backup og meta

ดอกแค ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ดอกแค ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ดอกแค เป็นพืชผักพื้นบ้านที่นิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงและประกอบอาหารหลายชนิด เช่น แกง ต้ม ผัด ดอกแค อุดมไปด้วยสารอาหารที่อาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ ที่อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและช่วยต้านจุลชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของดอกแค

ดอกแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 27 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

  • คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม
  • ไฟเบอร์ 1.53 กรัม
  • โปรตีน 1.28 กรัม
  • ไขมัน 0.04 กรัม

นอกจากนี้ ดอกแคยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี 1 วิติมนบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 9 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม

ประโยชน์ของดอกแคที่มีต่อสุขภาพ

ดอกแคมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของดอกแคในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  1. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ดอกแคเป็นผักพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็งและต้านจุลชีพได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Analytical Methods in Chemistry เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย และป้องกันเซลล์ของโปรตีนจากใบดอกแค (Agathi Leaf Protein) พบว่า ดอกแคอุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น โพลีฟีนอล (Polyphenol) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ใยอาหาร วิตามินซี แคลเซียม สเตอรอล (Sterols) ซาโปนิน (Saponin) เควอซิทิน (Quercetin) ไมริซิติน (Myricetin) แคมป์เฟอรอล (Kaempferol) ที่มีคุณสมบัติต้านจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็งและอาจใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระอาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย

  1. อาจมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ

ดอกแคอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีนอล ซึ่งอาจมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Analytical Methods in Chemistry เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย และป้องกันเซลล์ของโปรตีนจากใบดอกแค (Agathi Leaf Protein) พบว่า สารสกัดโพลีฟีนอลจากดอกแคอาจมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนจากใบดอกแคอาจมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย

  1. อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

ดอกแคประกอบไปด้วยสารสกัดเมทานอล (Methanol) ที่อาจมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการย่อยสลายน้ำตาลและควบคุมการดูดซึมน้ำตาล ซึ่งอาจช่วยจัดการและป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Research and Analytical Reviews เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดจากดอกแคในการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน พบว่า สารสกัดเมทานอลจากดอกแค 5-25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งแอลฟา-อะไมเลส (Alpha α-amylase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยน้ำตาลในระบบย่อยอาหาร และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการจัดการกับโรคเบาหวาน รวมถึงจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนด้วย ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของดอกแคในการป้องโรคเบาหวาน

  1. อาจช่วยป้องกันมะเร็ง

สารสกัดเมทานอลจากดอกแคอาจมีฤทธิ์ต้านการเพิ่มจำนวนและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง ที่อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร BioMed Research International เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการเพิ่มจำนวนและการตายของเซลล์มะเร็งจากดอกแค พบว่า สารสกัดเมทานอลที่พบในดอกแคอาจมีฤทธิ์ช่วยต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตาย จึงอาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของดอกแคในการป้องกันมะเร็ง

ข้อควรระวังในการบริโภคดอกแค

การบริโภคดอกแคอาจมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • เกสรสีเหลืองด้านในของดอกแคมีรสขม ดังนั้น ก่อนนำไปประกอบอาหารควรเด็ดเกสรออกก่อนเสมอ
  • ดอกแคสดมีรสเฝื่อนจึงไม่นิยมรับประทานสด โดยส่วนใหญ่จึงนำไปลวกและรับประทานคู่กับน้ำพริก หรือทำเป็นแกงส้ม
  • การรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้ท้องไส้ปั่นป่วนและอาเจียนได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Effect of Sesbania grandiflora Methanolic leaf extract on In vitro studies

of α-amylase, glucose uptake in muscle and adipose tissue of male

Sprague Dawley rat model. http://ijrar.com/upload_issue/ijrar_issue_1859.pdf. Accessed April 22, 2022

Antiproliferative and apoptotic effects of Sesbania grandiflora leaves in human cancer cells. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24949454/. Accessed April 22, 2022

Antioxidant, Antibacterial, and Cytoprotective Activity of Agathi Leaf Protein. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3927847/. Accessed April 22, 2022

Functional quality, sensorial and shelf life characteristics of Agathi (Sesbania grandiflora (L).Poir leaves enriched breads. https://www.ffhdj.com/index.php/ffhd/article/view/339. Accessed April 22, 2022

Significance of conventional Indian foods acting as immune boosters to overcome COVID-19. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8137553/. Accessed April 22, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/05/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ส้มเขียวหวาน สารอาหาร ประโยชน์ และความเสี่ยงในการบริโภค

อะโวคาโด สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 15/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา