backup og meta

ชามะระขี้นก เครื่องดื่มสมุนไพร ที่อาจช่วยต่อสู้กับ โรคเบาหวาน

ชามะระขี้นก เครื่องดื่มสมุนไพร ที่อาจช่วยต่อสู้กับ โรคเบาหวาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชผักในตระกูลของมะระ มักมีรสชาติที่ค่อนข้างขมเป็นอย่างมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าพอได้ผ่านกระบวนการสกัดให้เป็นเครื่องดื่มแล้ว ชามะระขี้นก นี้อาจไม่ได้มีรสชาติขม ฝืดคออย่างที่คุณคิด อีกทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงให้คุณพ้นจาก โรคเบาหวาน ได้ดีอีกด้วย แต่จะมีวิธีการทำ และประโยชน์เพิ่มเติมอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ที่นำมาฝากกันได้เลยค่ะ

ทำความรู้จักกับ มะระขี้นก 

มะระขี้นก (Bitter Melon) เป็นหนึ่งในผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกับมะระสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบันมักพบเห็น และหาซื้อนำมารับประทานได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป อีกทั้งมะระขี้นกยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม ไฟเบอร์ โฟเลต เป็นต้น ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก และอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคเบาหวาน ได้อีกด้วย

มะระขี้นกกับสรรพคุณป้องกัน โรคเบาหวาน

เนื่องจากสาเหตุสำคัญที่อาจก่อให้เกิด โรคเบาหวาน ได้นั้น มักมาจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น จึงทำให้ได้มีการทดสอบ และการศึกษาหลายแห่งเริ่มทำวิจัยถึงสรรพคุณของสารในมะระขี้นกนี้ โดยให้ผู้ป่วยจำนวน 24 คนที่ประสบกับ โรคเบาหวาน รับประทานมะระขี้นกในปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน

ผลการทดสอบจากการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C; HbA1C) ที่ใช้สำหรับวัดค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดนั้น พบว่า มะระขี้นกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงในช่วงเวลา 3 เดือน ที่ผู้ป่วยทำการรับประทานได้เป็นอย่างดี เพราะมะระขี้นกมีส่วนช่วยเข้าไปส่งเสริมการหลั่งอินซูลิน และเพิ่มการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน เพื่อที่จะเข้าไปกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้

นี่จึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณอาจนำไปประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ก่อนที่จะด่วนตัดสินใจเพียงแค่รสชาติขมภายนอกของมะระขี้นก ในการป้องกันโรคเบาหวานหรือบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน

เพราะถ้า..หากเราห่างไกลจาก โรคเบาหวาน มากเท่าไหร่ ก็อาจทำให้คุณนั้นมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับครอบครัว และคนรอบข้าง ได้อย่างไร้กังวล และเป็นการเพิ่มความสุขได้อย่างมากอีกด้วยค่ะ

ชามะระขี้นก-ป้องกัน-โรคเบาหวาน

วิธีการทำ ชามะระขี้นก แบบง่าย ๆ

คุณสามารถทำชามะระขี้นกด้วยตนเองไว้รับประทานทุกเมื่อตามที่คุณต้องการได้ ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

วัตถุดิบ

ขั้นตอนการทำ

  1. นำมะระขี้นกสด ๆ มาหั่นบาง ๆ และนำไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
  2. นำมะระขี้นกที่ทำการหั่น และล้างสะอาดแล้ว ไปอบ หรือตากแดด ให้มีความแห้งมากที่สุด
  3. ต้มน้ำให้เดือด โดยใช้ไฟปานกลาง และนำมะระที่อบแห้งไว้ลงไปในหม้อ เป็นเวลา 10 นาที หรือจนกว่าน้ำจะเริ่มเปลี่ยนสีเล็กน้อย
  4. ปิดไฟ เพื่อทำการกรองเศษมะระออกให้เหลือแต่เพียงน้ำ และเทลงในภาชนะพร้อมดื่ม

คุณสามารถปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำผึ้ง หรือสารให้ความหวานจากธรรมชาติลงไปเล็กน้อยได้ ในกรณีที่คุณรู้สึกว่าชามะระที่คุณทำนั้นมีรสชาติค่อนข้างขม หรือทานยาก อีกทั้งคุณยังอาจหาซื้อมะระขี้นกอบแห้งสำเร็จรูปมาต้มเป็นชา แทนการนำแบบสดมาอบแห้งเองได้อีกด้วย หากคุณรู้สึกว่าขั้นตอนข้างต้นค่อนข้างที่จะยุ่งยากจนเกินไป

ผลข้างเคียงของชามะระขี้นก ที่ควรระวัง

การบริโภคมะระขี้นกอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างขึ้นได้ ในกรณีที่คุณมีอาการแพ้อาหาร หรือรับประทานมากจนเกินไป ซึ่งบางรายอาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วง อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น

ดังนั้น ถึงแม้ว่าชามะระขี้นกจะเป็นเครื่องดื่มที่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี แต่ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะบริโภคเพื่อป้องกัน โรคเบาหวาน นั้น ควรมีการปรึกษานักโภชนาการ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งควรบอกรายละเอียดยาและอาหารเสริมที่ใช้อยู่ด้วย เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่คุณรับประทานร่วมได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Health Benefits of Bitter Melon https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-bitter-melon-88317 Accessed October 30, 2020

6 Benefits of Bitter Melon (Bitter Gourd) and Its Extract https://www.healthline.com/nutrition/bitter-melon Accessed October 30, 2020

Bitter Gourd Tea: How To Make This Herbal Tea To Manage Diabetes And Fight Cholesterol https://food.ndtv.com/food-drinks/bitter-gourd-tea-how-to-make-this-herbal-tea-to-manage-diabetes-and-fight-cholesterol-1874199 Accessed October 30, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/03/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานชนิดที่ 1 และ เบาหวานชนิดที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร

แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา