โรคอ้วน

โรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ซึ่งปัจจุบันความอ้วนอาจนำไปสู้ภาวะทางสุขภาพระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิดได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคอ้วน

มาทำความรู้จัก โรคอ้วนกับเบาหวาน ชนิดที่ 2

โรคอ้วนกับเบาหวาน เป็นของคู่กันหรือไม่นั้นอย่างไรยังไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัด แต่อย่างหนึ่งเลย คือ โรคอ้วนถือเป็นปัจจัยในการทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นมาได้ แล้วคุณคิดว่า โรคอ้วนเสี่ยงกับเบาหวานชนิดใดนั้น ลองอ่านที่บทความนี้ดูสิ สาเหตุ และปัจจัยการเกิดโรคอ้วน สาเหตุ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่กลายเป็นโรคอ้วน คือพฤติกรรมการกิน เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ทำให้คนส่วนมากเลือกที่จะสั่งอาหารแบบจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ด โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารหรือโภชนาการที่ในแต่ละวันควรได้รับ การได้รับแคลอรีในแต่ละวันมากกว่าที่เผาผลาญด้วยการออกกำลังกาย หมายถึงร่างกายไม่ได้มีการเผาผลาญที่เพียงพอจนเกิดเป็นโรคอ้วน พฤติกรรมที่เสี่ยงแบ่งนี้ทำให้เกิดโรคอ้วนกับเบาหวานได้ และหากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงอายุที่เพิ่มขึ้น และจากพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน โรคอ้วนกับเบาหวาน แล้วเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดใดกันนะ โรคอ้วนปัจจัยหลักที่ส่งผลทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือไขมันส่วนเกินภายในร่างกายถูกย่อยสลายเป็นกรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid) กับกลูโคสดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อกลูโคส และกรดไขมันอยู่ในกระแสเลือดมากจนเกินไป ส่งผลให้ตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินในการช่วยดูดซึมน้ำตาลในเลือดต้องผลิตอินซูลินมากขึ้น ตับอ่อนจึงทำงานหนักเพิ่มขึ้น จนกระทั่งตับอ่อนทำงานไม่ไหว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 คืออะไร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างที่ควรจะเป็น เกิดจาก “ภาวะดื้ออินซูลิน” ภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจไม่มีอาการเหมือนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง เนื่องจากอาการที่ค่อย ๆ […]

สำรวจ โรคอ้วน

โรคอ้วน

ไขมันสีน้ำตาล ในร่างกาย สามารถช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือ?

เนื่องจากเราทุกคนมักชอบพูดเป็นภาพโดยรวมว่า ไขมันที่อยู่ภายในร่างกายมักเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงได้ แต่สำหรับ ไขมันสีน้ำตาล ที่ Hello คุณหมอ ขออาสานำความรู้มาฝากกันในวันนี้ อาจเป็นประเภทไขมันที่มีส่วนช่วยลดความอ้วนได้ แต่จะมีข้อเท็จจริง และกระบวนการทำงานอย่างไรนั้น มาร่วมติดตามไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ ไขมันสีน้ำตาล คืออะไร ไขมันสีน้ำตาลหรือเรียกอีกอย่างได้ว่าเนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล เป็นไขมันอย่างหนึ่งที่กักเก็บพลังงาน พร้อมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่อยู่ภายในไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) พบได้มากในมนุษย์ และสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีส่วนช่วยในการคงความสมดุลของอุณหภูมิเมื่อร่างกายคุณนั้นมีอุณหภูมิที่เย็นจนเกินไป เพื่อปรับให้ร่างกายคุณมีความอบอุ่น และคอยสร้างความร้อนขึ้นมาในตัว แต่ไขมันสีน้ำตาลนี้มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยทารกแล้วจึงค่อย ๆ ลดปริมาณลงไปตามช่วงอายุ รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่ามาตรฐานก็อาจมีไขมันสีน้ำตาลจำนวนน้อยกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ตามเกณฑ์ร่วมด้วย ข้อเท็จจริงของไขมันสีน้ำตาล กับการลดความอ้วน จากการศึกษาของนักวิจัยจาก Universite de Sherbrooke ประเทศแคนนาดา ได้ทำการสำรวจจากอาสาสมัครที่มีระดับไขมันสีน้ำตาลสูง พบว่า เซลล์ไขมันสีน้ำตาลสามารถเผาผลาญแคลอรี่ 250 แคลอรี่ หรือ 1.8 เท่าของระดับการเผาผลาญ ทำให้สามารถนำไปช่วยพัฒนาศึกษาต่อที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคอ้วนได้ และยังค้นพบอีกว่าคนที่มีระดับไขมันที่พอดีมักมีไขมันสีน้ำตาลที่มากกว่าคนมีระดับไขมันส่วนเกิน อีกทั้งยังมีผลการศึกษาอื่น ๆ พบว่าไขมันสีน้ำตาลมีอะมิโน และโปรตีนบางชนิด ได้แก่ ลิวซีน (Leucine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) วาลีน (Valine) ที่คุณอาจได้รับจากอาหารที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ปลา […]


โรคอ้วน

ไขมันสะสม ส่งผลให้โรคเรื้อรังอะไรบ้าง ที่ทำลายสุขภาพ

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรละเลย โดยเฉพาะการปล่อยให้มี ไขมันสะสม จำนวนมากอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายใต้ผิวหนังของร่างกาย เนื่องจาก ดูผิวเผินร่างกายของคุณอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเวลาผ่านไป ไขมันสะสมนี้อาจแปรเปลี่ยน หรือนำพาโรคเรื้อรังต่าง ๆ มาสู่ร่างกายของคุณได้ แต่ไขมันสะสมนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอะไรได้บ้าง แล้วมันทำลายสุขภาพอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ไขมันสะสม คืออะไร ไขมันสะสม (Subcutaneous Fat) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไขมันใต้ผิวหนัง” โดยเป็นไขมันที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ในปริมาณมาก และไม่ได้รับการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกายเสียส่วนใหญ่ นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็สามารถเกิดภาวะ ไขมันใต้ผิวหนัง ได้เช่นกัน เรื่องจากผู้ป่วยโรคนี่ร่างกายอาจทำหน้าที่สลายไขมันได้ยาก จนทำให้เกิดไขมันสะสมภายในช่องท้อง และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคจากไขมันสะสม หากร่างกายมี ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการเผาผลาญและเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำมาใช้ในแต่ละวัน เมื่อคุณอายุมากขึ้น หรือมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถส่งทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ซึ่งมาพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคอัลไซเมอร์ โรคไต ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ บางกรณี อาจทำให้ร่างกายคุณได้รับโรคดังกล่าวโรคใดโรคหนึ่ง หรือสามารถเป็นพร้อมกันหลาย ๆ โรคได้ ดังนั้น หากคุณยังรักสุขภาพตนเอง […]


โรคอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วน รู้ไว้ ห่างไกลโรคอ้วน

โรคอ้วน เป็นโรคใกล้ตัวอีกประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยคุณสามารถรู้ได้ว่าตัวเองเป็นโรคอ้วนหรือไม่ จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกายว่าอยู่ระดับสูงว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงขึ้น คุณควรรู้ถึง สาเหตุของโรคอ้วน เอาไว้ด้วยว่า สาเหตุของ โรคอ้วน นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง ต้องมาติดตามกันใน Hello คุณหมอ สาเหตุของโรคอ้วน มีอะไรบ้าง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคอ้วน คือ พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหารแบบไม่เลือกจะทำให้ร่างกายของคุณได้รับปริมาณแคลอรี่ที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดการสะสมแคลอรี่ส่วนเกิน นอกจากนั้น ถ้าคุณรับประทานอาหารแล้วไม่มีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย ก็จะทำให้ร่ายกายไม่เผาผลาญแคลอรี่ที่รับประทานเข้าไป จึงทำให้เกิด โรคอ้วน นั่นเอง  แต่นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณเสี่ยงที่จะเผชิญกับ โรคอ้วน ได้อีกด้วย ซึ่งสาเหตุอื่น ๆ มีดังนี้ พันธุกรรมที่สืบทอดกันมาภายในครอบครัว โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเผาผลาญ การเสื่อมสภาพการทำงานอวัยวะภายในจากอายุที่มากขึ้น เพราะจะทำให้มวลกล้ามเนื้อ และการเผาผลาญได้ช้าลง พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง ระดับคอร์ติซอลสูงขึ้น โดยเกิดจากความเครียด ภาวะต่อมไทรอยด์ สภาพแวดล้อมในชุมชนที่มีตัวเลือกในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพน้อย จากสาเหตุข้างต้นที่กล่าวมานั้น อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล หนทางที่ดีที่สุดเมื่อคุณรู้สึกกังวลใจเกี่ยว โรคอ้วน คุณสามารถเข้าขอรับการตรวจสุขภาพ พร้อมขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อความสบายใจ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก โรคอ้วน ผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับ โรคอ้วน หากไม่มีการดูแลตนเองด้วยวิธีที่ถูกต้องตามคำแนะนำแพทย์ หรือเพิกเฉยต่อการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ ก็อาจส่งผลให้คุณเสี่ยงกับโรคเรื้อรังรุนแรงอื่น […]


โรคอ้วน

คนอ้วน กับการดูแลสุขภาพตนเอง

คนอ้วน หรือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อาจทำให้ร่างกายเกิดการสะสมของไขมันจนอาจนำไปสู่โรคอ้วน รวมถึงอาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้น การวัดค่าดัชนีมวลกาย การดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ [embed-health-tool-bmi] เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเทคนิคการวัดความเชื่อมโยงของน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อนำมาเปรียบเทียบว่า ตนเองจัดอยู่ในเกณฑ์ร่างกายขาดสารอาหาร หรืออ้วนจนเกินไปหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยค่าดัชนีมวลกายนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ จากการนำ น้ำหนัก (กก.) ÷ ความสูง (เมตร) 2  แล้วจึงจะได้ผลลัพธ์ และนำไปตรวจตามเกณฑ์ด้านล่างนี้ ยกตัวอย่าง เช่น 70 ÷ (1.60) 2 = 27.34 (น้ำหนักเกินมาตรฐาน) ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกาย 5-24.9 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักปกติดีต่อสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย 0-29.9 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักเกินมาตรฐาน ค่าดัชนีมวลกาย […]


โรคอ้วน

ไขข้อสงสัย หาก น้ำหนักเกินมาตรฐาน แปลว่าคุณอ้วนจริงหรือ?

ทุกคนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมบางคนที่มีรูปร่างผอมเพรียว หุ่นดี แต่กลับมี น้ำหนักเกินมาตรฐาน กว่าคนที่มีรูปร่างอวบอ้วน เรื่องนี้ถือเป็นความกังวลใจของสาว ๆ หลายคนที่รักสุขภาพอย่างหนัก เพราะกลัวว่าตนเองจะมีโรคร้ายแรงแทรกซ้อน วันนี้ Hello คุณหมอขอพาทุกคนมาคลายข้อสงสัยเหล่านี้กัน น้ำหนักเกินมาตรฐาน มีสาเหตุมาจากใดบ้าง มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่คุณทำลงไปโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้น้ำหนักพุ่งเกินมาตรฐาน และเป็นบ่อเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ การรับประทานอาหารที่เพิ่มการสะสมของแคลอรี่ หากคุณมีการเผาผลาญแคลอรี่ที่สมดุลกันก็อาจจะทำให้รักษาน้ำหนักของคุณไว้คงที่ได้ แต่หากรับประทานอาหารที่มีจำนวนแคลอรี่เยอะและไม่มีการเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน ก็จะทำให้กลายเป็นไขมันสะสมกระจายไปทั่วตามร่างกายก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมา พันธุกรรม คุณอาจได้รับยีนที่ส่งต่อมากจากทางครอบครัวที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเปลี่ยนรูปร่างของตนเองให้ดูดีขึ้นไม่ได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาและปรับเรื่องของอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้องควบคู่ไปด้วย ภาวะด้านสุขภาพ เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายที่ชื่อว่า "เลปติน (Leptin)" ซึ่งฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการรักษาระดับไขมันในร่างกาย และควบคุมความรู้สึกหิว แต่เมื่อฮอร์โมนเกิดความบกพร่อง จึงกลับกลายเป็นความอยากอาหารเพิ่มแทน และก่อให้เกิดโรคอ้วนขึ้นได้ ขาดการออกกำลังกาย ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน เรียนหนังสือ หรือธุระส่วนตัวต่าง ๆ ส่งผลให้การแบ่งเวลาที่จะไปออกกำลังกายนั้นลดน้อยลง เพราะเมื่อคุณกลับมาจากภารกิจเหล่านี้ ก็คงทำให้คุณหิว และอ่อนเพลีย จนอยากจะแค่กินและนอน ซึ่งคุณควรจัดเวลาหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วนที่ตามมาภายหลังได้ เช่น การทำงานบ้าน […]


โรคอ้วน

คนอ้วน เจ็บเท้า บรรเทาอาการอย่างไร และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

เท้าเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องรับน้ำหนักทั้งร่างกาย จึงไม่แปลกเลยที่เมื่อคุณน้ำหนักมากขึ้น หรือความอ้วน จะทำให้เท้าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาตามมา นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินจนก่อให้เกิดอาการ เจ็บเท้า วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูสาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน มีอาการ เจ็บเท้า และวิธีการบรรเทาอาการกัน สาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน มีอาการ เจ็บเท้า การมีน้ำหนักเกินทำให้คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บเท้าได้ เช่น โรคเกาต์ โรคเกาต์ ทำให้มีอาการปวดแบบเจ็บแปลบ ปวดรุนแรง และโดยปกติจะปวดบริเวณหัวแม่เท้า นอกจากนี้ โรคเกาต์ยังสามารถส่งผลต่อข้อต่อของเท้าและข้อเท้า โดยโรคนี้จะพัฒนาจากผลึกของสารที่เรียกว่า "กรดยูริค" ที่สะสมในข้อต่อ มากไปกว่านั้นความอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ เนื่องจากการเพิ่มการผลิตกรดยูริคในร่างกาย โรคเบาหวาน ความอ้วน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดอาการเท้าชา และลดการไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณเท้า ซึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาอาการบาดเจ็บเล็กน้อย โดยที่คุณไม่สามารถสังเกตเห็น และอาการบาดเจ็บเหล่านี้อาจหายช้าและพัฒนาเป็นการติดเชื้อ จนถึงขั้นต้องสูญเสียเท้า เนื่องจากโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral Artery Disease) โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมคราบพลัค (Plaque) ในผนังหลอดเลือดแดงที่ขา ซึ่งส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังเท้าลดลง ค่าดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น งานวิจัยที่ศึกษาเรื่องโรคอ้วน อาการเจ็บเท้า และความผิดปกติของเท้าในผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุ พบว่า ทั้งชายและหญิงมีโอกาสที่จะเกิดอาการเจ็บเท้าเพิ่มขึ้น […]


โรคอ้วน

โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ คำจำกัดความ โรคอ้วนคืออะไร โรคอ้วน (Obesity) เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย โรคอ้วนไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอีกด้วย โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) มีแนวคิดที่แตกต่างกันสองประการ ภาวะน้ำหนักเกินเป็นภาวะหนึ่งที่น้ำหนักที่มากเกินไปเพิ่มขึ้นตามความสูงซึ่งไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกินเท่านั้นแต่ยังเกิดจากกล้ามเนื้อจำนวนมากหรือน้ำในร่างกายด้วยเช่นกัน ภาวะทั้งสองประการนี้เป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ โรคอ้วนพบได้บ่อยเพียงใด ทุกคนสามารถเป็นโรคอ้วนได้ หากไม่มีการลดอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคอ้วนมักมีการวินิจฉัยในผู้ที่ทำงานธุรการ หรือในสำนักงาน คุณสามารถจำกัดการเกิดโรคนี้ได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคอ้วน ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (body mass index: BMI) ค่าสูงกว่า 25 จัดว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ค่า 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน และค่า 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลร่างกายเป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ทราบว่า คนหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ สูตรในการคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย คือ การใช้น้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง (ลองคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่นี่) ค่าดัชนีมวลร่างกาย = น้ำหนัก (กก.) / (ความสูงเมตร2) สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ค่าดัชนีมวลร่างกายช่วยประมาณการปริมาณไขมันในร่างกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีมวลร่างกายไม่ได้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น […]


โรคอ้วน

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย

เราทุกคนต่างทราบว่า ภาวะน้ำหนักเกินส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ นานัปการ อย่างไรก็ดี คนส่วนมากไม่ได้ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ภาวะน้ำหนักเกินยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งได้ มีการพิสูจน์ว่า ไขมันกับมะเร็ง หลายชนิดมีความสัมพันธ์กัน และการมีไขมันส่วนเกิน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายนี้ได้ ลองศึกษาบทความนี้ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของมะเร็งที่สัมพันธ์กับไขมันในร่างกาย สาเหตุที่สัมพันธ์กัน และวิธีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเอง ไขมันกับมะเร็ง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร การมีไขมันส่วนเกินในร่างกาย สามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานตามปกติของร่างกายได้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ต่อไปนี้ เหตุผลประการแรก ก็คือ การสะสมตัวของไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการ โดยไม่มีการเผาผลาญออกไป จะทำให้คุณเป็นโรคอ้วน ซึ่งส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของคุณ เช่น ลำไส้ และกระเพาะอาหาร ประการที่สอง เมื่อคุณเริ่มมีขนาดร่างกายใหญ่ขึ้น และรอบเอวใหญ่ขึ้น หมายความว่า ระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดของคุณจะเพิ่มสูงขึ้นไปตามน้ำหนักตัว คอเลสเตอรอลในเลือดเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพของหลอดเลือด ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงมีแนวโน้มที่จะทำให้หลอดเลือดแคบลงและอุดตัน ซึ่งขัดขวางการไหลของเลือดตามธรรมชาติและสามารถก่อให้เกิดโรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ประการสุดท้าย การมีไขมันส่วนเกินในร่างกาย ทำให้เกิดการทำหน้าที่ผิดปกติในปอด หัวใจ ถุงน้ำดี และตับ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทั้งหมดของคุณถูกทำลายลง และมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น หลังจากเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน มะเร็งจะแพร่กระจายจากอวัยวะหนึ่งไปทั่วร่างกาย ชนิดของมะเร็งที่สัมพันธ์กับไขมันในร่างกาย นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ว่า ไขมันส่วนเกินในร่างกายมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมะเร็งบางชนิด แต่อาจเป็นส่วนหนึ่งของมะเร็งบางชนิดเท่านั้น การมีไขมันในระบบร่างกายที่มากเกินไป มีความสัมพันธ์โดยตรงกับมะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ผ่านวัยหมดประจำเดือนมาแล้ว […]


โรคอ้วน

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากเราบริโภค ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต มากเกินไป ก็สามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่จากผลการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า ตัวการที่ทำให้เราเป็นโรคอ้วนคือ “ไขมัน” ส่วนคาร์โบไฮเดรตอาจเป็นแค่แพะรับบาปเท่านั้น เรื่องนี้มีรายละเอียดยังไง เราไปดูกันเลย ผลการศึกษาเรื่องไขมันกับคาร์โบไฮเดรต นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ศึกษาวิจัยกับหนูทดลองพบว่า การกินไขมันมากเกินไปจะทำให้เรามีปัญหาเรื่องความอ้วนได้ ในขณะที่คาร์โบไฮเดรต (รวมทั้งแคลอรี่ 30 เปอร์เซ็นต์ที่ได้จากน้ำตาลซูโครส) ไม่ได้ส่งผลกระทบในเรื่องนี้เลย นอกจากนี้อาหารที่มีทั้งไขมันและน้ำตาลนั้น ยังไม่ส่งผลให้เกิดไขมันในร่างกายมากกว่าการกินที่มีแต่ไขมันเพียงอย่างเดียวด้วย สำหรับโปรตีน ทีมนักวิจัยเผยว่า มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าการบริโภคโปรตีนสามารถส่งผลกระทบต่อการบริโภคสารอาหารประเภทอื่น หรือมีผลต่อปริมาณไขมันในร่างกายได้ ส่วนสาเหตุที่ไขมันนำไปสู่โรคอ้วนได้นั้น นักวิจัยเชื่อว่า เป็นเพราะไขมันคือตัวการทำให้สมองรู้สึกพึงพอใจ จึงกระตุ้นให้ร่างกายอยากกินอาหารที่มีแคลอรีสูงๆ ซึ่งนั่นคือต้นเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้น แต่ข้อจำกัดของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็คือ นี่เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ยังไม่ใช่การวิจัยกับมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหนูและมนุษย์มีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน ผลการทดลองที่ได้จึงอาจใกล้เคียงกับผลทดลองในมนุษย์ อาหารที่มีไขมันสูง ไขมันมีทั้งชนิดที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และชนิดที่ไม่ดีมีมากไปก็เป็นโทษ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ ไขมันทรานส์ มักพบในขนมเค้ก โดนัท บิสกิต ขนมขบเคี้ยว เป็นไขมันที่ช่วยให้อาหารไม่เน่าเสียง่าย ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า การกินไขมันทรานส์ไม่ว่าในระดับไหนก็ไม่มีความปลอดภัยทั้งนั้น ไขมันอิ่มตัว พบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งว่ากันว่าอาหารจำพวกนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารพวกนี้จะทำให้มีคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนก็ระบุว่าสาเหตุไม่ได้มาจากไขมันอิ่มตัวอย่างเดียว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว จัดเป็นไขมันชนิดดี พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย อะโวคาโด เป็นต้น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน จัดเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงต้องได้รับจากการบริโภคเข้าไป โดยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสามารถพบได้ในน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ลดไขมันทุกชนิด หรือใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว โดยผู้ชายไม่ควรบริโภคไขมันอิ่มตัวเกินวันละ 30 กรัม ผู้หญิงไม่ควรบริโภคไขมันอิ่มตัวเกินวันละ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน