backup og meta

มัสตาร์ด ประโยชน์ต่อสุขภาพที่มีมากกว่าการเพิ่มรสชาติอาหาร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

    มัสตาร์ด ประโยชน์ต่อสุขภาพที่มีมากกว่าการเพิ่มรสชาติอาหาร

    มัสตาร์ด เป็นซอสที่ได้จากการนำเมล็ดมัสตาร์ด มาบด ป่น หรือผสมเข้ากับเครื่องปรุงต่าง ๆ ทำให้ได้ซอสสีเหลืองที่มีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว และเค็ม ในมัสตาร์ดมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยลดอาการของโรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น

    คุณค่าทางโภชนาการของมัสตาร์ด

    มัสตาร์ด เป็นซอสที่ได้จากการนำเมล็ดมัสตาร์ด มาบด ป่น หรือผสมเข้ากับเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น น้ำเปล่า น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว เกลือ และเครื่องปรุงอื่น ๆ ทำให้ได้ซอสสีเหลืองที่มีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว และเค็มภายในตัว มัสตาร์ดนิยมรับประทานร่วมกับอาหาร เช่น แซนวิช ฮอทด็อก แฮมเบอร์เกอร์ หรือใช้เป็นเครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหารอื่น ๆ

    มัสตาร์ดมาตรฐานที่ขายกันทั่วไปในปริมาณ 10 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแคลอรี่ โดยเป็นพลังงานที่ได้จากคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งสำคัญของธาตุเหล็ก แคลเซียม (Calcium) ซีลีเนียม (Selenium) และฟอสฟอรัส (Phosphorus) ในขณะที่ดิจองมัสตาร์ด (Dijon Mustard) อาจจะให้พลังงานมากกว่ามัสตาร์ดปกติอีกเล็กน้อย

    ประโยชน์สุขภาพที่ได้จากมัสตาร์ด

    เป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ

    ในมัสตาร์ดนั้นอุดมไปด้วยสารกลูโคซิโนเลตส์ (Glucosinolates) สารประกอบในกลุ่มซัลเฟอร์ ที่สามารถพบได้ในในผักตระกูลกะหล่ำต่าง ๆ (Cruciferous Vegetables) เช่น กะหล่ำปลี กระหล่ำดอก บร็อคโคลี่ หรือแม้แต่ในมัสตาร์ด เป็นต้น สารกลูโคซิโนเลตส์ (Glucosinolates) นี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยปกป้องร่างกายจากความเสียหายของเซลล์ ช่วยต่อต้านการอักเสบ แบคทีเรีย และเชื้อรา มีคุณสมบัติช่วยให้แผลฟื้นฟูได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังอาจสามารถช่วยป้องกัน ไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายได้อีกด้วย

    นอกจากนี้ ในมัสตาร์ดยังเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่มีงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยป้องกันจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น

    ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

    มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานมัสตาร์ดอาจช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    ป้องกันการติดเชื้อ

    สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในมัสตาร์ด มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการติดเชื้อที่มาจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราต่าง ๆ เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้องเกร็ง ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้

    ช่วยลดาอาการของโรคสะเก็ดเงิน

    มีงานวิจัยที่พบว่า มัสตาร์ดอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินได้ เนื่องจากมีสารต้านการอักเสบ ที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคอักเสบเรื้อรังอย่างโรคสะเก็ดเงินได้ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ช่วยกระตุ้นและเพิ่มการฟื้นฟูของร่างกาย ทำให้แผลหายได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

    ข้อควรระวังในการรับประทานมัสตาร์ด

    การรับประทานมัสตาร์ด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใบ เมล็ด หรือซอสมัสตาร์ดในปริมาณปกติเท่าที่สามารถพบได้ในอาหารทั่วไปนั้นคาดว่าจะปลอดภัย และไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ แต่การรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย หรือการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้

    นอกจากนี้ บางคนอาจจะเป็นโรคภูมิแพ้แพ้ต่อเมล็ดมัสตาร์ด ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการคัน อาการบวม หายใจลำบาก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่ไม่เคยรับประทานมัสตาร์ด ควรเริ่มต้นจากการรับประทานในปริมาณน้อย ๆ และรับการรักษาในทันทีหากสังเกตพบว่ามีอาการแพ้เกิดขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา