ชาเอิร์ลเกรย์ (Earl Grey) เป็นชาที่ได้รับความนิยมมาหลายร้อยปี ด้วยรสชาตินุ่มละมุน มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เฉพาะตัว ส่วนใหญ่แล้วนิยมรับประทานกับขนมหวานหลากหลายชนิด นอกจากความหอม และรสชาติที่ดีของชาเอิร์ลเกรย์แล้ว ชาชนิดนี้ยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย
ชาเอิร์ลเกรย์ คืออะไร
ชาเอิร์ลเกรย์เป็นชาที่ได้มาจากการผสมผสานระหว่างชาดำและน้ำมันมะกรูด ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ได้มาจากการสกัดจากลูกมะกรูด บางครั้งอาจมีการผสมเปลือกมะกรูดแห้งลงไปด้วย เพื่อให้มีรสชาติคล้ายส้มอ่อนๆ สารประกอบจากมะกรูดถือเป็น สารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ
ประโยชน์ของชาเอิร์ลเกรย์ต่อสุขภาพ
มะกรูดเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารประกอบจากพืชที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โพลีฟีนอลเหล่านี้เป็นสารที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ชาดำยังอุดมไปด้วยสารประกอบอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน ชาเอิร์ลเกรย์จึงถือเป็นชาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในหลายด้าน
ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
ผลิตภัณฑ์จากมะกรูดมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ส่วนชาดำ ช่วยลดความดันโลหิต เชื่อกันว่าการรับประทานสารสกัดจากมะกรูดทุกวัน จะมีส่วนช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและคอเลสเตอรอลรวม ไม่ดี ในเลือดได้
ช่วยย่อย
สารฟลาโวนอยด์ที่มีในชาเอิร์ลเกรย์ อาจช่วยต่อสู้กับการอักเสบ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาทางเดินอาหาร จากการศึกษาหนึ่งในหนูที่มีอาการลำไส้ใหญ่บวม ซึ่งเป็นผลมาจากโรคลำไส้อักเสบ (IBD) พบว่าน้ำมะกรูดยับยั้งการปล่อยโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบและลดอาการท้องเสีย นอกจากนี้จากการศึกษาในสัตว์ พบว่าสารประกอบในชาดำที่เรียกว่า Theaflavins สามารถช่วยรักษาและป้องกันแผลในกระเพาะอาหารและปัญหาทางเดินอาหารอื่น ๆ ได้ แม้ว่าผลการวิจัยเหล่านี้บ่งชี้ว่าผลรวมของชาเอิร์ลเกรย์เป็นประโยชน์ต่อการย่อยอาหาร แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่ตรวจสอบผลของชาเอิร์ลเกรย์ในมนุษย์
ข้อควรระวังในการดื่มชาเอิร์ลเกรย์
ชาเอิร์ลเกรย์นั้น ถือเป็นชาที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ จากกรณีศึกษาหนึ่ง พบว่าการบริโภคชาเอิร์ลเกรย์มากไปมีความเกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อและตาพร่ามัว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับสารประกอบในชามะกรูดที่ขัดขวางการดูดซึมโพแทสเซียม (Potassium) จากการศึกษานี้มีการดื่มชามากกว่า 16 ถ้วย หรือ 4 ลิตรต่อวัน ซึ่งมากกว่าคนส่วนใหญ่มักดื่ม นอกจากนี้ ชายังมีสารประกอบที่เรียกว่าแทนนิน (Tannin) ซึ่งอาจรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย
[embed-health-tool-bmr]