ตัวอย่างอาหารสำหรับคนป่วยท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดท้อง หรือมีไข้
- รับประทานอาหาร BRAT คือ กล้วย (ฺBanana) ข้าว (Rice) ซอสแอปเปิ้ล (Apple sauce) และขนมปังปิ้ง (Toast) เพราะเป็นอาหารที่มีเส้นใยต่ำ ช่วยให้อุจจาระไม่เหลว และกล้วยยังมีโพแทสเซียมสูงช่วยทดแทนสารอาหารที่ร่างกายสูญเสียไปจากอาการท้องเสีย
- อาหารรสจืด ที่ช่วยให้สบายท้องมากขึ้น สามารถใส่โปรตีนหรือผักเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร เช่น ข้าวต้มปลา โจ๊กหมู อกไก่
- ผักและผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย แอปเปิ้ลอบ มันฝรั่งต้ม ลูกพีช หรือซอสแอปเปิ้ล เหล่านี้มีเส้นใยต่ำและช่วยเพิ่มสารอาหาร
- ขิง อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ เช่น น้ำขิง ชาขิง อมลูกอมขิง
- อาหารแห้ง การรับประทานอาหารแห้งอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น ซีเรียลแห้ง ขนมปังปิ้ง แครกเกอร์
- อาหารเย็นและอาหารไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นเล็กน้อย เนื่องจาก กลิ่นอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้และอาหารเย็นอาจช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวและลดอาการคลื่นไส้ เช่น ไอศกรีม ผลไม้แช่แข็ง โยเกิร์ต
อาหารคนป่วยพักฟื้น
คนป่วยกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นอาจต้องการอาหารมากกว่าปกติ เนื่องจาก ร่างกายอาจสูญเสียวิตามินเอ ธาตุเหล็ก และสารอาหารอื่น ๆ ในช่วงป่วย ทำให้ช่วงพักฟื้นคนป่วยจึงต้องการรับประทานอาหารมากขึ้น คนป่วยพักฟื้นจึงควรได้รับอาหารที่หลากหลายเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ดังนี้
- โปรตีน เป็นแหล่งพลังงานที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกายจากการเจ็บป่วย คนป่วยพักฟื้นจึงควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ไข่ ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่
- คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานหลักและช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ผู้ป่วยจึงควรรับประทานซีเรียล ข้าวโอ๊ต ขนมปังปิ้ง พุดดิ้งนม มันฝรั่ง น้ำตาลจากเค้ก ขนมที่ไม่มีไขมัน
- ผักและผลไม้ คนป่วยพักฟื้นสามารถรับประทานผักปรุงสุกได้ทุกชนิดและสามารถรับประทานผลไม้ได้ แต่ควรเป็นส่วนสุดท้ายของมื้ออาหาร เช่น องุ่น น้ำผลไม้คั้นสด
- ไขมัน ผู้ป่วยพักฟื้นสามารถรับประทานไขมันได้ แต่ควรเป็นไขมันที่มาจากธรรมชาติ เช่น อะโวคาโด ไขมันจากปลา น้ำมันมะกอก
- ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจเสียน้ำปริมาณมากจึงควรดื่มน้ำเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป ซึ่งอาจมาจากอาหาร เช่น ข้าวต้ม ซุป โจ๊ก และจากเครื่องดื่ม เช่น น้ำเปล่า ชา กาแฟ น้ำผลไม้คั้นสด
อาหารคนป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
คนป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ควรได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้พลังงานสูง เพื่อบำรุงร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันน้ำหนักลดลงและช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีได้ยาวนานขึ้น
ปริมาณแคลอรี่ที่คนป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ควรได้รับเพื่อรักษามวลกาย คือ
- เพื่อรักษาระดับน้ำหนักผู้ป่วยควรบริโภค 51 แคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อฉวยโอกาสควรบริโภค 60 แคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ป่วยที่น้ำหนักลดลงควรบริโภค 75 แคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
โปรตีน คนป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ควรได้รับประทานโปรตีนให้เพียงพอเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกัน ดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย