backup og meta

แก้วมังกร สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แก้วมังกร สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

แก้วมังกร เป็นพืชในวงศ์กระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเม็กซิโก ผลไม้ชนิดนี้มีเปลือกนอกเป็นสีชมพูหรือสีแดงอมชมพู มีเกล็ดที่เปลือกคล้ายหนามนิ่ม ๆ เนื้อด้านในเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วงแล้วแต่สายพันธุ์ ในเนื้อมีเมล็ดสีดำคล้ายงาจำนวนมากที่สามารถรับประทานได้ แก้วมังกรมีรสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียม วิตามินเอ ให้ประโยชน์แก่ร่างกายในหลายด้าน เช่น เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยควบคุมน้ำหนัก

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร

แก้วมังกรผลประมาณ 170 กรัม ให้พลังงาน 102 กิโลแคลอรี่ ทั้งยังมีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 22 กรัม
  • น้ำตาล 13 กรัม
  • ไฟเบอร์ 5 กรัม
  • โปรตีน 2 กรัม

นอกจากนี้ แก้วมังกรยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น

  • แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นไปตามปกติ เสริมความแข็งแรงให้กระดูก ลดการอักเสบที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน แก้วมังกรขนาด 170 กรัม มีแมกนีเซียม 68 มิลลิกรัม 
  • วิตามินเอ มีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจ ปอด และไตให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบและเพิ่มความเสี่ยง โรคมะเร็ง แก้วมังกร 170 กรัม มีวิตามินเอ 60 ไมโครกรัม 
  • แคลเซียม มีบทบาทสำคัญในการบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบางแตกหักง่าย ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ แก้วมังกร 170 กรัม มีปริมาณแคลเซียม 31 มิลลิกรัม 
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระดูก ส่งเสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดไข้หวัด ทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แก้วมังกร 170 กรัม มีวิตามินซี 4 มิลลิกรัม 
  • ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยฮีโมโกลบินทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย ทำให้อวัยวะทำงานได้เป็นปกติ แก้วมังกร 170 กรัม มีธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของแก้วมังกร

แก้วมังกรอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยมีงานวิจัยสนับสนุน ดังนี้

ส่งเสริมสุขภาพระบบทางเดินอาหาร

แก้วมังกรมีพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นเส้นใยที่พบได้มากในผัก ผลไม้ ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้พรีไบโอติกส์ได้ พรีไบโอติกส์จึงเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารและเป็นอาหารให้แก่แบคทีเรียและจุลินทรีย์ในลำไส้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของโพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ และซินไบโอติกส์ต่อสุขภาพของมนุษย์ ของสถาบันเทคโนโลยีการหมักและจุลชีววิทยา คณะเทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีลอดซ์ ประเทศโปแลนด์ ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients พ.ศ. 2560 พบว่า พรีไบโอติกส์อาจช่วยปรับสมดุลและส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) ในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก ท้องร่วงได้

เสริมภูมิคุ้มกัน

แก้วมังกรมีวิตามินซี ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งโดยวิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์  ศึกษาเกี่ยวกับ วิตามินซีและบทบาทต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปีพ.ศ. 2560 ระบุว่า วิตามินซี และวิตามินเออาจช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคไข้หวัด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบประสาท

ลดความเสี่ยงโรคอ้วน

แก้วมังกรมีไฟเบอร์หรือใยอาหารที่มีส่วนช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ลดความอยากอาหาร และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับไฟเบอร์และการควบคุมน้ำหนัก ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Nutrition ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2562 ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง 345 ราย รับประทานแคลอรี่น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันเป็นจำนวน 750 กิโลแคลอรี่เป็นเวลา 6 เดือน เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง พบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักลดลงประมาณ 7 กิโลกรัม สรุปได้ว่า ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การบริโภคใยอาหารเป็นประจำพร้อมกับการจำกัดแคลอรี่ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีนัยสำคัญ

ข้อควรระวังการบริโภคแก้วมังกร

แม้ว่าแก้วมังกรจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อาจมีข้อควรระวังดังนี้

  • โดยปกติแก้วมังกรสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่ในบางรายอาจเกิดอาการแพ้แก้วมังกรได้ โดยสังเกตได้จากอาการลมพิษขึ้นตามผิวหนัง อาเจียน เป็นต้น
  • หากรับประทานแก้วมังกรเนื้อสีแดงอมม่วงอาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดงเล็กน้อย ซึ่งภาวะนี้สามารถหายไปเองได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรอาจบริโภคแก้วมังกรในรูปแบบผลไม้ได้ แต่หากต้องการรับประทานแก้วมังกรในรูปแบบอาหารเสริมควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dragon Fruit. https://www.webmd.com/food-recipes/benefits-dragon-fruit . Accessed September 29, 2022.

Dragon fruit. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1580/dragon-fruit . Accessed September 29, 2022.

Magnesium. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-magnesium#1 . Accessed September 29, 2022.

Vitamin A (Retinoid). https://www.webmd.com/a-to-z-guides/supplement-guide-vitamin-a . Accessed September 29, 2022.

Health Benefits of Beta Carotene. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-beta-carotene#1 . Accessed September 29, 2022.

Calcium. https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-calcium#1 . Accessed September 29, 2022.

Vitamin C. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/vitamin-c/ . Accessed September 29, 2022.

Vitamin C (Ascorbic Acid). https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-vitamin-c#1 . Accessed September 29, 2022.

What You Need to Know About Iron Supplements. https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/features/iron-supplements . Accessed September 29, 2022.

Prebiotics, probiotics and your health. https://www.mayoclinic.org/prebiotics-probiotics-and-your-health/art-20390058 . Accessed September 29, 2022.

Effects of Probiotics, Prebiotics, and Synbiotics on Human Health. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5622781/ . Accessed September 29, 2022.

Vitamin C and Immune Function. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29099763/. Accessed September 29, 2022.

Carotenoid action on the immune response https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14704330/ . Accessed September 29, 2022.

Dietary fiber and weight regulation. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11396693/ . Accessed September 29, 2022.

Fiber Intake Predicts Weight Loss and Dietary Adherence in Adults Consuming Calorie-Restricted Diets: The POUNDS Lost (Preventing Overweight Using Novel Dietary Strategies) Study. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31174214/ . Accessed September 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

6 ประโยชน์ของ ลองกอง ผลไม้จากธรรมชาติ คู่สุขภาพคุณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา