การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

เชื้อแบคทีเรีย คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ในสถานที่ต่าง ๆ รวมไปถึงภายในร่างกายของเรา เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่อาจไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อและสภาวะต่าง ๆ ที่อันตรายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น ๆ ที่ควรรู้จัก เพื่อการดูแลและป้องกันสุขภาพของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

เรื้อน (Leprosy)

โรค เรื้อน (Leprosy) คือ โรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน คำจำกัดความเรื้อน คืออะไร เรื้อน (Leprosy) คือโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium leprae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่แขน ขา ผิวหนัง เยื่อบุจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เส้นประสาทเกิดความเสียหาย และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง หากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคเรื้อนอาจจะทำให้ระบบประสาทเสียหาย ส่งผลให้บริเวณมือและแขนอาจเป็นอัมพาตได้ นอกจากนี้ โรคเรื้อนยังอาจลดประสิทธิภาพของประสาทสัมผัส ทำให้รับรู้ความรู้สึกได้น้อยลง ผู้ป่วยจึงอาจจะไม่รู้สึกตัวเมื่อเกิดบาดแผล และทำให้บาดแผลนั้นรุนแรงขึ้นได้ โรค เรื้อน พบบ่อยแค่ไหน โรคเรื้อนี้สามารถพบได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น หรือกึ่งเขตร้อน เช่น ประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถเกิดได้กับคนทุกเทศทุกวัย ตั้งแต่ไปทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ อาการอาการของโรค เรื้อน โรคเรื้อนจะส่งผลต่อผิวหนังและระบบประสาทในบริเวณสมองและไขสันหลัง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อดวงตาและเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกอีกด้วย อาการทางผิวหนัง อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวบางส่วนเปลี่ยนสี อาจจะมีสีจางกว่าบริเวณรอบข้าง และอาจจะมีอาการชาร่วมด้วย มีตุ่มขึ้นบนผิวหนัง ผิวแห้ง หนา และแข็ง มีแผลเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือมือ ใบหน้า หรือติ่งหูบวมขึ้น ขนคิ้วและขนตาร่วง อาการที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวหนังบางส่วนมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต โดยเฉพาะบริเวณมือและขา เส้นประสาทบวมขึ้น มีปัญหาในการมองเห็น อาการที่เกิดขึ้นกับเยื่อเมือกในโพรงจมูก อาจมีดังต่อไปนี้ คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยออก เลือดกำเดาไหล สำหรับผู้ป่วยบางราย […]

สำรวจ การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

การมีสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข แมว หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ อยู่ในบ้าน ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยมากมายหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามสัตว์เลี้ยงอาจนำเชื้อโรคเข้ามาสู่คนในบ้านได้ด้วยเช่นกัน เพื่อการรับมือและระมัดระวัง Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง และวิธีรับมือในเบื้องต้น โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่ควรระวัง สัตว์เลี้ยงแม้จะมีความน่ารัก มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ทว่าในหลายๆ ครั้ง ไม่เพียงแต่สัตว์เลี้ยงจะนำเห็บและหมัดมาติดเจ้าของเท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ยังสามารถแพร่เชื้อโรคให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่มากับสัตว์เลี้ยงที่คุณควรระมัดระวังและควรรู้จัก ได้แก่ 1.โรคกลาก  (Ringworm) กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา และไม่ได้มีสาเหตุมาจากการหมักหมมหรือความสกปรกแค่เพียงอย่างเดียว เพราะเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยอย่างสุนัข หรือแมว ก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคนี้มาสู่เราได้เช่นกัน ซึ่งจะติดต่อกันผ่านการสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสัมผัสกับสัตว์ที่มีการติดเชื้อ โดยเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการของผื่นแดงบริเวณผิวหนัง มีการตกสะเก็ด และมีอาการคัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ ควรรีบนำสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคกลากไปพบคุณหมอ 2.โรคท้องร่วงจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) โรคนี้เกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระของสุนัขหรือแมวที่ติดเชื้อ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง เป็นตะคริว และมีไข้ขึ้นสูงในระยะเวลา 2-5 วันหลังการสัมผัสอุจจาระของสัตว์ แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ควรไปพบคุณหมอ 3.โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease) โรคแมวข่วน เกิดจากการถูกแมวที่ติดเชื้อกัด หรือข่วน หรือเลียเข้าที่แผล ทำให้แผลหรือบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการปวด บวม และเป็นรอยแผล ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย 4.โรคท็อกโซพลาสโมซิส […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพกับของ 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน

เคยไหมเพื่อน หรือคนรอบตัวที่สนิทกันหลายๆ ของคุณ มักชอบหยิบยืมสิ่งของกันจนถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ หรือแม้เครื่องสำอางก็ตาม แต่รู้หรือเปล่าว่ามีของบางอย่างที่แม้จะสนิทกันขนาดไหนก็ไม่ควรให้กันยืมกันนะคะ เพราะเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าหากันได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จะขออาสาพาไปดู 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน ซึ่งหากใครกำลังทำอยู่ โปรดหยุดเสียดีกว่านะคะก่อนที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน แปรงสีฟัน แปรงสีฟันก็เป็นของใช้ส่วนตัวอีกอย่างที่ไม่ควรยืมกัน แม้จะสนิทกันมากขนาดไหนก็ตาม เพราะการแปรงฟันเพื่อทำความสะอาดช่องปาก หากช่องปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียก็จะเป็นการกระจายเชื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นหากคุณลืมแปรงสีฟันควรยอมเสียเวลาหาซื้อ ไม่ควรยืมของคนอื่น ผ้าเช็ดตัว หลังจากอาบน้ำเสร็จเรียบร้อย ผ้าเช็ดตัวมักเป็นสิ่งแรกที่คุณหยิบขึ้นมาซับน้ำที่เปียกอยู่ทั่วร่างกาย หากคุณใช้ผ้าเช็ดตัวมาเป็นเวลานานโดยไม่เคยซักทำความสะอาดเลย อาจทำให้ผ้าเช็ดตัวของเราเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเป็นจำนวนมากก็ได้ เพราะผ้าขนหนูนั้นแทบจะชื้นอยู่ตลอดเวลาซึ่งถือเป็นอุณหภูมิที่เชื้อโรคชอบกันมาก ยิ่งคุณเห็นรอยดำๆ บนผ้าเช็ดตัวแล้วละก็ นั่นอาจเป็นเชื้อราที่กำลังก่อตัวได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เมื่อใช้งานแล้วอาจเกิดปัญหาโรคผิวหนังตามมา ดังนั้นทางที่ดีเราไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัวของคนอื่นหรือให้คนอื่นใช้ผ้าเช็ดตัวของตัวเองเพราะอาจเป็นการกระจายเชื้อโรค และที่สำคัญควรหมั่นซัก หรือทำความสะอาดผ้าเช็ดตัวอยู่เสมอ และตากในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีแสงสว่างส่องถึง ผ้าเช็ดตัวจะได้แห้ง ไม่อับชื้น เครื่องสำอาง เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งอย่างที่สาวๆ มักหยิบยืมกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น ลิปสติก บลัชออน แป้ง อายแชโดว์ แต่จะนับเป็นเรื่องธรรมดาก็ไม่เชิง เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรทำเลยจะดีเสียกว่า เพราะโรคบางโรคสามารถติดต่อกันอย่างง่ายดายผ่านการสัมผัสแบบใกล้ชิด เช่น โรคเริม เมื่อใช้ลิปสติกร่วมกับผู้ที่เป็นโรคเริม น้ำลายหรือเชื้อโรคที่ติดอยู่บนลิปสติกสามารถส่งผ่านไปยังผู้ใช้ได้ หรือแม้แต่แป้ง บลัชออน เครื่องสำอางเหล่านี้ที่ใช้กับผู้ที่เป็นโรคผิวหนังแล้วถูกใช้ต่ออาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้อีกด้วยเช่นกัน จึงบางครั้มก็อาจส่งผลให้บางคนเกิดอาการคัน มีรอยแดง […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) มีส่วนช่วยป้องกัน โรคระบบทางเดินอาหาร ได้อย่างไรบ้าง

เรามักจะคิดว่า แบคทีเรีย คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ดีต่อร่างกาย แต่ปรากฏว่าร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียกหลายล้านล้านตัว และ แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ นอกจากจะมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ยังถือว่ามีบทบาทสำคัญที่จะทำให้คุณมีสุขภาพแข็งแรง แบคทีเรียในทางเดินอาหารคืออะไร แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut Bacteria) จะอยู่ในลำไส้ 300-500 ชนิดของแบคทีเรีย โดยมียีนเกือบ 2 ล้านตัวและจะจับคู่กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นๆ เช่นไวรัสและเชื้อรา โดยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้จะสร้างสิ่งที่เรียกว่าไมโครไบโอตา (microbiota) หรือไมโครไบโอม (microbiome) เช่นเดียวกันกับลายนิ้วมือ ไมโครไบโอตาของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป กล่าวคือไมโครไบโอตาเป็นการผสมผสานของแบคทีเรียในร่างกายของคุณ ที่จะแตกต่างจากของผู้อื่น ซึ่งบางส่วนถูกกำหนดจากไมโครไบโอตาของแม่ ที่เป็นสภาพแวดล้อมที่คุณเคยสัมผัสมาตั้งแต่เกิด และบางส่วนมาจากอาหารที่กินและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต แบคทีเรียอาศัยอยู่ทั่วร่างกายของคุณ แต่ที่อยู่ในลำไส้อาจมีผลกระทบมากที่สุดต่อสุขภาพ เนื่องจากแบคทีเรียเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารทั้งหมด และส่วนใหญ่จะอยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จึงส่งผลต่อทุกๆ อย่างตั้งแต่การเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ไปจนถึงอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันด้วย แบคทีเรียในทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ได้อย่างไรบ้าง งานวิจัยแนะนำว่า แบคทีเรียในทางเดินอาหารในผู้ที่มีสุขภาพดีจะแตกต่างจากผู้ที่เป็นโรค เนื่องจากคนป่วยอาจมีแบคทีเรียบางชนิดน้อยเกินไปหรือมากเกินไป หรือผู้ป่วยอาจขาดแบคทีเรียหลากหลายชนิด ที่บางชนิดช่วยป้องกันโรคในขณะที่ชนิดอื่นอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรค นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้เริ่มเชื่อมโยงระหว่าง โรคภัยไข้เจ็บกับแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ดังนี้ โรคลำไส้อักเสบ ได้แก่ โรคโครห์น (Crohn’s disease) และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล (Ulcerative colitis) ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีแบคทีเรียในทางเดินอาหารที่ต้านการอักเสบในระดับต่ำ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ โรคบาดทะยัก เพื่อให้รับมือโรคอันตรายนี้ได้ทัน

โรคบาดทะยัก จัดเป็นอีกโรคหนึ่ง ที่คนทั้งในอดีตและปัจจุบันยังไม่ค่อยรู้จักดีนัก เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคบาดทะยัก เพื่อให้คุณทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าโรคบาดทะยักมีอาการและสาเหตุอย่างไรบ้าง เพื่อคุณจะได้รับมือกับบาดทะยัก ได้ทันท่วงที โรคบาดทะยัก คืออะไร โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือ การติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสตริเดียมทีตานี (Clostridium tetani) เมื่อเชื้อนี้แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย แบคทีเรียนี้จะสร้างสารพิษที่รุนแรงเรียกว่า เตตาโนสะปาสมิน (Tetanospasmin) ซึ่งจะไปทำลายเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่าเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons) จนเสียหาย อาการของโรคบาดทะยัก หลังจากที่เชื้อแบคทีเรียบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลลึก อาจต้องใช้เวลาไม่กี่วันจนถึงหลายสัปดาห์ กว่าสัญญาณและอาการของโรคบาดทะยักจะแสดงออกมา ซึ่งระยะฟักตัวของการติดเชื้อโดยเฉลี่ย คือ 7 ถึง 10 วัน สัญญาณและอาการที่พบได้บ่อยของโรคบาดทะยัก ก็คือ อาการชักกระตุกและแข็งเกร็งที่อวัยวะหลายส่วน นอกจากนี้ โรคบาดทะยักยังสามารถทำให้เป็นไข้ เหงื่อออก ความดันโลหิตเพิ่มสูง และเร่งอัตราการเต้นของหัวใจได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีบาดแผลลึกหรือสกปรก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาและฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันบาดทะยัก หากคุณยังไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักภายใน 5 ปี หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดกระตุ้นบาดทะยักไปแล้วหรือยัง ควรฉีดใหม่อีกครั้งในทันที สาเหตุของโรคบาดทะยัก เชื้อคลอสตริเดียมทีตานีหรือที่รู้จักกันว่า สปอร์ของแบคทีเรีย คือ สาเหตุของบาดทะยัก สามารถพบได้ในฝุ่นละออง ดิน และมูลสัตว์ หากคุณบาดเจ็บ และมีบาดแผลลึก เชื้อบาดทะยักจะสร้างพิษเตตาโนสะปาสมินและทำลายเซลล์ประสาทสั่งการ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อของคุณจะเริ่มรู้สึกแข็ง […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคลายม์ (Lyme Disease)

โรคลายม์ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ คำจำกัดความ โรคลายม์คืออะไร โรคลายม์ (Lyme Disease) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า บอร์เรลเลีย เบิร์กดอร์เฟอไร (Borrelia burgdorferi) การติดเชื้อเกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคติดต่อ สหรัฐฯ โอกาสในการติดเชื้อลายม์จากการถูกเห็บกัด ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเห็บประเภทใด คุณอยู่ที่ใดขณะถูกกัด และเห็บกัดคุณเป็นเวลานานแค่ไหน เห็บชนิด Black-legged จะต้องกัดคุณอยู่ถึง 24 ชั่วโมงในการแพร่เชื้อลายม์ โรคลายม์พบบ่อยแค่ไหน โรคลายม์เป็นโรคที่พบได้บ่อย จากข้อมูลของกรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ จำนวนผู้ที่ติดเชื้อโรคลายม์ 30,000 คน ถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก และจากผลการประเมินล่าสุด กรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริการายงานว่า ชาวอเมริกันเป็นโรคลายม์สูงถึง 3 แสนคนต่อปี ควรปรึกษาเแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคลายม์ อาการของโรคลายม์ที่พบบ่อย มีดังนี้ หนาวสั่น เวียนศีรษะ เป็นไข้ ข้อต่อบวม กล้ามเนื้อใบหน้าขาดความกระชับ ต่อมน้ำเหลืองโต ปัญหาเกี่ยวกับความจำ ปวดกล้ามเนื้อ อาการชา ใจสั่น อาการปวดร้าว คอแข็ง อาการเสียวแปลบ บางคนอาจมีอาการหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับโรคลายม์ ดังนี้ ผื่นแดง ปวดข้อต่อ ปวดศีรษะ อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด ผื่นแดงเป็นสัญญาณเตือนที่ดีเมื่อคุณถูกกัด และการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจได้ผลในขั้นนี้ แต่หากเกิดอาการที่กล่าวไว้ข้างต้นควรรีบพบแพทย์ อาจมีอาการอื่นๆ ของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์ สาเหตุ สาเหตุของโรคลายม์ ในสหรัฐอเมริกา แบคทีเรียสองชนิดที่ทำให้เกิดโรคลายม์ ได้แก่ แบคทีเรียบอร์เรลีย […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้หรือไม่?

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) ไม่ได้นำมาแค่ความรู้สึกที่ไม่สบายตัว แต่ยังนำพาความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เป็นอันตรายมาอีกด้วย แล้วเราจะสามารถป้องกัน และรักษาการติดเชื้อนี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบค่ะ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คืออะไร โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) คือ การติดเชื้อภายในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งระบบนี้ประกอบไปด้วย ท่อปัสสาวะหนึ่งเส้น หนึ่งกระเพาะปัสสาวะ ท่อไตสองเส้น (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างไต และกระเพาะปัสสาวะ) ไตสองข้าง การติดเชื้อนั้นสามารถเกิดได้ที่ท่อปัสสาวะ (ท่อปัสสาวะอักเสบ) ไต (กรวยไตอักเสบ) กระเพาะปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) หรือเกิดอาการเหล่านี้ร่วมกัน โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด จากเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในลำไส้ เรียกว่า เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล หรือเชื้ออีโคไล (Escherichia coli; E.coli)  การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้ออีโคไล มักแพร่กระจายจากทวารหนักขึ้นมาสู่ท่อปัสสาวะ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต่อไปนี้ คือ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าคนอื่น ดังนี้ ผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เช่น โรคต่อมลูกหมากโต (Enlarged prostate gland) ซึ่งส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะว่างเปล่าเป็นบางส่วน ผู้หญิงโดยทั่วไป เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงมักจะยาวแค่ประมาณ 4 เซนติเมตร เชื้อแบคทีเรียสามารถเดินทางผ่านช่องทางที่สั้นนี้ จากภายนอกร่างกายเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ เด็ก โดยเฉพาะทารกและเด็กที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะโดยกำเนิด ผู้ที่ใช้สายสวนท่อปัสสาวะ (Urinary catheters) โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยหนักจนไม่สามารถปัสสาวะได้เอง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สัญญาณและอาการของโรค อาการทั่วไปของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะมีดังนี้ เป็นไข้ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

แผลติดเชื้อ (wound infection)

แผลติดเชื้อ (wound infection) เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในรอยแผลที่ผิวหนัง อาจเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น หรือส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปหรืออวัยวะที่อยู่ใกล้แผล คำจำกัดความ แผลติดเชื้อคืออะไร แผลติดเชื้อ (wound infection) เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในรอยแผลที่ผิวหนัง การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น หรือส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปหรืออวัยวะที่อยู่ใกล้แผล การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดบาดทะยัก (tetanus) อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อาการแทรกซ้อนของแผลติดเชื้อ มีความหลากหลายตั้งแต่การติดเชื้อเฉพาะที่ ไปจนถึงทั่วร่างกาย อาการแทรกซ้อนเฉพาะบริเวณของแผลติดเชื้อที่รุนแรงที่สุดก็คือแผลหายช้า ทำให้แผลไม่หายง่ายๆ มักทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อาการไม่สบาย และอาการไม่สบายทางจิตใจเป็นอย่างมาก อาการแทรกซ้อนทั่วร่างกาย ได้แก่ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังชั้นหนังแท้หรือใต้ผิวหนัง กระดูกอักเสบ (osteomyelitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูกและไขกระดูก หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia) หรือการมีแบคทีเรียในเลือดที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย พบได้บ่อยเพียงใด แผลติดเชื้อค่อนข้างพบได้ทั่วไป โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของแผลติดเชื้อ อาการทั่วไปของแผลติดเชื้อ ได้แก่ มีของเหลวสีเหลือง สีเหลืองปนเขียว หรือมีกลิ่นเหม็นออกจากแผล มีอาการปวด บวม หรือรอยแดงมากขึ้นในบริเวณหรือใกล้แผล มีการเปลี่ยนสีหรือขนาดของแผล มีรอยแดงที่ผิวหนังโดยรอบแผล มีไข้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของแผลติดเชื้อ แผลติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย ซึ่งเกิดทั้งจากเชื้อที่อยู่ที่ผิวหนังตามปกติ หรือแบคทีเรียจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลติดเชื้อที่พบได้มากที่สุด คือ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำขังและต้องระวังแม้จะเป็น “คนเมือง”

ในช่วงฤดูฝน อาจส่งผลให้ในหลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขัง  และทำให้หลายคนอาจเสี่ยงต่อการเกิด “โรคฉี่หนู”  อีกด้วย  ถึงแม้ว่าในเขตเมืองจะไม่มีการปลูกข้าวทำนา แต่หากมีน้ำท่วมขังและมีบรรดาหนูบ้านพลุกพล่าน ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนูได้เช่นเดียวกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคฉี่หนูให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีวิธีการรักษาและการป้องกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย โรคฉี่หนู คืออะไร โรคฉี่หนู หรือไข้ฉี่หนู หรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า “Leptospira” ซึ่งมีผลต่อทั้งคนและสัตว์ สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งของเชื้อโรค ทำให้ได้ชื่อว่าโรคฉี่หนู ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในช่วงฤดูฝนต่อจนถึงในฤดูหนาว เพราะช่วงนี้พื้นดินแฉะ มีน้ำขัง เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและสะสมของเชื้อในธรรมชาติ โรคฉี่หนูมักพบได้มากตามจังหวัดที่ทำการปลูกข้าว บริเวณที่ต้องย่ำน้ำ หรือแหล่งน้ำขังที่มีพาหะนำโรคชุกชุม ในเขตเมืองที่แม้จะไม่มีการปลูกข้าวทำนา แต่หากมีน้ำท่วมขังและมีบรรดาหนูบ้านพลุกพล่าน ก็มีโอกาสพบกับโรคฉี่หนูได้เช่นเดียวกัน โรคฉี่หนูติดต่อกันได้หรือเปล่า โรคฉี่หนู จะติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะรับเชื้อมาจากการสัมผัสกับปัสสาวะ เลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะหรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป และเข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา ปาก หรือไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน บางครั้งเชื้อชนิดนี้สามารถมีชีวิตได้นานหลายเดือน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน