backup og meta

ชนิดของวัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบกัน

ชนิดของวัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบกัน

ในปัจจุบัน หลากหลายบริษัทด้านการแพทย์ ได้เร่งแข่งขันกันผลิต วัคซีนโควิด-19 ออกมา เพื่อช่วยรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงทั่วโลก ทำให้มีวัคซีนโควิด-19 ชนิดต่าง ๆ ออกมา แต่ ชนิดของวัคซีนโควิด-19 นั้นจะมีอะไรบ้าง และแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ ได้เลยค่ะ

ชนิดของวัคซีนโควิด-19 ที่มีในไทย

วัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบันมีหลากหลายชนิด แบ่งออกตามยี่ห้อหรือบริษัทที่ผลิตวัคซีนนั้น ๆ และแต่ละประเทศก็อาจจะเลือกใช้วัคซีนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะสั่งวัคซีนชนิดไหนไว้ โดยชนิดของ วัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ มีอยู่ 2 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้

  • แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)

วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนที่นำเอารหัสพันธุกรรมสำคัญของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (เชื้อโรคโควิด-19) มาแทรกลงในไวรัสโรคหวัดธรรมดาที่ไม่เป็นอันตราย เมื่อเชื้อไวรัสหวัดธรรมดาที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จะทำการสร้างโปรตีนที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้จดจำและหาทางต่อต้านไวรัสนี้ ทำให้เมื่อร่างกายของเราได้รับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ขึ้นมาจริง ๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราก็จะพร้อมสำหรับการต่อต้านไวรัสโควิด-19 นั้น

วัคซีนชนิดนี้สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ผลข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ได้แก่ ปวดเมื่อย เหนื่อยล้า ปวดหัว มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ผลข้างเคียงเหล่านี้จะมีอาการไม่รุนแรง และมักจะหายไปได้เองภายใน 1-2 วัน ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงได้แก่ ลิ่มเลือดอุดตัน และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ค่อนข้างหายาก และมีโอกาสในการเกิดค่อนข้างต่ำ

นอกจากนี้ วัคซีนชนิดนี้ยังไม่ค่อยแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากเป็นวัคซีนที่เชื้อยังมีชีวิตอยู่ หากระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีพออาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกันประมาณ 10-12 สัปดาห์

  • ซิโนแวค (Sinovac)

วัคซีนซิโนแวค หรืออีกชื่อหนึ่งคือ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) คือ วัคซีนโควิด-19 ประเภทเชื้อตาย หมายถึงการนำเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ตายไปแล้วมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเหล่านั้น เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว จึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะก่อให้เกิดโรคติดเชื้อนั้น ๆ หากผู้รับวัคซีนมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แต่ในขณะเดียวกัน วัคซีนเชื้อตายก็อาจจะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนั้นต่ำกว่าวัคซีนประเภทอื่นด้วยเช่นกัน จากผลการวิจัยจากประเทศบราซิล พบว่า วัคซีนโควิด-19 ชนิดซิโนแวค มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50% เท่านั้น

ทางกรมควบคุมโรค กำหนดให้ฉีดวัคซีนซิโนแวคกับผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ มีอาการปวดในบริเวณที่ฉีดยา ปวดหัว เหนื่อยล้า ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ หนาวสั่น เป็นไข้ คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้อง ผื่นแดง ตะคริว เป็นต้น นอกจากนี้ วัคซีนโควิด-19 ยังอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ เช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้วัคซีนกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ลมชัก เกล็ดเลือดต่ำ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาทางจิต ควรระมัดระวังอย่างมากในการรับวัคซีนชนิดนี้ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสภาวะเหล่านี้ให้แพทย์ทราบก่อนรับวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหลังจากได้รับวัคซีน

วัคซีนซิโนแวค ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์

ชนิดของวัคซีนโควิด-19 อื่น ๆ

นอกเหนือจาก วัคซีน 2 สองชนิดหลักที่มีอยู่ในเมืองไทยแล้ว ยังมี วัคซีนโควิด-19 ชนิดอื่นที่ใช้กันในต่างประเทศด้วย ได้แก่

  • วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech) เป็นวัคซีนประเภท mRNA หมายถึงวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสก่อโรค นำมาฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน จากงานวิจัยปัจจุบันพบว่ามีประสิทธิภาพมากถึง 95% จากคำแนะนำของ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้กับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
  • วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) เป็นวัคซีนประเภท mRNA อีกเช่นกัน มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพใกล้เคียงกับวัคซีนไฟเซอร์ จากคำแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ ให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson’s Janssen) เป็นวัคซีนประเภท Viral Vector เช่นเดียวกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ใช้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในปัจจุบัน เป็น วัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวที่ต้องฉีดเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น
  • วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนและอื่น ๆ เป็นวัคซีนประเภทเชื้อตาย จากผลการวิจัยในปัจจุบัน ถือว่ามีประสิทธิภาพประมาณ 79% ในการป้องกันโควิด-19 ใช้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

ุถึงแม้วัคซีนเหล่านี้จะถือว่าค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง และได้รับการรับรองตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่การรับวัคซีนทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงเสมอ หากคุณสังเกตพบอาการความผิดปกติหลังได้รับวัคซีน ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อทำการรักษาอาการอย่างเหมาะสมให้ทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/. Accessed May 27, 2021.

รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19. https://www.doh.wa.gov/Portals/1/Documents/1600/coronavirus/GettingVaccinated-Thai.pdf. Accessed May 27, 2021.

Different COVID-19 Vaccines. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines.html. Accessed May 27, 2021.

Update ข้อมูลวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19. https://www.med.cmu.ac.th/covid19/ข่าวเด่น/3455/. Accessed May 27, 2021.

Vaccine Types. https://www.hhs.gov/immunization/basics/types/index.html. Accessed May 27, 2021.

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน COVID-19 ของ AstraZeneca. https://www.health.gov.au/sites/default/files/documents/2021/04/covid-19-vaccination-covid-19-astrazeneca-information-on-covid-19-astrazeneca-vaccine_9.pdf. Accessed May 27, 2021.

CoronaVac. https://www.covidvaccine.gov.hk/pdf/COVID19VaccinationFactSheet_CoronaVac_ENG.pdf.Accessed May 27, 2021.

The Sinopharm COVID-19 vaccine: What you need to know. https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/the-sinopharm-covid-19-vaccine-what-you-need-to-know. Accessed May 27, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การไปเดินออกกำลังกาย นอกบ้าน ในช่วงโควิด-19 ระบาด แบบปลอดภัย ไม่เสี่ยงติดไวรัส

งานวิจัยชิ้นใหม่เผย โควิด-19 ทำคน เสี่ยงฆ่าตัวตาย มากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา