โรคอ้วน

โรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ซึ่งปัจจุบันความอ้วนอาจนำไปสู้ภาวะทางสุขภาพระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิดได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคอ้วน

มาทำความรู้จัก โรคอ้วนกับเบาหวาน ชนิดที่ 2

โรคอ้วนกับเบาหวาน เป็นของคู่กันหรือไม่นั้นอย่างไรยังไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัด แต่อย่างหนึ่งเลย คือ โรคอ้วนถือเป็นปัจจัยในการทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นมาได้ แล้วคุณคิดว่า โรคอ้วนเสี่ยงกับเบาหวานชนิดใดนั้น ลองอ่านที่บทความนี้ดูสิ สาเหตุ และปัจจัยการเกิดโรคอ้วน สาเหตุ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่กลายเป็นโรคอ้วน คือพฤติกรรมการกิน เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ทำให้คนส่วนมากเลือกที่จะสั่งอาหารแบบจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ด โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารหรือโภชนาการที่ในแต่ละวันควรได้รับ การได้รับแคลอรีในแต่ละวันมากกว่าที่เผาผลาญด้วยการออกกำลังกาย หมายถึงร่างกายไม่ได้มีการเผาผลาญที่เพียงพอจนเกิดเป็นโรคอ้วน พฤติกรรมที่เสี่ยงแบ่งนี้ทำให้เกิดโรคอ้วนกับเบาหวานได้ และหากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงอายุที่เพิ่มขึ้น และจากพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน โรคอ้วนกับเบาหวาน แล้วเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดใดกันนะ โรคอ้วนปัจจัยหลักที่ส่งผลทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือไขมันส่วนเกินภายในร่างกายถูกย่อยสลายเป็นกรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid) กับกลูโคสดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อกลูโคส และกรดไขมันอยู่ในกระแสเลือดมากจนเกินไป ส่งผลให้ตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินในการช่วยดูดซึมน้ำตาลในเลือดต้องผลิตอินซูลินมากขึ้น ตับอ่อนจึงทำงานหนักเพิ่มขึ้น จนกระทั่งตับอ่อนทำงานไม่ไหว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 คืออะไร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างที่ควรจะเป็น เกิดจาก “ภาวะดื้ออินซูลิน” ภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจไม่มีอาการเหมือนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง เนื่องจากอาการที่ค่อย ๆ […]

สำรวจ โรคอ้วน

โรคอ้วน

วิธีลดน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน ทำอย่างไรได้บ้าง

โรคอ้วน คือ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพันธุกรรมและปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายมีไขมันมากเกินไป และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า 30 นอกจากนี้ หากปล่อยให้ไขมันสะสมเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ข้อเข่า อาการหยุดหายใจขณะหลับ มะเร็งบางชนิด รวมทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้อาการของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนควรศึกษา วิธีลดน้ำหนัก และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วน มีดังนี้ ครอบครัว ยีนของพ่อแม่ที่เป็นโรคอ้วน อาจสืบทอดสู่บุตรหลาน ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและเป็นโรคอ้วนเหมือนพ่อแม่ อายุ โรคอ้วนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายอาจไม่คล่องตัว ขาดการออกกำลังกาย นำไปสู่มวลกล้ามเนื้อที่ลดลง เมื่อมวลกล้ามเนื้อลดลงอาจทำให้การเผาผลาญหรือระบบเมตาบอลิซึมลดลง ทำให้ควบคุมน้ำหนักส่วนเกินได้ยากขึ้น อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูง เช่น อาหารจานด่วน อาหารขยะ ของทอด น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันและคอเลสเตอรอล ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มของน้ำหนัก ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญแคลอรี่ที่สะสมในร่างกาย หากในแต่ละวันไม่มีการเคลื่อนไหว หรือมีพฤติกรรมที่ชอบอยู่นิ่งมากเกินไป เช่น นอนดูหนัง […]


โรคอ้วน

อ้วน สังเกตได้อย่างไร และสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา โรคอ้วน

อ้วน หรือโรคอ้วน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากร่างกายมีไขมันสะสมมากผิดปกติ โดยสาเหตุของโรคอ้วนอาจเกิดจากพันธุกรรม การเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้ โรคอ้วนยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2 มะเร็งบางชนิด รวมถึงบางคนอาจทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ อ้วน คืออะไร อ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันมากผิกปกติหรือมากเกินไป รวมถึงการได้รับแคลอรี่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกไปในแต่ละวัน โดยโรคอ้วนนั้นมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ มะเร็งบางชนิด  ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ในผู้ใหญ่ โรคอ้วนถูกกำหนดให้มีดัชนีมวลกาย 30.0 หรือมากกว่า ซึ่งค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อาจคำนวณได้จากการนำน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งค่า BMI ที่ออกมานั้น อาจบอกสถานะน้ำหนักได้ ดังนี้ ต่ำกว่า 18.5 คือ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 18.5-24.9 คือ น้ำหนักปกติ 25.0-29.9 คือ น้ำหนักเกินมาตรฐาน 30.0 หรือมากกว่า คือ อ้วน สำหรับโรคอ้วนอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ […]


โรคอ้วน

คนอ้วน มีสาเหตุมาจากอะไร

คนอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน สามารถคำนวณได้จากค่าดัชนีมวลกาย ด้วยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารกับ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 หากผลลัพธ์ออกมาสูงกว่า 30.0 ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วน หรือวัดจากรอบเอวซึ่งหากผู้หญิงมีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว และผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว ก็อาจมีความหมายว่าเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด [embed-health-tool-”bmi”] สาเหตุที่ทำให้คนอ้วน  สาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายสะสมแคลอรีจากอาหารที่รับประทานมากเกินไปและไม่ได้เผาผลาญพลังงานส่วนเกินออก ด้วยการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ส่งผลให้แคลอรีในร่างกายแปรเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ตามเซลล์เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ปริมาณมาก ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และอาจหรือเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต กรรมพันธุ์ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน บางครอบครัวอาจมีการถ่ายทอดยีนเดี่ยวที่อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ เรียกว่า โรคอ้วนที่เกิดจากยีนเดี่ยว (Monogenic obesity) ซึ่งอาจทำให้ลดความอ้วนได้ยาก โรคเรื้อรัง เช่น กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing) กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome) โรคข้ออักเสบ รวมถึงยาบางชนิดอย่างสเตียรอยด์ ยากล่อมประสาท ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคเบาหวาน ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เป็นต้น ก็อาจส่งผลข้างเคียงทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออ้วนขึ้นได้เช่นกัน เพราะโรคหรือยาเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายเสียความสมดุลของพลังงาน […]


โรคอ้วน

5 วิธี ลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่ดี

การลดน้ำหนัก ช่วยปรับสมดุลของระบบการทำงานในร่างกาย ป้องกันภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่หากลดน้ำหนักเร็วเกินไปด้วยวิธีการอดอาหาร กินยาลดความอ้วน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดภาวะทุพโภชนาการ และอาจทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จในระยะยาว ดังนั้น การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน ลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพอย่างไร การลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและค่อยเป็นค่อยไป อาจเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เพราะการลดน้ำหนักนั้นมีข้อดีต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ ช่วยให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้น ไขมันส่วนเกินและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจสร้างแรงกด ส่งผลให้ข้อต่ออักเสบ การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้ ลดความเสี่ยงมะเร็ง ผู้ที่มีน้ำหนักเกินอาจมีระดับของฮอร์โมนบางชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น เอสโตรเจน อินซูลิน แอนโดรเจน การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยลดระดับฮอร์โมนเหล่านั้น และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การลดน้ำหนักควบคู่กับควบคุมอาหาร อาจช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ และสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว การลดน้ำหนักอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ลดระดับไขมันเลว การออกกำลังกายอาจช่วยลดระดับไขมันเลว หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในร่างกายได้ และการควบคุมอาหารระหว่างลดน้ำหนักอาจเพิ่มไขมันดี หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ หัวใจวาย […]


โรคอ้วน

อ้วนลงพุง เกิดจากอะไร และวิธีรับมือภาวะอ้วนลงพุง

อ้วนลงพุง คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง หากอยากรู้ว่ากำลังอยู่ในกลุ่มอ้วนลงพุงหรือไม่ อาจวัดได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) สำหรับบุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากค่าดัชนีมากกว่า 25 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีรูปร่างอ้วน [embed-health-tool-”bmi”] สาเหตุของอ้วนลงพุง สาเหตุของอ้วนลงพุง อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้ เช่น รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก ลูกอม เครื่องดื่มที่มีความหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากของหวานอาจชะลอการทำงานของระบบเผาผลาญ และอาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ที่เป็นไขมันสังเคราะห์ หากไขมันชนิดนี้เกาะผนังหลอดเลือด และอวัยวะต่าง ๆ ภายในอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอ้วนได้ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น และอาจเกิดการสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะรอบเอว เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจไปขัดขวางการเผาผลาญไขมัน ไม่ออกกำลังกาย หากรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน และไม่ออกกำลังกาย […]


โรคอ้วน

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ป้องกันได้หากดูแลถูกวิธี

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับโรคต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายและภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้สูงอายุควรเฝ้าระวัง เนื่องจากจะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งในรายที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุการเกิด โรคอ้วนในผู้สูงอายุ  สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่มาจากการเสื่อมสภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายตามช่วงอายุที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เกินมาตรฐาน โดยวัดจากรอบเอว มวลไขมัน น้ำหนักตัว นอกจากนี้ คณะกรรมการของสมาคมโภชนาการและสมาคมโรคอ้วนของสหรัฐอเมริกา ได้ทบทวนงานศึกษาวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงปี 1996-2005 และพบว่า โรคอ้วนในผู้สูงอายุเชื่อมโยงกับความบกพร่องทางร่างกาย อีกทั้งผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วนยังเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้มากขึ้นด้วย การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะอ้วนลงพุง หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ปัญหาภายในระบบทางเดินอาหาร โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด หากปล่อยให้ผู้สูงอายุเผชิญกับโรคอ้วนเป็นเวลานาน อาจทำให้สุขภาพแย่ลง จนเสี่ยงต่อความพิการ หรือเสียชีวิตได้ นอกจากดัชนีมวลกายแล้ว ยังสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่อาจบ่งบอกได้ว่าผู้สูงอายุกำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ เช่น การสะสมของไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะ หน้าท้อง แขน ตัวเลขของน้ำหนักเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนในผู้สูงอายุ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุ มีดังนี้ การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่ทำลายสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติทางพันธุกรรม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุสามารถลดความเสี่ยงจากโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ออกกำลังกายในระดับเบา เช่น แอโรบิก เดิน รับประทานเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะผลไม้ ผัก และโปรตีน ลดอาหารที่มีไขมันสูง […]


โรคอ้วน

อันตรายจากโรคอ้วน กับผลเสียต่อสุขภาพ

อันตรายจากโรคอ้วน ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากที่คิด นอกจากจะทำให้สูญเสียความมั่นใจในเรื่องของรูปแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวของกับโรคอ้วน โรคอ้วน คืออะไร โรคอ้วน ถือเป็นปัญหาที่ซับซ้อนเนื่องจากมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวสูง ขาดการออกกำลังกาย หรือปัจจัยทางพันธุกรรมที่ได้รับยีนส์มาจากครอบครัว ส่งผลให้คุณมีระบบการเผาผลาญที่ไม่ดีมากนัก การที่คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนอยู่หรือไม่ ส่วนใหญ่ต้องการค่าหาดัชนีมวลกายโดยรวม (BMI) หากผลลัพธ์เผยตัวเลขตั้งแต่ 25.0-30.0 ขึ้นไปก็อาจแปลความหมายได้ว่าคุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน หรือกำลังเป็นโรคอ้วนอ้วนอยู่นั่นเอง อันตรายจากโรคอ้วน ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด อันตรายจากโรคอ้วนอาจไม่ใช่เพียงไขมันสะสมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาได้อีกมากมาย และสามารถส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายโดยรวมได้ทั้งหมด แต่จะมีโรคอะไรบ้าง เรามาดูไป พร้อม ๆ กันเลยค่ะ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคถุงน้ำดี หรือนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งบางชนิด โรคเกาต์ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ไขมันพอกตับ โรคหลอดเลือดแข็ง โรคไต เพียงแค่โรคอ้วนโรคเดียวสามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อย่างมากมาย และหากคุณยังเพิกเฉยต่อการดูแลสุขภาพตนเอง โรคดังกล่าวข้างต้นนี้อาจสามารถนำพาไปสู่การเกิดอาการรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โรคอ้วนควบคุมได้ เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต สำหรับบุคคลใดที่กำลังเป็นโรคอ้วน หรืออยากจะป้องกันการเกิดโรคอ้วนไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณสามารถเริ่มได้จากการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางประการที่มักส่งผลเสียแก่สุขภาพคุณได้ ดังนี้ ตรวจน้ำหนักของเป็นประจำ พร้อมหาค่าดัชนีมวลกายควบคู่ วางแผนการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่สารอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150-300 นาที ต่อสัปดาห์ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมถึงการรักษาน้ำหนักให้คงที่ […]


โรคอ้วน

ประเภทของไขมันในร่างกาย ที่สามารถพบเจอ พร้อมวิธีกำจัดไขมันส่วนเกิน

โรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ซึ่งสาเหตุของการสะสมของไขมันในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ง่าย แล้ว ประเภทของไขมันในร่างกาย ที่สามารถสะสมอยู่ในร่างกายนั้น จะไปสะสมอยู่ในส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง ถ้าอยากกำจัดออก จะมีวิธีกำจัด ไขมันส่วนเกิน นั้นได้อย่างไร มาดูคำตอบกันเลย [embed-health-tool-”bmr”] ไขมัน คืออะไร “ไขมัน” เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ต้องได้รับในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป เพราะหากได้รับมากเกินไปจะเป็นโทษต่อร่างกายได้ เช่น มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินก่อให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในร่างกายของเราประกอบด้วยสามโมเลกุลที่เชื่อมต่อกัน โครงสร้างสามโมเลกุลนี้เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” แต่มีไขมันบางชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นได้ แต่สามารถรับไขมันนี้ได้โดยการกินเท่านั้น ไขมันเหล่านี้เรียกว่า “ไขมันจำเป็น” เช่น ไขมันโอเมก้า 3 เป็นต้น ไขมันในอาหาร มี 3 ประเภทหลัก คือ ไขมันไม่อิ่มตัว มี 2 แบบ ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พบได้ในน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน พบได้ในน้ำมันพืชทั่วไป เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา เป็นต้น ไขมันอิ่มตัว มีอยู่ในอาหารหลายชนิดทั้งคาวและหวาน ส่วนใหญ่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ไม่ว่าจะเป็น เนย ชีส เป็นต้น ไขมันทรานส์ การนำเอาไขมันไม่อิ่มตัวไปเติมไฮโดรเจนบางส่วน ประเภทของไขมันในร่างกาย […]


โรคอ้วน

สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ และสาเหตุที่ส่งผลให้น้ำหนักเกิน มีอะไรบ้าง

โรคอ้วน นับว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราทุกคนควรระวัง โดยเฉพาะกับช่วงวัยผู้ใหญ่ เพราะไม่พียงแค่จะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่ม หรือไขมันสะสมจำนวนมากแล้ว แต่ยังจะเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ได้อีกด้วย และเพื่อป้องกันตนเองห่างไกลจากสภาวะดังกล่าว วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรสังเกตมาฝากกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้ช่วงวัยผู้ใหญ่มักเป็น โรคอ้วน ถึงแม้ว่า โรคอ้วน สามารถเกิดสืบทอดได้จากยีนทางพันธุกรรมในด้านระบบการเผาผลาญ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว แต่ขณะเดียวกันพฤติกรรมบางอย่างที่คุณเพิกเฉย ดังต่อไปนี้ นั้นก็ย่อมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรคอ้วน ได้ ขาดการออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับปานกลาง สามารถช่วยให้เผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินได้อย่างมาก โดยสิ่งที่คุณควรปรับเปลี่ยนคือ การเริ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ตามความชอบอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารจานด่วน เครื่องดื่มปริมาณน้ำตาลสูง เป็นต้น ก็ย่อมล้วนแต่ก่อให้เกิด โรคอ้วน ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากขาดการควบคุมปริมาณไขมัน แคลอรี่ที่เหมาะสม จึงส่งผลให้คุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน พร้อมไขมันเกาะใต้ผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรรู้ คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเข้าสู่ โรคอ้วน ได้ก็ต่อเมื่อ คุณมีการวัดดัชนีมวลกาย แล้วพบว่ามีระดับตัวเลขสูงกว่ามาตรฐาน […]


โรคอ้วน

ไขมันที่ต้นขา มีสาเหตุจากอะไร แก้ไขได้อย่างไร

ไขมันที่ต้นขา ที่สะสมมานานและไม่ถูกเผาผลาญย่อมทำให้ต้นขาใหญ่ ผิวหนังหย่อนคล้อย รวมทั้งอาจทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างต้นขาทั้งสองข้างขณะเดินหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนั้น อาจทำให้ขาดความมั่นใจในการแต่งตัว ทั้งนี้ ไขมันที่ต้นขา สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการเลือกรับประทาน การออกกำลังกาย เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของ ไขมันที่ต้นขา ไขมันที่ต้นขามีสาเหตุคล้ายกับการสะสมของไขมันในส่วนต่าง ๆ มักเกิดจากไขมันส่วนเกินที่ไม่ถูกเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน นอกจากนี้ อาจเกิดจากภาวะ Lipedema หรือภาวะบวมน้ำเหลืองซึ่งส่วนมากจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นภาวะที่ส่งผลให้ไขมันกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างผิดปกติ จนเห็นได้ชัดว่าบริเวณต้นขา ก้น และต้นแขนบวมขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ผิวหนังฟกช้ำได้ง่าย 3 ท่าออกกำลังกาย เพิ่มความกระชับกล้ามเนื้อขา การออกกำลังกายเป็นวิธีลดไขมันที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องพึ่งยา โดยเฉพาะผู้ที่มีวินัยในการออกกำลังกาย ย่อมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพที่เพียงพอในการลดไขมัน ทั้งนี้ ท่าออกกำลังกายที่อาจช่วยเปลี่ยนไขมันส่วนเกินบริเวณต้นขาให้กลายเป็นกล้ามเนื้อกระชับเต่งตึงขึ้นได้มีดังนี้ 1. Squats เริ่มต้นด้วยการยืนตรง แยกเท้าออกจากกันความกว้างเท่ากับไหล่ แล้วนำแขน และมือทั้ง 2 ข้างยื่นตรงไปด้านหน้าพร้อมกับย่อตัวลงเล็กน้อย โดยสังเกตเข่าไม่ให้เกินปลายเท้า จากนั้นยืดตัวตรงกลับเข้าสู่ท่าเดิม และทำวนเช่นนี้ซ้ำกัน 2 เซ็ต เซ็ตละ 15 ครั้ง 2. Calf raises หากจะให้เข้าใจกันง่ายขึ้นก็เปรียบเสมือนเป็นการเขย่ง โดยเริ่มจากยืนตัวตรงแยกเท้าออกจากกันเล็กน้อย พร้อมกับหันหน้าเข้ากำแพง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน