กินสับปะรด มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เพราะสับปะรดนับเป็นผลไม้แคลอรี่ต่ำและอุดมไปด้วยสารอาหาร โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองว่าสับประรดนั้นดีต่อร่างกาย และสามารถเลือกบริโภคได้ในหลายรูปแบบ ทั้งแบบสด แบบกระป๋อง หรือน้ำสับปะรด
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
กินสับปะรด มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เพราะสับปะรดนับเป็นผลไม้แคลอรี่ต่ำและอุดมไปด้วยสารอาหาร โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองว่าสับประรดนั้นดีต่อร่างกาย และสามารถเลือกบริโภคได้ในหลายรูปแบบ ทั้งแบบสด แบบกระป๋อง หรือน้ำสับปะรด
สับปะรดสดที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 1 ถ้วย หรือประมาณ 165 กรัม ให้พลังงาน 82.5 แคลอรี่ โดยมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
อย่างไรก็ตาม สับปะรดแบบกระป๋องจะแตกต่างจากสับปะรดสด โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Agriculture หรือ USDA) ได้ให้ข้อมูลว่า สับปะรดกระป๋อง ที่เป็นสับปะรดในน้ำเชื่อมจะให้พลังงาน 131 แคลอรี่ต่อ 1 ถ้วย และมีน้ำตาล 31.88 กรัม นอกจากนี้ ยังมีวิตามินและเกลือแร่น้อย ดังนั้นหากต้องการบริโภคสับปะรดกระป๋องให้ระวังปริมาณน้ำตาล และเลือกสับปะรดกระป๋องแบบที่เป็นเนื้อสับปะรดในน้ำผลไม้ แทนแบบแช่ในน้ำเชื่อม
สับปะรดไม่เพียงแต่อุดมไปด้วยสารอาหาร แต่ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด
สารต้านอนุมูลอิสระ คือ โมเลกุลที่จะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress) ซึ่งเป็นภาวะที่มีอนุมูลอิสระมากเกินไปในร่างกาย และอนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับเซลล์ ส่งผลให้เกิดความเสียหายที่อาจนำไปสู่ การอักเสบเรื้อรัง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และโรคที่เป็นอันตรายอีกหลายโรค
ในสับปะรดอุดมอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และกรดฟีนอลิก (Phenolic Acids) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ดังนั้นการกินสับปะรดจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
สับปะรดมีกลุ่มของเอนไซม์ย่อยอาหารที่มีชื่อว่า “โบรมิเลน” ซึ่งทำหน้าที่เป็นโปรตีเอส (Proteases) หรือเอนไซม์ย่อยโมเลกุลโปรตีน เช่น กรดอะมิโนและเปปไทด์ขนาดเล็ก โดยเมื่อโปรตีนได้รับการย่อยแล้ว จะทำให้ง่ายต่อการดูดซึมในลำไส้เล็ก
โบรมิเลนในสับปะรด มีประโยชน์โดยเฉพาะกับผู้ที่ตับอ่อนทำงานบกพร่อง ซึ่งเป็นภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากมีงานวิจัยที่เปรียบเทียบกลุ่มผู้ที่เกิดภาวะตับอ่อนทำงานบกพร่อง โดยให้กลุ่มตัวอย่างกินอาหารเสริมเอนไซม์ย่อยอาหารที่มีโบรมิเลน ผลการวิจัยพบว่า การย่อยอาหารดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่กินอาหารเสริมเอนไซม์ย่อยอาหารชนิดเดียวกันแต่ไม่มีโบมิเลน
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่นิยมนำสับปะรดไปหมักเนื้อ เพื่อให้เนื้อมีความนุ่มก่อนนำมาปรุงอาหาร เนื่องจากโบมิเลนในสับปะรดสามารถย่อยโปรตีนในเนื้อได้ทำให้เนื้อนุ่มขึ้น
มะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress) และการอักเสบเรื้อรัง
งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า สับปะรดและสารประกอบในสับปะรดอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ และช่วยลดการอักเสบ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองที่พบว่า โบมิเลนอาจช่วยต่อสู้กับมะเร็ง รวมทั้งโบมิเลนอาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
สับปะรดอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย รวมถึงเอนไซม์อย่างโบมิเลนที่อาจช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและลดการอักเสบ
งานวิจัยที่กลุ่มตัวอย่างคือเด็ก ๆ ที่ร่างกายแข็งแรงจำนวน 98 คน โดยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มที่ไม่กินสับปะรดเลย กลุ่มที่กินสับปะรดบ้าง (140 กรัม) และกลุ่มที่กินสับปะรดปริมาณมาก (280 กรัม) ต่อวัน ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่กินสับปะรดมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในทำนองเดียวกัน กลุ่มเด็ก ๆ ที่กินสับปะรดมากที่สุดมีเซลล์เม็ดเลือดขาวแกรนูโลไซต์ (Granulocytes) ที่ทำหน้าที่ในการต่อสู้กับโรค มากกว่าเกือบ 4 เท่าเมื่อเทียบกับเด็ก ๆ อีก 2 กลุ่ม
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่าเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อไซนัสฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อกินอาหารเสริมโบรมิเลนและยังมีงานวิจัยที่พบว่า โบมิเลนอาจช่วยลดการอักเสบ ดังนั้น สับปะรดจึงอาจมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
คุณสมบัติในการต้านการอักเสบของสับปะรดอาจช่วยบรรเทาอาการในระยะสั้นสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคข้ออักเสบ เนื่องจากมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาประสิทธิภาพของโบมิเลนในการรักษาโรคข้ออักเสบ โดยมีงานวิจัยหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมกินอาหารเสริมเอนไซม์ย่อยอาหารที่มีโบรมิเลน ผลการวิจัยพบว่า ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และมีประสิทธิภาพพอ ๆ กับยารักษาโรคข้ออักเสบอย่างไดโครฟีแนก (diclofenac) เพิ่มเติมไปกว่านั้นมีการศึกษาวิเคราะห์ความสามารถของโบรมิเลนในการบรรเทาอาการโรคข้อเสื่อม ผลการศึกษาพบว่าโบรมิเลนมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ โดยเฉพาะในช่วงระยะสั้น แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรักษาอาการของโรคข้ออักเสบด้วยโบรมิเลนในระยะยาว
โบรมิเลนในสับปะรดอาจช่วยลดการอักเสบ อาการบวมช้ำ และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นหลังจากผ่าตัด เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่กินโบรมิเลนก่อนการผ่าตัดทางทันตกรรม มีอาการเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญและรู้สึกมีความสุขมากกว่าผู้ที่ไม่ได้กินโบรมิเลน
นอกจากนี้คุณสมบัติในการต้านการอักเสบของโบรมิเลน ยังอาจช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก ด้วยการลดการอักเสบ เนื่อจากมีงานวิจัยที่ทดสอบโดยให้ผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยกินอาหารเสริมเอนไซม์ย่อยอาหารที่มีโบรมิเลน หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักบนลู่วิ่ง 45 นาที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่กินอาหารเสริมมีอาการอักเสบน้อยกว่า และรักษาความแข็งแรงได้มากกว่าในเวลาต่อมา เพิ่มเติมไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ชี้ว่า โบรมิเลนอาจช่วยเร่งการฟื้นฟูร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากการออกกำลังกาย
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Everything you need to know about pineapple. https://www.medicalnewstoday.com/articles/276903.php. Accessed December 8, 2021.
Pineapple: Health Benefits, Risks & Nutrition Facts. https://www.livescience.com/45487-pineapple-nutrition.html. Accessed December 8, 2021.
Health Benefits of Pineapple. https://www.webmd.com/food-recipes/benefits-pineapple. Accessed December 8, 2021.
8 Scientific Health Benefits of Pineapple. https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/8-reasons-eat-pineapple/. Accessed December 8, 2021.
The Many Health Benefits of Pineapple. https://health.clevelandclinic.org/benefits-of-pineapple/. Accessed December 8, 2021.
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย