backup og meta

ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ก่อนที่จะกล่าวถึงเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ที่กำลังระบาดหนักในเมือง อู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งกำลังถูกพูดถึงและจับตามองของคนทั่วโลกในตอนนี้ เราควรเริ่มต้นกันที่เชื้อโคโรนากันก่อน ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสตระกูลใหญ่ที่สามารถก่อให้เกิดโรค ตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคในระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ เชื้อที่ว่านี้สามารถที่จะพบทั้งในสัตว์และคน ทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ อย่าง โรคซาร์ส โรคเมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019  สายพันธุ์ล่าสุดที่กำลังระบาดหนักในขณะนี้ด้วย

ซาร์ส เมอร์ส และ โคโรนา ไวรัส 2019 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร 

  • โรคซาร์ส หรือไวรัสซาร์ส หรือ Severe acute respiratory syndrome (SARS)

ถูกค้นพบครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 2002 มีการค้นพบว่าแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสซาร์สมาจากค้างคาว และเชื้อดังกล่าวสามารถที่จะติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการไอ หรือจาม

อาการของโรคซาร์ส มีอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูงถึง 38 องศาหรือสูงกว่านั้น มีอาการหนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอแห้ง หายใจถี่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

  • วรัสเมอร์ส หรือ Middle East respiratory syndrome (MERS)

ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2012 ในประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศในแถบตะวันออกกลาง สำหรับไวรัสชนิดนี้พบว่ามีการติดเชื้อผ่านการสัมผัสกับอูฐ การบริโภคนมหรือเนื้อของอูฐที่มีการติดเชื้อ ส่วนการติดต่อจากคนสู่คนของไวรัสเมอร์สนั้น พบว่าสามารถติดต่อได้ผ่านทางการไอหรือจาม แต่การที่จะติดเชื้อไวรัสเมอร์สมาจากผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากจริง ๆ เช่น พยาบาล แพทย์ หรือสมาชิกในครอบครัว เพราะจำเป็นต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจถี่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการท้องร่วงร่วมด้วย และยังพบอีกว่า ผู้ที่มีอาการทางสุขภาพมาแต่เดิมแล้ว เช่น มีโรคประจำตัว อย่าง โรคปอด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคไต เป็นต้น มีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการป่วยในระดับอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติ

  • ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ ไวรัสอู่ฮั่น Wuhan coronavirus (2019-nCoV)

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในขณะนี้ แหล่งกำเนิดของเชื้อนั้นยังไม่มีการฟันธงอย่างแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่า อาจมาจากการสัมผัสหรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ เช่น ค้างคาว หรืองู และยังพบว่าสามารถที่จะติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก หรือเสมหะ

อาการทั่วไปของผู้ติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ คือ มีไข้ มีอาการไอ หายใจลำบากหรือหายใจถี่ โดยจะมีอาการปรากฎตั้งแต่ 2-14 วัน หลังจากที่มีการติดเชื้อ

จะเห็นได้ว่า อาการของการติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดนั้น แทบไม่มีความแตกต่างกัน ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสก็มีที่มาที่คล้ายกัน เชื้อไวรัสก็ยังเป็นเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกันอีกด้วย ดังนั้น หากมีข้อสงสัย หรือเป็นกังวลว่าคุณกำลังติดเชื้อไวรัสชนิดใด ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

วิธีป้องกันตนเองจากโคโรนา ไวรัส 2019

แม้ความแตกต่างของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด จะมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่ในแง่ของวิธีการป้องกันการติดเชื้อนั้น สามารถที่จะทำได้ในรูปแบบที่เหมือนกันทั้งสามสถานการณ์ ดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อผ่านการไอ หรือจาม
  • ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ครั้งละอย่างน้อย 20 วินาที
  • ใช้เจลอนามัยในการทำความสะอาดมือ เวลาที่ต้องสัมผัสกับสิ่งของในที่สาธารณะ
  • ควรล้างมือทุกครั้งหากมีการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือสัตว์ที่มีการติดเชื้อ
  • ระมัดระวังการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมถึงงดการสัมผัสหรือการแสดงออกที่ใกล้ชิดเช่น การจูบ การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส
  • เช็ดและทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวที่ต้องใช้เป็นประจำด้วยแอลกอฮอล์
  • งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ปรึกษาแพทย์ทันที หากสังเกตได้ว่าตนมีอาการป่วยที่เข้าข่ายควรเฝ้าระวัง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

2019 Novel Coronavirus, Wuhan, China. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/faq.html. Accessed on January 27, 2020.

Novel coronavirus 2019 (2019 n-CoV). https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/novel-coronavirus.aspx. Accessed on January 27, 2020.

MERS vs. SARS: Compare and contrast. https://www.healio.com/infectious-disease/emerging-diseases/news/print/infectious-disease-news/%7B422866a7-0445-49b3-ac14-54b39bebbba6%7D/mers-vs-sars-compare-and-contrast. Accessed on January 27, 2020.

SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome). https://www.who.int/ith/diseases/sars/en/. Accessed on January 27, 2020.

Severe acute respiratory syndrome (SARS). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sars/symptoms-causes/syc-20351765. Accessed on January 27, 2020.

Middle East respiratory syndrome coronavirus 

(MERS-CoV). https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/middle-east-respiratory-syndrome-coronavirus-(mers-cov). Accessed on January 27, 2020.

Middle East Respiratory Syndrome (MERS). https://www.cdc.gov/coronavirus/mers/about/symptoms.html. Accessed on January 27, 2020.

How the new coronavirus stacks up against SARS and MERS. https://www.sciencenews.org/article/how-new-wuhan-coronavirus-stacks-up-against-sars-mers. Accessed on January 27, 2020.

How Does Wuhan Coronavirus Compare With MERS, SARS And The Common Cold?. https://www.npr.org/sections/goatsandsoda/2020/01/22/798277557/how-does-wuhan-coronavirus-compare-to-mers-sars-and-the-common-cold. Accessed on January 27, 2020.

Coronavirus. https://www.webmd.com/lung/coronavirus#1. Accessed on January 27, 2020.

2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV), Wuhan, China. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/summary.html. Accessed on January 27, 2020.

What Is SARS?. 2020.https://www.webmd.com/lung/lung-what-is-sars#1.Accessed on January 27, 2020.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ควรรู้เมื่อ โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แพร่ระบาด

เทคนิคท่องเที่ยว ให้ปลอดภัยจาก ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา