โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

ไวรัสโคโรนา

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

งานวิจัยจีนเผย Hydroxychloroquine ไม่มีประสิทธิภาพ ในการรักษา COVID-19

ในปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามในการค้นคว้าข้อมูลและทำการวิจัย เพื่อค้นหาวิธีการในการรักษาการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่างโควิด-19 นี้ ยาไฮดร็อกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ก็เป็นหนึ่งในยาที่ถูกนำมาใช้ในหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นยาที่สามารถใช้เพื่อรักษาโควิด-19 ได้ แต่ในงานวิจัยชิ้นล่าสุดที่พบในจีน กลับให้ข้อมูลตรงกันข้าม และบอกว่า ยาไฮดร็อกซีคลอโรควินรักษาโควิด-19 ไม่ได้ อย่างที่เคยเข้าใจกันก่อนหน้านี้ ยาไฮดร็อกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) เป็นยารักษาโรคมาลาเรีย (malaria) ชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์โดยการฆ่าเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคมาลาเลีย ก่อนหน้านี้ทางอเมริกาและหลายๆ ประเทศ ได้จัดให้ยาไฮดร็อกซีคลอโรควิน เป็นหนึ่งในยาที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 โดยเชื่อว่ายานี้จะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคได้ แต่ในงานวิจัยที่นำโดย ดร. เหว่ย ถัง (Wei Tang) จากโรงพยาบาลในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ได้แสดงให้เห็นว่ายาไฮดร็อกซีคลอโรควินนั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพในการช่วยรักษาหรือช่วยกำจัดไวรัสโควิด-19 ออกจากร่างกายมากไปกว่าการดูแลรักษาตามปกติแต่อย่างใด ทั้งยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้อีกด้วย สิ่งที่ยานี้สามารถช่วยได้คือ ช่วยบรรเทาอาการบางอย่างของโรคโควิด-19 ได้ โดยฤทธิ์ต้านอักเสบของยานี้ อาจจะช่วยลดระดับของโปรตีน C-reactive protein ที่เป็นตัวชี้วัดของการอักเสบ ทำให้ช่วยบรรเทาอาการของโควิด-19 บางอาการได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับยาไฮดร็อกซีคลอโรควิน อาจมีผลข้างเคียงในระดับเบา เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดก็คืออาการท้องเสีย ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้กล่าวว่า […]


ไวรัสโคโรนา

5 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19

เนื่องจากความใหม่ของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันนั้น ทำให้เกิดความกังวลและข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับโรคระบาดนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือที่เรียกว่าโรคเอดส์ (AIDS) วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19 เพื่อช่วยตอบข้อสงสัยให้ทุก ๆ คน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ เอชไอวีและโควิด-19 ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่าผู้อื่นหรือไม่ ในปัจจุบันนี้ เรายังไม่มีข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยเอชไอวี แต่มีงานวิจัยเล็กๆ ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretrovirals) ในกลุ่มผู้ป่วยเอชไอวีที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน ผลการรายงานพบว่าอัตราในการติดโควิด-19 นั้นคล้ายคลึงกับความเสี่ยงของผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีบางปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยเอชไอวี ดังนี้ ผู้ป่วยเอชไอวีในระดับรุนแรง ผู้ป่วยที่มีระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแต่ไม่ได้รับการรักษา คนในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคนั้นได้มากกว่าปกติ และควรระมัดระวังในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เป็นอย่างมาก หากคุณอาศัยอยู่กับผู้ป่วยเอชไอวี คุณจะสามารถป้องกันโควิด-19 ได้อย่างไร คำแนะนำในการป้องกันโควิด-19 สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้ป่วยเอชไอวีนั้นยังคงเหมือนกับคำแนะนำตามปกติ โดยมีข้อปฏิบัติหลักๆ คือ ล้างมือด้วยสบู่นานอย่างน้อย 40 วินาที เป็นประจำ เวลาที่ออกไปข้างนอก หรือไม่สะดวกที่จะล้างมือด้วยสบู่ ก็ควรล้างมือด้วยเจลล้างมือ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป อย่าสัมผัสใบหน้า ดวงตา และปาก เนื่องจากอาจทำให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ พยายามหลีกเลี่ยงคนที่มีอาการป่วย สวมหน้ากากอนามัย […]


ไวรัสโคโรนา

ผู้เป็นโรคหอบหืด จะดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองในช่วง COVID-19 นี้ได้อย่างไร

โรคติดต่อ โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน สร้างความวิตกกังวลและความหวาดกลัวให้ผู้คนไม่น้อย ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจจะมีระดับความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น โรคประจำตัว และหนึ่งในโรคที่มีความเสี่ยงสูงนั้นก็คือ โรคหอบหืด โรคหอบหืดกับโควิด-19 นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้ ความเสี่ยงระหว่างผู้เป็น โรคหอบหืดกับโควิด-19 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพหัวใจ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะมาจากการทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ติดเชื้อเอชไอวี สูบบุหรี่ ปลูกถ่ายอวัยวะ และอื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง รวมไปจนถึง โรคหอบหืด จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคหอบหืดระดับปานกลางจนถึงรุนแรง อาจเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากติดโควิด-19 เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ สามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นจมูก ลำคอ หรือปอด และทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น ปอดอักเสบ อาการหอบกำเริบ นอกจากนี้ เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังสามารถทำลายระบบทางเดินหายใจ และทำให้ปอดเสียหาย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว อย่างผู้ป่วยโรคหอบหืด […]


ไวรัสโคโรนา

ไขข้อสงสัย! สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายคนทั่วโลกเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะอีกหนึ่งข่าวที่ทำให้คนรักสัตว์หลายคนเกิดความวิตกกังวลสูงยิ่งขึ้น เมื่อข่าวได้มีการระบุว่า สัตว์เลี้ยงสามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ทำให้หลายคนเกิดความสังสงสัยว่า แท้จริงแล้ว สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่กันนะ วันนี้ Hello คุณหมอ มาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ  สัตว์สามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่? หลายคนอาจสงสัยว่า สัตว์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ คำตอบคือ จริงค่ะ สัตว์สามารถติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้  สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สัมผัสหรืออยู่คลุกคลีใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเชื้อไวรัสโควิด-19 จะแพร่กระจายไปสู่เยื่อบุทางเดินหายใจของสัตว์ ตัวอย่างเช่นสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่าง เสือ ในสวนสัตว์นิวยอร์กของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นับว่าเป็นสัตว์ตัวแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ว่าได้ โดยกระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการตรวจเลือดเสือตัวนี้เนื่องจากเริ่มมีอาการป่วยและกินอาหารได้น้อยลง พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเชื่อว่าเสือตัวนี้ได้รับเชื้อจากการถูกสัมผัสจากพนักงานสวนสัตว์คนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรควิด-19 และดูเหมือนว่าเสือที่อาศัยอยู่คอกเดียวกันกับเสื้อที่ติดเชื้อจะมีลักษณะอาการคล้ายกับเสือที่ติดเชื้ออีกด้วย  อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติม ที่บ่งชี้ว่าสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันในสวนสัตว์นิวยอร์กแสดงอาการที่เข้าข่ายว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 วิธีปกป้องสัตว์เลี้ยง ให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 จนกว่าจะมีข้อบ่งชี้ที่ระบุแน่ชัดว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 นี้มีผลต่อสัตว์อย่างไรบ้าง วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันเพื่อให้สัตว์เลี้ยงของคุณปลอดภัยต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนี้ เลี้ยงสัตว์แบบระบบปิด อย่าให้ออกมานอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีปฎิสัมพันธ์กับสัตว์ตัวอื่นหรือคนภายนอก หากนำสัตว์เลี้ยงออกมาเดินเล่นนอกบ้าน ควรใช้สายจูงที่มีความยาวอย่างน้อย 2 เมตร และควรหลีกเลี่ยงการพาไปในพื้นที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก หากคุณสงสัยว่าตนเองได้ติดเชื้อโควิด-19 หรือติดเชื้อโควิด-19 คุณควรแยกตัวออกจากคนรอบข้างรวมถึงสัตว์เลี้ยงของคุณด้วย หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง ในกรณีที่คุณติดเชื้อไวรัสโควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

ติดโควิดกักตัวกี่วัน และข้อควรปฏิบัติเมื่อกักตัวอยู่บ้าน

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ติดโควิดกักตัวกี่วัน โควิด-19 เป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้อย่างง่ายได้ ทั้งทางน้ำลาย น้ำมูก และสารคัดหลั่งอื่นๆ ซึ่งผู้ที่ติดเป็นกลุ่มเสี่ยง ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือไปในที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ โดยปกติแล้วเชื้อชนิดนี้จะใช้เวลาในการฟักตัวนาน 2-14 วันจึงจะแสดงอาการ แม้เชื้อนี้จะอยู่ในช่วงฟักตัว ก็สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ด้วย [embed-health-tool-bmi] ใครที่ควรกักตัว และสถานที่แบบใดที่ควรใช้ในการกักตัว การกักตัวที่บ้านนั้น เป็นมาตรการในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งผู้ที่ควรกักตัวอยู่บ้านคือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะติดโควิด เช่น ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ผู้ที่มีการยืนยันแล้วว่าติดโควิดแต่มีอาการไม่หนัก สามารถหายใจเองได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นที่ทีมแพทย์จะต้องดูแลบ่อย ๆ กลุ่มคนเหล่านี้ก็สามารถกักตัวอยู่ที่บ้านได้เช่นกัน ซึ่งผู้ที่ควรกักตัวที่บ้านนั้นควรมีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่พร้อมสำหรับการกักตัวด้วย ดังนี้ มีห้องนอนแยกเป็นของตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังคนในครอบครัว มีอาหารและสิ่งของจำเป็นสำหรับอุปโภคและบริโภคในช่วงกักตัว ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยและสวมถุงมือทุกครั้งที่ต้องออกจากห้องมาใช้พื้นที่ส่วนรวมในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ติดโควิดกักตัวกี่วัน คำแนะนำในการกักตัวอยู่บ้านสำหรับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ล่าสุด สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ เป็นไข้ จาม และไม่มีอาการปอดอักเสบ ควรกักตัวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบอาการรุนแรงควรติดต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในทันที หลักการ กักตัวอยู่บ้าน เมื่อสงสัยว่าติดโควิด-19 ที่ผู้ป่วยควรทำ […]


ไวรัสโคโรนา

หยุด! สัมผัสใบหน้า หากคุณอยากให้อัตราการแพร่เชื้อโควิด-19 ลดลง

เป็นที่ทราบกันดีว่า โควิด-19 (COVID-19) สามารถแพร่กระจายติดต่อจากคนสู่คนได้ ด้วยการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น การไอ การจาม จนบางครั้งก็สามารถทำให้เชื้อไวรัสนี้แพร่ออกไปเกาะกับวัตถุ หรือผู้คนรอบข้าง ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มอัตราของจำนวนผู้ติดเชื้อให้พุ่งสูงยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนั้นตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เรายังคงจำเป็นต้องออกไปเผชิญในปัจจุบันก็อาจมีเชื้อ โควิด-19 แฝงตัวอยู่เช่นเดียวกัน อย่างราวจับบนรถฟ้า โต๊ะทำงาน หรือของใช้สาธารณะร่วมกัน เป็นต้น เพียงแค่พลั้งเผลอนำมือไปแตะต้อง และนำมา สัมผัสกับใบหน้า หรือลืมตัวจนนำมือหยิบจับอาหารเข้าปาก โดยไม่ผ่านการชำระล้างทำความสะอาด ก็อาจทำให้ตัวเราเองนั้นสุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ภายในได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูล และความรู้เบื้องต้นในการป้องกันเชื้อไวรัส โควิด-19 มาฝากให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่ชอบเผลอ สัมผัสใบหน้า หนึ่งในการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ในปี 2015 ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ณ ประเทศออสเตรเลียที่ ได้นำนักศึกษาแพทย์จำนวน 26 คน มาร่วมทำการทดสอบวิเคราะห์พฤติกรรม โดยในวิดีโอที่ถูกบันทึกภาพพบว่า นักศึกษาแพทย์มักสัมผัสกับใบหน้าของเขาโดยเฉลี่ย 23 ครั้งต่อชั่วโมง และเป็นการสัมผัสทั่วทั้งใบหน้า รวมไปถึงส่วนที่เป็นเยื่อเมือกบุผิว ถึง 44% พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แบคทีเรียจากสถานที่ หรือวัตถุต่าง ๆ ที่เราไปสัมผัสมาในแต่ละวัน พร้อมทั้งยังเป็นการแพร่กระจายไปในวงกว้างสู่ผู้อื่นได้อีก และนี่ก็คือหนึ่งในเหตุผลที่กระทรวงสาธารณะสุขของแต่ละประเทศมักกล่าวประกาศเตือนกันอยู่สม่ำเสมอ […]


ไวรัสโคโรนา

ข้อควรรู้ถึงการ กักตุนอาหาร ในวันหยุดยาว จากวิกฤต โควิด-19

ในช่วงสถานการณ์ของไวรัส โควิด-19 ที่ผ่านมา บางประเทศได้เริ่มมีการประกาศสั่งห้ามให้ผู้คนงดออกจากเคหะสถาน หรืออาจอนุญาตให้ออกได้ในกรณีที่จำเป็นตามข้อกำหนด ทำให้ช่วงแรกผู้คนตื่นตระหนกอย่างมาก จนต้องรีบเข้าห้างสรรพสินค้าที่ใกล้พื้นที่อาศัย เพื่อ กักตุนอาหาร จนเกิดความขาดแคลน และไม่เพียงพอต่อบุคคลกลุ่มอื่นที่ไม่สามารถจะออกมาหาซื้อได้ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว  วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะแก่การมีไว้ติดบ้านในช่วงของการแพร่ระบาด COVID-19 มาฝากกันค่ะ อาหาร ที่ควรกักตุน ในช่วงการแพร่ระบาด โควิด-19 ผักผลไม้กระป๋อง จากผักผลไม้สดที่เราคุ้นเคย กลับกลายมาเป็นผลไม้กระป๋อง ที่บางยี่ห้อนั้นก็อาจมีน้ำเชื่อมประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติในการทาน แม้ว่าจะผ่านการแปรรูปโดยกระบวนการของผู้ผลิต แต่คุณประโยชน์ที่อยู่ในตัวผักผลไม้นี้ก็ยังคงอยู่ไม่ต่างจากผักผลไม้สดแบบเดิม ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซี โพแทสเซียม ไฟเบอร์ และโปรตีน รวมถึงข้อดีบางอย่างเกี่ยวกับการเก็บรักษาที่สามารถช่วยยืดอายุ หรือชะลอความเน่าเสียของวัตถุได้ เนื้อสัตว์อบแห้ง เป็นการถนอมเนื้อสัตว์ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อมิให้โปรตีนในเนื้อสัตว์หายไปในระหว่างที่คุณยังไม่นำมาใช้ในการปรุงอาหาร และยังสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี ซึ่งการรับประทานเนื้อสัตว์อบแห้งนี้คุณจำเป็นต้องนำเนื้อสัตว์ผ่านความร้อน หรือนำไปปรุงสุกก่อนเสมอ เพราะเป็นการฆ่าเชื้อโรค สารเคมีปนเปื้อนบางอย่าง ก่อนเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แครกเกอร์ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการทานขนมปังคงต้องลองเปลี่ยนเป็นแครกเกอร์ หรือคุกกี้ที่ประกอบด้วยธัญพืชไปสักระยะ เนื่องจากขนมปังมักมีอายุการเก็บที่ค่อนข้างสั้น จึงอาจทำให้หมดอายุลงภายในไม่กี่วัน แต่แครกเกอร์นี้จะสามารถอยู่กับคุณได้เป็นเดือน ซึ่งอาจขึ้นอยู่การเก็บรักษาของคุณเอง ปลากระป๋อง และเนื้อสัตว์กระป๋อง อาหารกระป๋องเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในยามวิกฤต เพราะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และยังมีปริมาณที่เยอะพอที่จะรับประทานกันได้ทั้งครอบครัว ที่สำคัญเนื้อสัตว์ในกระป๋องมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนานถึง 5 ปี […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ในช่วงโควิด-19

การ Work from Home หรือ ทำงานที่บ้าน ในช่วงที่มีโรคโควิด-19 ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็ยังต้องทำงานให้ได้เหมือนอยู่ที่ออฟฟิศ นั่นแปลว่า สายตายังจำเป็นที่จะต้องทำงานหนักเหมือนเมื่อตอนอยู่ที่ออฟฟิศ หรืออาจจะมากกว่าเมื่อต้องทำงานที่บ้าน จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น อาการปวดตา หรือมีอาการตาล้าจากการจ้องอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน วันนี้ Hello คุณหมอ รวบรวมเอา วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา ในช่วงที่หลาย ๆ คนต้อง Work from Home แบบง่าย ๆ มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา ในช่วงที่คุณ ทำงานที่บ้าน มีอะไรบ้าง? เลือกมุมทำงานที่มีแสงสว่างเหมาะสม สถานที่บางมุมในบ้าน อาจไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการนั่งทำงาน ดังนั้นควรเลือกมุมที่มีแสงสว่างเข้าถึง และมีบรรยากาศที่เหมาะแก่การทำงาน ไม่มืดจนเกินไป หรือเป็นมุมอับไม่มีอากาศถ่ายเท  ปรับความสูงของจอภาพ ระยะที่เหมาะสมระหว่างจุดกึ่งกลางขอจอคอมพิวเตอร์กับสายตา คือ สายตาควรจะต้องอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์ มองลงมาที่จอคอมพิวเตอร์ในแนวเส้นตรง ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาเกิดความเมื่อยล้า ควรปรับแสงสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม โดยปรับให้อยู่ในระดับที่มองเห็นได้ชัดเจน ไม่สว่างจนเกินไป หรือมืดจนมองอะไรไม่เห็น จะสามารถช่วยลด อาการปวดตา หรืออาการล้าของดวงตาได้ ปรับอุณหภูมิของสีบนหน้าจอ อุณหภูมิของสีบนหน้าจอดิจิตอลก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะแสงสีน้ำเงินจากจอดิจิตอลนั้น มีขนาดความยาวของคลื่นที่สั้น จึงส่งผลให้เกิด อาการปวดตา เมื่อเทียบกับสีอื่น ๆ […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีปลุกไฟในการทำงาน เมื่อต้อง Work from Home ในช่วงโควิด-19

นโยบาย Work from Home หรือ ทำงานที่บ้าน ในช่วงการระบาดของ โรคโควิด-19 (COVID-19) เช่นนี้ ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของพนักงานในองค์กร แต่…รูปแบบของการทำงานอยู่ที่บ้าน อาจทำให้ใครหลายคนยังปรับตัวได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก และอาจเกิดความรู้สึกว่าพลังงานในการทำงานถดถอยลง เพราะทุกครั้งที่หันไปเห็นเตียงนอน ก็รู้สึกหมดพลังจนต้องขอไปนอนอีกสักพักใหญ่ก่อน แล้วงานค่อยว่ากัน ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นบ่อย ๆ งานก็คงจะไม่คืบหน้าเป็นแน่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับ วิธีปลุกไฟในการทำงาน เมื่อต้อง Work from Home มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ วิธีปลุกไฟในการทำงาน เมื่อต้อง ทำงานที่บ้าน มีอะไรบ้าง อย่าตื่นสาย แม้จะเป็นการ ทำงานที่บ้าน แต่การตื่นเช้าก็ยังจำเป็นอยู่ เพื่อที่จะได้มีการเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มทำงานโดยที่ไม่ต้องเร่งรีบเหมือนเมื่อครั้งต้องไปทำงานที่ออฟฟิศ อาจเป็นการจิบกาแฟ รับประทานอาหารเช้า หรือดูข่าวสักครู่หนึ่ง ก่อนจะเริ่มทำงานตามเวลาปกติ จัดพื้นที่หรือมุมสำหรับทำงาน หามุมสักหนึ่งมุมในบ้านที่ได้บรรยากาศที่ดีเหมาะแก่การทำงาน แสงสว่างเพียงพอ และไม่มีเสียงรบกวน โดยเฉพาะหากมีเด็ก ๆ ในบ้าน ที่ทำงานควรจะต้องห่างจากบริเวณที่เด็ก ๆ เล่น หรือทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดสมาธิในระหว่างการทำงานมากที่สุด จัดสรรตารางการทำงาน บางคนเมื่อได้ ทำงานที่บ้าน ก็จะเข้าใจว่าไม่ต้องมีแพลนใด ๆ ก็ได้ เพราะไม่มีใครมาสอดส่องดูแล […]


ไวรัสโคโรนา

กินให้สุขภาพดี ในช่วงที่ต้องกักตัวจากโควิด-19

เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส ทำให้หลายคนต้องกักตัวอยู่บ้าน นอกจากนั้นบางเวลายังไม่สามารถที่จะออกไปหาของกินได้เหมือนปกติ ทำให้ต้องมีการกักตุนของกินของใช้เอาไว้ เผื่อเวลาที่จำเป็น แต่ในช่วงเวลาแบบนี้เรื่องของสุขภาพ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูแล แล้วจะ กินให้สุขภาพดี ในช่วงที่ต้องกักตัวจากโควิด-19 ได้อย่างไร ทาง Hello คุณหมอมีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการกินมาฝากกัน กินให้สุขภาพดี ในช่วงที่ต้องกักตัวจากโควิด-19 ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 ยังระบาดอยู่ การ กินให้สุขภาพดี ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนต้องใส่ใจ เพราะถ้าสุขภาพดีแล้ว ร่างกายก็จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี แต่จะกินให้สุขภาพดี ได้อย่างไร ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดู วางแผนเพื่อซื้อของที่ต้องการเท่านั้น พฤติกรรมการกักตุน ด้วยการซื้อของกินของใช้เป็นจำนวนมากในช่วงที่กำลังตื่นตระหนก อาจมีผลกระทบในทางลบ เช่น ทำให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้น การกระจายสินค้าไม่ทั่วถึง ดังนั้น การวางแผนก่อนที่จะซื้อของจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เพื่อพิจารณาความต้องการของตัวเองก่อนที่จะออกไปซื้อของ คุณควรเริ่มต้นด้วยการประเมินของกินที่มีอยู่ในบ้านก่อน และวางแผนของที่จำเป็นจะต้องซื้อ วิธีนี้ทำให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียของกินโดยใช่เหตุ ทั้งยังทำให้ผู้อื่นได้เข้าถึงอาหารที่พวกเขาต้องการได้อีกด้วย จัดลำดับความสำคัญของส่วนผสม ควรจัดลำดับความสำคัญของส่วนผสม เพื่อจะได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สด ใหม่ ในการปรุงอาหาร และควรให้เลือกบริโภคอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บสั้นไปให้หมดเสียก่อน โดยปกติแล้วผลไม้สด ผักสด และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ จะเป็นอาหารที่ควรบริโภคลำดับต้น ๆ เพราะเป็นอาหารที่เน่าเสียง่าย ส่วนผักและผลไม้แช่แข็ง นอกจากจะสามารถใช้ปรุงอาหารได้สะดวก แต่ยังสามารถเก็บไว้ได้ในระยะเวลานาน ทำอาหารทานเอง โดยปกติแล้วหลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยมีเวลาทำอาหารทางเอง เพราะการปรุงอาหารอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานในการทำ แต่ความจริงแล้วอาหารเพื่อสุขภาพ ใช้เวลาทำเพียงไม่นาน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน