั่งนาน นั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง

คุณมีอาการ ปวดหลัง แบบนี้หรือเปล่า

  • นั่งทำงานนานๆ แล้วปวดหลัง
  • นั่งนานๆ แล้วเมื่อยบ่า เมื่อยคอ
  • ลองนั่งหลังตรงแล้ว แต่ทำได้ไม่นานก็กลับมานั่งเหมือนเดิม และไม่ช่วยให้หายปวดหลังเลย
  • ปวดหลังบริเวณเอว

อาการปวดหลังแบบนี้ สาเหตุอาจเกิดจากการนั่งผิดท่า ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

ผลเสียจากการนั่งผิดท่า

การนั่งผิดท่า นั่งนาน ทำให้เสี่ยงหลายโรค เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็ง เนื่องจากมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้สำรวจพฤติกรรมของคน 8,000 คน งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ที่ใช้เวลาไปกับการนั่ง เฉลี่ย 12.3 ชั่วโมงต่อวันนั้น ในเวลา 4 ปีต่อมา มีคน 340 คนเสียชีวิตจากปัญหาสุขภาพต่างๆ และคนส่วนใหญ่ที่นั่งนานก็เสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพ

นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า คนที่นั่งติดต่อกันน้อยกว่า 30 นาที จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรน้อยที่สุด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การนั่งนานๆ จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ และเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากเรานั่งผิดท่านานๆ ทำให้กระทบต่อระบบอวัยวะภายในร่างกาย จึงควรที่จะลุกขึ้นมายืน หรือยืดเส้นยืดสายเบาๆ เพื่อไม่ให้การนั่งทำลายสุขภาพของเรามากเกินไป

สาเหตุที่ทำให้ ปวดหลัง

อวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังคือ กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณตั้งแต่คอจนถึงเอว ซึ่งกล้ามเนื้อจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือกล้ามเนื้อช่วงคอ กล้ามเนื้อช่วงกลางหลัง และกล้ามเนื้อช่วงเอว การนั่งผิดท่าส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อทั้งสามส่วน ยกตัวอย่างท่านั่งเวลาทำงาน ที่ทำให้หลายคนปวดหลัง เช่น

  • นั่งหลังค่อม พิมพ์งาน ทำให้กล้ามเนื้อคอรับน้ำหนักของศีรษะ และกล้ามเนื้อช่วงกลางหลังรับน้ำหนักตัวเป็นเวลานาน เลยทำให้นั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ จนเกิดอาการปวดหลัง
  • นั่งกึ่งนอนพิมพ์งาน อย่างสบายๆ ท่านั่งกึ่งนอนมีลักษณะคือตัวเรานั่งอยู่ตรงขอบเก้าอี้ แต่หัวพิงพนัก ท่านี้จะทำให้รู้สึกสบาย แต่จะทำให้กล้ามเนื้อคอรับน้ำหนักของศีรษะเป็นเวลานาน และกล้ามเนื้อช่วงเอวรับแรงกดเยอะ จะทำให้รู้สึกเมื่อยหรือปวดหลังได้

วิธีแก้อาการปวดหลัง จากการนั่งทำงาน

  • นั่งหลังตรงอย่างถูกวิธี นั่งหลังตรงแบบถูกวิธีคือ ใบหู หัวไหล่ และก้นตรงเป็นแนวเดียวกัน นั่งแล้วไหล่ไม่ห่อ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไม่ต้องรับแรงกดทับนานเกินไป
  • นั่งพิงพนัก สามารถนั่งพิงพนักเก้าอี้แบบหลังตรงได้ คืออยู่ในท่าที่ไหล่ไม่ห่อ และไม่ก้มหัว ถ้าเราต้องก้มหัวเวลาทำงานก็อาจทำให้กล้ามเนื้อคอรับน้ำหนักของศีรษะเป็นเวลานาน ทำให้ปวดคอ การนั่งพิงพนักโดยที่ศีรษะตั้งตรงก็จะช่วยลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้
  • ใช้เบาะรองนั่ง การใช้เบาะรองนั่ง หรือมีหมอนมาสอดไว้หลังเอว โดยเป็นเบาะหรือหมอนที่ช่วยรับน้ำหนักบริเวณเอวได้ ก็จะช่วยทำให้ลดแรงกดกล้ามเนื้อบริเวณเอว ช่วยทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
  • เก้าอี้และโต๊ะทำงานก็มีผล เก้าอี้ที่สูงเกินไปจนต้องก้มหน้า และนั่งห่อไหล่เพื่อพิมพ์งาน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและกลางหลังรับน้ำหนักมาก ดังนั้นอาจลองเปลี่ยนเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต้องก้มมองหน้าจอ ส่วนคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับที่ไม่ต้องยกแขนพิมพ์ หรืออยู่ไกลจนต้องเอื้อมไปพิมพ์

Hello Heath Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Back Pain After Sitting? Symptoms of Low Back Pain. https://www.webmd.com/back-pain/understanding-back-pain-symptoms. Accessed on July 13, 2018.

Prevent back pain with good posture. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/multimedia/back-pain/sls-20076817. Accessed on July 13, 2018.

Effect of an exercise program for posture correction on musculoskeletal pain. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4499985/. Accessed on July 13, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/06/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ จัดการอย่างไรเพื่อเติมความสุขให้ชีวิตคู่

7 สาเหตุของ อาการปวดหลังในผู้หญิง ที่อาจไม่ได้เกิดจากแค่ที่หลัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา