3. ใช้จานใบเล็ก
อาจจะฟังดูแปลก แต่ขนาดของจานและช้อนส้อม ส่งผลต่อปริมาณในการกินอาหารแต่ละครั้ง เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า คนเรามักจะเติมอาหารให้เต็มจาน ประมาณ 70% โดยไม่คำนึงถึงขนาดของจาน นั่นหมายความว่าหากใช้จานขนาด 10 นิ้ว ก็จะได้รับอาหารมากขึ้น เมื่อเทียบกับจานขนาด 8 นิ้ว โดยอาจได้รับอาหารมากขึ้นถึง 52 เปอร์เซ็นต์ และหากอาหารเป็นจำพวกบะหมี่ คนส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มที่จะรับประทานมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างจะกินไอศครีมมากขึ้นเมื่อใช้ช้อนที่ใหญ่กว่า และกินอาหารน้อยลงเมื่อใช้ส้อมขนาดเล็ก ดังนั้น ผู้ที่ต้องการควบคุมอาหารอาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนจานและช้อนส้อมให้เล็กลง
4. เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพก่อนเสมอ
สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นควบคุมอาหาร อาจไม่ชินกับการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีเทคนิคมาแนะนำคือ ทุกครั้งที่กินอาหาร อาจต้องเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพก่อนเสมอและจึงค่อยกินส่วนที่เหลือ เช่น ใน 1 มื้อให้เลือกกินผักก่อน และตามด้วยโปรตีนไร้ไขมัน จากนั้นจึงค่อยกินแป้ง หรือของทอด
5. ไม่ควรดูรายการอาหาร
สำหรับคนที่กำลังพยายามลดน้ำหนัก การดูรายการอาหาร หรือคลิปทำอาหาร อาจทำให้อยากกินของว่างมากขึ้นนอกจากนั้นมีงานวิจัยที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างกินลูกอมมากขึ้น ขณะดูรายการที่เกี่ยวกับอาหาร เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ดูรายการที่ไม่เกี่ยวกับอาหาร
6. สั่งอาหารขนาดเล็กเสมอ
เวลาสั่งอาหารพนักงานอาจถามว่า ต้องการเพิ่มไซส์หรือไม่ ซึ่งควรตอบปฏิเสธ เพราะมีงานวิจัยที่ชี้ว่า การซื้ออาหารขนาดใหญ่ ทำให้กินมากขึ้น แม้ว่าจะอิ่มแล้ว หรือแม้ว่าอาหารจะรสชาติไม่อร่อยก็ตาม
โดยงานวิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างกินป๊อปคอร์น ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีทั้งแบบที่อร่อยและสดใหม่ กับป๊อปคอร์นแบบที่ไม่อร่อย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้ป๊อปคอร์นถังใหญ่ ที่มีรสชาติอร่อยและสดใหม่ จะกินมากกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับป๊อบคอร์นขนาดกลาง นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับป๊อปคอร์นถังใหญ่ ที่มีรสชาติไม่อร่อย ก็กินป็อบคอร์นมากกว่า 33 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับป๊อบคอร์นขนาดกลาง ดังนั้น หากเลือกขนาดของเมนูอาหารได้ ผู้ที่ต้องการควบคุมอาหารควรสั่งอาหารขนาดเล็กเสมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย