โรคอ้วน

โรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ซึ่งปัจจุบันความอ้วนอาจนำไปสู้ภาวะทางสุขภาพระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิดได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคอ้วน

มาทำความรู้จัก โรคอ้วนกับเบาหวาน ชนิดที่ 2

โรคอ้วนกับเบาหวาน เป็นของคู่กันหรือไม่นั้นอย่างไรยังไม่สามารถหาคำตอบได้แน่ชัด แต่อย่างหนึ่งเลย คือ โรคอ้วนถือเป็นปัจจัยในการทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นมาได้ แล้วคุณคิดว่า โรคอ้วนเสี่ยงกับเบาหวานชนิดใดนั้น ลองอ่านที่บทความนี้ดูสิ สาเหตุ และปัจจัยการเกิดโรคอ้วน สาเหตุ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่กลายเป็นโรคอ้วน คือพฤติกรรมการกิน เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ทำให้คนส่วนมากเลือกที่จะสั่งอาหารแบบจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ด โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารหรือโภชนาการที่ในแต่ละวันควรได้รับ การได้รับแคลอรีในแต่ละวันมากกว่าที่เผาผลาญด้วยการออกกำลังกาย หมายถึงร่างกายไม่ได้มีการเผาผลาญที่เพียงพอจนเกิดเป็นโรคอ้วน พฤติกรรมที่เสี่ยงแบ่งนี้ทำให้เกิดโรคอ้วนกับเบาหวานได้ และหากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงอายุที่เพิ่มขึ้น และจากพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วน โรคอ้วนกับเบาหวาน แล้วเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดใดกันนะ โรคอ้วนปัจจัยหลักที่ส่งผลทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือไขมันส่วนเกินภายในร่างกายถูกย่อยสลายเป็นกรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid) กับกลูโคสดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อกลูโคส และกรดไขมันอยู่ในกระแสเลือดมากจนเกินไป ส่งผลให้ตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลินในการช่วยดูดซึมน้ำตาลในเลือดต้องผลิตอินซูลินมากขึ้น ตับอ่อนจึงทำงานหนักเพิ่มขึ้น จนกระทั่งตับอ่อนทำงานไม่ไหว ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 คืออะไร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างที่ควรจะเป็น เกิดจาก “ภาวะดื้ออินซูลิน” ภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจไม่มีอาการเหมือนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง เนื่องจากอาการที่ค่อย ๆ […]

สำรวจ โรคอ้วน

โรคอ้วน

น้ำหนัก กับสุขภาพ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

น้ำหนัก อาจมีความสำคัญในการช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น เนื่องจากการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพและโรคร้ายแรงบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมของไขมันในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีปัจจัยมาจากการรับประทานอาหารไขมันสูง พันธุกรรม การไม่ออกกำลังกายหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การจัดการกับน้ำหนักตัวเป็นเพียงการประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น ไม่สามารถยืนยันแนวโน้มของปัญหาสุขภาพหรือการเกิดโรคได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำหนัก สำคัญอย่างไรต่อสุขภาพ น้ำหนัก มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ซึ่งการรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมตามเกณฑ์หรือค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.90 อาจช่วยป้องกันและควบคุมโรคต่าง ๆ ได้ หากบุคคลมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คอเลสเตอรอลสูง โรคถุงน้ำดี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ การรักษาน้ำหนักตัวยังอาจส่งผลดีต่อสภาพจิตใจ ความสุขทางอารมณ์ ช่วยปรับปรุงรูปร่าง และให้ความรู้สึกมั่นใจ และคล่องตัวมากขึ้นในการใช้ชีวิต น้ำหนัก ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากอะไร น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากมวลกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมันและน้ำในร่างกาย ซึ่งปัจจัยของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีมวลไขมันสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เค้ก คุกกี้ อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันส่วนเกินไว้ในร่างกายมากขึ้น การไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันได้ […]


โรคอ้วน

BMR เครื่องมือคำนวณการเผาผลาญพลังงาน

BMR หรือ อัตราการเผาผลาญพลังงาน เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการเผาผลาญและการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม อาจเหมาะกับผู้ที่ต้องการลด เพิ่มและควบคุมน้ำหนักเพื่อรูปร่างและสุขภาพที่ดี โดยอาจทำควบคู่กับการออกกำลังกายและควบคุมการรับประทานอาหารในแต่ละวัน เพื่อช่วยเพิ่มเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้รวดเร็วขึ้น BMR คืออะไร BMR (Basal Metabolic Rate) คือ อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในขณะพัก หรืออัตราการใช้พลังงานขั้นต่ำในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาการทำงานขั้นพื้นฐานของร่างกายให้เป็นปกติตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การหายใจ การไหลเวียนของเลือด การย่อยและการดูดซึมอาหาร การทำงานของเซลล์ ความสำคัญของ BMR BMR อาจมีความสำคัญต่อผู้ที่ต้องการลด เพิ่มหรือควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามเกณฑ์หรือตามความต้องการ เนื่องจากการคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงานอาจช่วยให้ทราบว่าร่างกายต้องการแคลอรี่เท่าไหร่ และควรบริโภคแคลอรี่ประมาณเท่าไหร่เพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยลด เพิ่มหรือควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ปริมาณความต้องการแคลอรี่ในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เพศ และระดับความเข้มข้นในการทำกิจกรรมของแต่ละคน สำหรับปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวันสำหรับผู้ใหญ่เพศชายและเพศหญิง อาจมีดังนี้ ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 แคลอรี่/วัน ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ควรได้รับพลังงานประมาณ  2,000 แคลอรี่/วัน ผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากในแต่ละวัน เช่น ออกกำลังกาย เกษตรกร งานใช้แรงงาน ควรได้รับพลังงานประมาณ  2,400 แคลอรี่/วัน วิธีคำนวณ BMR อัตราการเผาผลาญพลังงานอาจคำนวณได้ ดังนี้ ผู้ชาย […]


โรคอ้วน

วิธีลด เหนียง กระชับใบหน้าให้เรียว ทำได้อย่างไร

วิธีลด เหนียง เป็นวิธีที่อาจช่วยลดไขมันสะสมใต้ชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณใต้คาง ลดปัญหาผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อยเนื่องจากการสะสมของไขมันที่มากเกินไป รวมถึงลดเหนียงที่เกิดขึ้นตามวัย ซึ่งวิธีลดเหนียงอาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และวิธีทางการแพทย์ เหนียง เกิดจากอะไร เหนียง คือ ลักษณะผิวหนังหย่อนคล้อยบริเวณใต้คาง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดจากไขมันใต้ผิวหนังที่สะสมในปริมาณมากบริเวณใบหน้าและใต้คาง พบบ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ เหนียงยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีลักษณะใบหน้าสั้นหรือมีเหนียงตั้งแต่กำเนิด อาจส่งต่อทางพันธุกรรมได้ อายุ การสะสมของไขมันบริเวณผิวหนังใต้คางร่วมกับความยืดหยุ่นของผิวหนังที่ลดลงตามอายุ อาจทำให้ผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อยและเกิดเป็นเหนียงได้ ลักษณะทางกายภาพและการเผาผลาญไขมัน แต่ละคนมีการเผาผลาญไขมันและการสะสมของไขมันในร่างกายที่แตกต่างกัน ในบางคนอาจมีรูปร่างผอมและไขมันสะสมมากที่บริเวณใบหน้าและใต้คาง ส่งผลให้คนผอมอาจมีเหนียงได้เช่นกัน พฤติกรรมท่าทางที่ทำซ้ำ ๆ เช่น การก้มหน้าเล่นมือถือเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังบริเวณใต้คางถูกกดทับซ้ำ ๆ จนเกิดความอ่อนตัว และเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อย สูญเสียความยืดหยุ่นจนกลายเป็นเหนียง การรับประทานอาหาร เหนียงอาจมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง อาหารแปรรูป ของทอด จึงอาจทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้คางมากขึ้น วิธีลด เหนียง วิธีลด เหนียง อาจมีเป้าหมายเพื่อลดการสะสมของไขมันใต้คาง ซึ่งสามารถช่วยลดเหนียงได้ในระยะยาว โดยวิธีลดเหนียงอาจทำได้ ดังนี้ การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ซึ่งช่วยลดการสะสมของไขมันทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งช่วยลดไขมันบริเวณใต้คาง โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ […]


โรคอ้วน

Cushing syndrome คืออะไร มีสาเหตุและอาการอะไรบ้าง

Cushing syndrome (กลุ่มอาการคุชชิง) คือ ภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากเกินไป จนทำให้เกิดความบกพร่องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการทำงานของระบบการเผาผลาญ จนอาจส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่ม มีไขมันสะสม และเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน หากสังเกตว่ามีอาการเหนื่อยล้า น้ำหนักขึ้นผิดปกติ มีไขมันสะสมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาทันที [embed-health-tool-bmi] Cushing syndrome คืออะไร  Cushing syndrome คือ ความผิดปกติของร่างกาย่ที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป โดยฮอร์โมนคอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนถูกสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต มีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และการเผาผลาญไขมันในอาหารให้เป็นพลังงาน แต่หากมีปริมาณมากก็อาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล จนเสี่ยงก่อให้เกิดโรค Cushing syndrome ที่ส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนลงพุง มีไขมันสะสมบนใบหน้า อีกทั้งยังอาจเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูกได้ สาเหตุของ Cushing syndrome สาเหตุของ Cushing syndrome มีดังนี้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) ที่นิยมใช้รักษาโรคหอบหืด โรคลูปัส (Systemic Lupus […]


โรคอ้วน

ldl cholesterol คืออะไร ส่งผลกระทบกับสุขภาพอย่างไร

ldl cholesterol (Low-Density Lipoprotein) คือ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันไม่ดี ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ในตับ และอาจได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หากมีระดับของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกายสูง อาจเกิดการสะสมบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน และขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] ldl cholesterol คืออะไร ldl cholesterol คือ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันไม่ดี มีลักษณะเป็นสารคล้ายขึ้ผึ้ง ที่พบได้ในเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ในตับ นอกจากนี้ ไขมันไม่ดียังอาจอยู่ในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง อาหารทอด ขนมหวาน และยิ่งหากมีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ก็อาจส่งผลเพิ่มปริมาณไขมันไม่ดีจนส่งผลให้ไขมันสะสมบนผนังหลอดเลือด เสี่ยงเป็นภาวะคอเลสเตอรอลสูงและหลอดเลือดตีบอุดตัน เพราะปกติแล้วการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายดึงไขมันมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทำให้ลดการสะสมของไขมันไม่ดีได้ ldl cholesterol ส่งผลกระทบกับสุขภาพอย่างไร หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูง อาจเกิดคราบจุลินทรีย์เกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตัน จนส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ต่าง ๆ ได้น้อยลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก […]


โรคอ้วน

น้ำหนักตัวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

น้ำหนักตัวกับสุขภาพ เป็นสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เนื่องจากน้ำหนักตัวอาจสามารถบ่งบอกได้ว่าสุขภาพร่างกายเป็นอย่างไรหากมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือน้ำหนักเกินก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคอ้วน ขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน ดังนั้น การทราบเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ความสัมพันธ์ของ น้ำหนักตัวกับสุขภาพ  ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับสุขภาพ คือการที่น้ำหนักตัวอาจบ่งบอกได้ว่า สุขภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์ใด ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้ ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนดเกณฑ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยคำนวณได้จากสูตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร จะได้เท่ากับ 60 ÷ 1.7 = 20.8 จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์น้ำหนักตัวว่าอยู่ในเกณฑ์ใด  เกณฑ์น้ำหนักตัวตามค่าดัชนีมวลกาย อาจแบ่งได้ดังนี้ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า 18.5 อาจเกิดจากความเครียด เบื่ออาหาร หรือเป็นภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นภาวะขาดสารอาหาร โรคกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ […]


โรคอ้วน

วิธีคํานวณ BMI และการอ่านผลลัพธ์หลังคำนวณ

BMI ย่อมาจาก Body Mass Index คือ การหาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่ามีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากการมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์อาจส่งผลให้เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ประโยชน์ของการ คำนวณ BMI การคำนวณหาค่า BMI อาจช่วยให้ทราบว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมากเกินกว่าเกณฑ์หรือไม่ เพื่อจะได้ทำการเพิ่มน้ำหนักหรือลดน้ำหนักอย่างเหมาะสม โดยอาจขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพราะหากปล่อยให้น้ำหนักไม่สมดุลเป็นเวลานานอาจเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะสุขภาพบางอย่าง ดังนี้ ความเสี่ยงจากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายขาดสารอาหาร  ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ปัญหาการเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาจเกิดภาวะมีบุตรยาก โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคโลหิตจาง ความเสี่ยงจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน  โรคเบาหวาน  โรคข้ออักเสบ   ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ  ระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งเต้านม วิธีคำนวณ BMI วิธีคำนวณ BMI สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถคำนวณได้โดยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร)2 ปกติแล้วสำหรับประเทศไทยมักใช้หน่วยวัดความสูงเป็นเซนติเมตร จึงอาจเปลี่ยนค่าส่วนสูงให้เป็นเมตรโดยการนำ ส่วนสูง (เซนติเมตร) […]


โรคอ้วน

ดัชนีมวลกาย คืออะไร สำคัญอย่างไร

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) เป็นเครื่องมือที่ใช้คำนวณเปรียบเทียบค่าน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อประเมินความสมดุลของสภาวะร่างกายในปัจจุบัน สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการน้ำหนักไม่ให้ต่ำหรือสูงจนเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคขาดสารอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายอาจมีข้อจำกัดในผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก บวมน้ำหรือมีสัดส่วนตัวเล็กกว่าปกติ อาจทำให้ค่าสูงหรือต่ำแม้ว่าจะไม่ได้มีภาวะน้ำหนักน้อยหรือสูงกว่าปกติ [embed-health-tool-bmi] ดัชนีมวลกาย คืออะไร ดัชนีมวลกาย คือ ค่าน้ำหนักตัวที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง เป็นการประเมินมวลกายโดยรวมที่อาจแสดงถึงการเผาผลาญอาหารในร่างกาย หรือแนวโน้มในการเกิดโรค ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวบอกว่าน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือมีแนวโน้มน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจช่วยในการควบคุมน้ำหนักและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยค่าดัชนีมวลกายอาจแบ่งได้ ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 หมายถึง น้ำหนักน้อยมากหรือผอมเกินไป ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.90 หมายถึง น้ำหนักและความสมดุลของร่างกายอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ค่าดัชนีมวลกาย 23-24.90 หมายถึง น้ำหนักเกิน ควรควบคุมน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย 25-29.90 หมายถึง โรคอ้วนระดับที่ 1 ควรควบคุมน้ำหนัก และอาจเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด […]


โรคอ้วน

การป้องกันโรคอ้วน เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน

การป้องกันโรคอ้วน ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงได้หลายชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งการรับประทานอาหารถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยป้องกันโรคอ้วนและส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างยั่งยืน [embed-health-tool-bmi] โรคอ้วน คืออะไร โรคอ้วน คือ โรคที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีไขมันสะสมในร่างกายมาก อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูง โดยเฉพาะแป้ง ไขมันและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด จึงทำให้พลังงานส่วนเกินถูกเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในรูปแบบไขมัน นอกจากนี้ โรคอ้วนยังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีควรมีค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI อยู่ที่ 18.5-22.90 ซึ่งเป็นค่าน้ำหนักตัวที่แสดงถึงความสมบูรณ์แข็งแรงและความสมส่วนของร่างกาย แต่หากมีค่า BMI 23-24.90 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน และค่า BMI 25-30 ขึ้นไป จัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน อาจเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โดยสามารถใช้วิธีคำนวณ BMI จากค่า น้ำหนักตัว […]


โรคอ้วน

โรคอ้วนกับความเสี่ยงมะเร็ง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคอ้วน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อีกทั้ง โรคอ้วนกับความเสี่ยงมะเร็ง ก็ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนบางชนิด เช่น อินซูลิน เอสโตรเจน ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงที่เซลล์จะเจริญเติบโตผิดปกติจนนำไปสู่โรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี อาจช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ โรคอ้วน เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมากเกินไป โรคอ้วนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อย อาจได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่างการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป เช่น อาหารไขมันสูง อาหารน้ำตาลสูง การใช้ชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ การไม่ค่อยออกกำลังกาย นอกจากนี้ พันธุกรรม ประวัติโรคอ้วนของคนในครอบครัว ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนได้เช่นกัน การประเมินโรคอ้วนในเบื้องต้นนิยมใช้การตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) โดยการนำน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 ถือว่าน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 ถือว่าน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ หรือสมส่วน ค่าดัชนีมวลกาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน