backup og meta

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

การมีสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข แมว หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ อยู่ในบ้าน ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยมากมายหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามสัตว์เลี้ยงอาจนำเชื้อโรคเข้ามาสู่คนในบ้านได้ด้วยเช่นกัน เพื่อการรับมือและระมัดระวัง Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง และวิธีรับมือในเบื้องต้น

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่ควรระวัง

สัตว์เลี้ยงแม้จะมีความน่ารัก มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ทว่าในหลายๆ ครั้ง ไม่เพียงแต่สัตว์เลี้ยงจะนำเห็บและหมัดมาติดเจ้าของเท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ยังสามารถแพร่เชื้อโรคให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่มากับสัตว์เลี้ยงที่คุณควรระมัดระวังและควรรู้จัก ได้แก่

1.โรคกลาก  (Ringworm)

กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา และไม่ได้มีสาเหตุมาจากการหมักหมมหรือความสกปรกแค่เพียงอย่างเดียว เพราะเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยอย่างสุนัข หรือแมว ก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคนี้มาสู่เราได้เช่นกัน ซึ่งจะติดต่อกันผ่านการสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสัมผัสกับสัตว์ที่มีการติดเชื้อ โดยเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการของผื่นแดงบริเวณผิวหนัง มีการตกสะเก็ด และมีอาการคัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ ควรรีบนำสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคกลากไปพบคุณหมอ

2.โรคท้องร่วงจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter)

โรคนี้เกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระของสุนัขหรือแมวที่ติดเชื้อ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง เป็นตะคริว และมีไข้ขึ้นสูงในระยะเวลา 2-5 วันหลังการสัมผัสอุจจาระของสัตว์ แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ควรไปพบคุณหมอ

3.โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease)

โรคแมวข่วน เกิดจากการถูกแมวที่ติดเชื้อกัด หรือข่วน หรือเลียเข้าที่แผล ทำให้แผลหรือบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการปวด บวม และเป็นรอยแผล ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย

4.โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)

บางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราอาจจะไปกินสัตว์จำพวกนก หนู หรือสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ จนกระทั่งติดเชื้อปรสิตมาจากการกินสัตว์เหล่านั้น ปรสิตดังกล่าวจะถูกส่งผ่านออกมาทางอุจจาระ เมื่อมีการทำความสะอาดกระบะสำหรับขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อนั้นได้ โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดกระบะขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากเชื้อปรสิตดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบไปยังทารกในครรภ์ อาจมีผลต่อระบบประสาทและดวงตาของทารกได้

5.การติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella)

สัตว์เลี้ยงจำพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน สามารถเป็นพาหะในการแพร่เชื้อซาลโมเนลลามาสู่คนได้ โดยติดต่อผ่านการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อโดยตรง หรืออุจจาระ เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการท้องร่วง มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ภายใน 12-72 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับเชื้อ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 4-7 วัน แต่สำหรับอาการท้องร่วง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง จึงควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อพบกับคุณหมอ

6.โรคไข้นกแก้ว (Psittacosis)

โรคไข้นกแก้ว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของสัตว์ปีกที่กำลังป่วย ไม่ว่าจะเป็นนกแก้ว หรือสัตว์ปีกจำพวกไก่ (แต่โดยมากจะพบจากสัตว์ตระกูลนกแก้ว) เมื่อติดเชื้อจะมีไข้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีอาการไอแห้ง ท้องร่วง ปัสสาวะมีสีเขียว เบื่ออาหาร และอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดได้

7.การติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis

การติดเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis มาจากการที่มีสัตว์เลี้ยงจำพวกหนูเป็นพาหะ เช่น แฮมสเตอร์ โดยมีการแพร่เชื้อผ่านทางการสัมผัสกับน้ำลาย ปัสสาวะ เลือด หรืออุจจาระของหนูที่กำลังติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ แต่หากเลวร้ายกว่านั้น เชื้อโรคอาจพัฒนาจนกระทั่งมีอาการของเยื้อหุ้มสมองอักเสบ โดยเฉพาะในหญิงที่ตั้งครรภ์ เชื้อดังกล่าวสามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ มีผลต่อการมองเห็นและระบบประสาทของทารก

 วิธีปฏิบัติตนหลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง

การพาสัตว์เลี้ยงออกไปเล่นข้างนอก การเล่นกับสัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง ทั้งยังช่วยให้สัตว์เลี้ยงไม่เครียด แต่หลังจากการเล่นและสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง ควรที่จะมีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์เหล่านั้น โดยสามารถทำได้ ดังนี้

1.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง การให้อาหาร รวมไปถึงหลังการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ของสัตว์เลี้ยง

2.พยายามหลีกเลี่ยงการจูบหรือหอมกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ที่กำลังป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่อาจมาจากน้ำลาย

3.ไม่ควรให้สัตว์เลี่ยงออกมาเพ่นพล่านในบริเวณที่มีอาหารหรือกำลังทำอาหาร รวมถึงไม่นำสัตว์เลี้ยงมาทำความสะอาดใกล้ครัว ควรนำสัตว์เลี้ยงไปทำความสะอาดข้างนอกบ้าน

4.ระมัดระวังสัตว์ต่างถิ่นหรือแปลกหน้าที่หลงเข้ามาในบ้านเนื่องจากสัตว์ตัวนั้นอาจกำลังติดเชื้อโดยที่เราไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า

5.สังเกตอาการและพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่ากำลังป่วย ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษา

 Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diseases You Can Get From Your Pets. https://pets.webmd.com/ss/slideshow-diseases-from-pets. Accessed December 12, 2019.

What Are the Diseases Your Pet Can Give You?. https://www.healthline.com/health-news/diseases-your-pet-can-give-you. Accessed December 12, 2019.

Infections That Pets Carry. https://kidshealth.org/en/parents/pet-infections.html. Accessed December 12, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Khongrit Somchai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภูมิแพ้ในเด็ก สัตว์เลี้ยง จะช่วยป้องกันได้หรือไม่

สัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา