ตัวอย่าง น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 171 เซนติเมตร (1.71 เมตร)
= 60 ÷ (1.71 × 1.71)
= 60 ÷ 2.9241
= 20.51 กิโลกรัม/เมตร2 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การวัดรอบเอว
การวัดรอบเอวอาจช่วยประเมินไขมันหน้าท้องได้ เนื่องจากไขมันหน้าท้องที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยการวัดรอบเอวในผู้หญิงไม่ควรเกิน 35 นิ้ว และผู้ชายไม่ควรเกิน 40 นิ้ว ซึ่งวิธีการวัดรอบเอวอาจทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- ยืนตัวตรงและใช้สายวัดวัดรอบเอว บริเวณเหนือกระดูกสะโพก
- ควรให้สายวัดตึงพอดีแต่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
- ทำตัวตามสบายไม่แขม่วท้องหรือเกร็งหน้าท้อง
การวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพก
การวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพกเป็นการประเมินไขมันหน้าท้องว่าเข้าข่ายอ้วนลงพุงหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์ประเมินในผู้หญิงไม่ควรมากกว่า 0.85 และผู้ชายไม่ควรเกิน 0.90
สูตร คำนวณจากความยาวเส้นรอบเอว (เซนติเมตร) ให้วัดจากส่วนที่แคบที่สุด ÷ ความยาวเส้นรอบสะโพก (เซนติเมตร) ให้วัดจากส่วนที่กว้างที่สุด = ค่าที่ได้จะเป็นจุดทศนิยม
ตัวอย่าง ผู้หญิงมีรอบเอว 73 เซนติเมตร (29 นิ้ว) และสะโพก 100 เซนติเมตร (39 นิ้ว)
= 73 ÷ 100
อัตราส่วนเอวต่อสะโพก = 0.73 (หากยังไม่เกิน 0.85 จะถือว่ายังไม่อ้วนลงพุง)
อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันปริมาณมวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน ภาวะสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรค ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
วิธีจัดการกับน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดี
วิธีจัดการกับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สามารถทำได้ด้วยการจัดการกับปัจจัยที่อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้
- การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามินและเกลือแร่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เช่น ของทอด อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ติดหนังและมัน แฮม เบคอน เนย ชีส เค้ก คุ้กกี้ ที่อาจเพิ่มการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือดและการสะสมของไขมันหน้าท้อง
- การออกกำลังกาย อาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อที่อาจมีคุณสมบัติช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันได้ โดยควรออกกำลังกายความเข้มข้นปานกลาง เช่น แอโรบิก วิ่ง เดินเร็ว วันละ 30 นาที หรือ 150 นาที/สัปดาห์ อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์
- การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญระหว่างนอนหลับได้ เนื่องจากในระหว่างนอนหลับร่างกายยังคงทำงานและต้องใช้พลังงานตลอดเวลา นอกจากนี้ การนอนหลับยังช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ลดความเครียดและความอ่อนล้า ซึ่งอาจช่วยให้หิวน้อยลง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย