โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

ไวรัสโคโรนา

สำรวจ โรคติดเชื้อ

การติดเชื้อจากแมลง

ไข้เหลือง ภัยเงียบจากยุงตัวร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

เมื่อพูดถึงอันตรายจากยุงลายก็เชื่อว่าผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่อาจนึกถึง โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้ซิกา เป็นอันดับต้น ๆ แต่ยุงลายอาจเป็นพาหะของโรค ไข้เหลือง ด้วยเช่นกัน โดยจัดว่าเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มไข้เลือดออกอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-heart-rate] ไข้เหลือง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ไข้เหลือง (Yellow Fever) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตัวเหลืองและตาเหลืองเหมือนกับโรคดีซ่าน ปวดศีรษะ และมีไข้สูง โดยมักจะพบมากในประเทศแถบทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา และทะเลแคริบเบียน แม้ว่าจะไม่ค่อยพบโรคนี้ในทวีปเอเชียก็ตาม แต่ผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงก็ต้องระมัดระวังและป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง อย่างไรก็ตาม ไข้เหลืองเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส  (Flavivirus) ที่มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อจากผู้ป่วยโรคไข้เหลืองนำไปสู่คนปกติเหมือนกับโรคไข้เลือดออก แต่คำว่า หลือง มีที่มาจากอาการไข้ที่ร่วมกับอาการตัวเหลืองหรือภาวะดีซ่าน ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ อาการเบื้องต้นของไข้เหลือง เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้เหลืองจะมีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-6 วัน โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก มีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อรวมทั้งปวดหลังและปวดเอว ชีพจรเต้นช้าผิดปกติ แต่ประมาณ 3-4 วัน มักจะเริ่มมีอาการดีขึ้น ระยะที่สอง 15% ของผู้ป่วยโรคนี้เมื่อเข้าสู่ระยะที่สอง ในช่วงภายใน […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

เชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร ที่พบบ่อย และต้องระวังให้ดี หากคุณไม่อยากมีปัญหาสุขภาพ

อาหารที่ดีต้องช่วยส่งเสริมสุขภาพ กินแล้วร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรงขึ้น แต่บ่อยครั้งที่คนเราป่วยจากการกินอาหาร เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้เป็นผลจากการจากกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตต่างๆ แต่… เชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร ที่พบได้บ่อยจะมีอะไรบ้าง แล้วเราจะป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเหล่านั้นได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้ว เชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร ที่พบบ่อย อีโคไล เชื้ออีโคไล (Escherichia coli หรือ E.coli) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก และสัตว์เลี้ยงคลาน พูดง่ายๆ ก็คือ สัตว์หลายชนิดที่คนเรานิยมนำมาบริโภค ไม่ว่าจะเป็นวัว หมู ไก่ แกะ แพะ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นมวัวดิบ หรือแม้กระทั่งน้ำเปล่า ก็เสี่ยงปนเปื้อนเชื้ออีโคไลได้ทั้งสิ้น หากติดเชื้ออีโคไล จะมีอาการ ได้แก่ ท้องเสียรุนแรง ปวดท้อง อาเจียน เป็นเวลา 5-10 วัน และถึงแม้เชื้ออีโคไลส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่บางสายพันธุ์ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ เช่น อีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7  ที่สามารถทำให้ถ่ายเป็นเลือด […]


ไวรัสโคโรนา

สธ. ประกาศ ยกระดับ Covid-19 ให้เป็น “โรคติดต่ออันตราย” อันดับที่ 14 ของประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศยกระดับให้ COVID-19 หรือ โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้เป็น โรคติดต่ออันตราย อันดับที่ 14 ของประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ในขณะเดียวกันก็ยังคงยืนยันว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ในไทยนั้น ยังไม่เข้าสู่ ระยะที่ 3 เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่วมกัน ในการประกาศให้ COVID-19 หรือ ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็น โรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ.2558 ของไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและป้องกันโรคไม่ให้มีการแพร่ระบาด ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โดยจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถค้นหาผู้ป่วย และทำการควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าบ้าน ผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ทำการรักษา จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานกรมควบคุมโรคติดต่อ ภายใน […]


ไวรัสโคโรนา

สภากาชาดไทยปรับ เกณฑ์รับบริจาคเลือด ใหม่ ในช่วง ไวรัสโควิด-19 ระบาด

“โรคโควิด-19 (COVID-19)” เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2019 ซึ่งเริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ช่วงปลายปีพ.ศ. 2662 และปัจจุบันก็ยังคงเป็นปัญหาที่นานาชาติให้ความสำคัญและหาวิธียับยั้งกับอย่างเต็มกำลัง หลายภาคส่วนต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตราการเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ รวมถึงหน่วยงานทางการแพทย์อย่างสภากาชาดไทยเอง ก็ต้องปรับ เกณฑ์รับบริจาคเลือด ใหม่ ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด เพื่อให้สามารถเก็บเลือดสำรองไว้ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ต้องการต่อไปได้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ เกณฑ์รับบริจาคเลือด ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด เกณฑ์รับบริจาคเลือดฉบับปรับปรุงใหม่นี้ เป็นมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัส COVID-19 ทางโลหิต ฉบับที่ 5 (31 มีนาคม พ.ศ. 2564) โดยมีหลักเกณฑ์ที่เราควรรู้ก่อนไปบริจาคเลือด ดังต่อไปนี้ ผู้ที่อาศัย หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ให้งดบริจาคเลือด 14 วัน ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้งดบริจาคเลือด 14 วัน ผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ให้งดบริจาคเลือด 14 วัน นับตั้งแต่หายป่วย โดยไม่มีอาการใด ๆ หลงเหลืออยู่ ผู้บริจาคเลือดต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเองตามความเป็นจริง ห้ามปิดบังข้อมูลโดยเด็ดขาด หลังจากบริจาคเลือด หากผู้บริจาคได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ควรแจ้งให้หน่วยงานที่ไปบริจาคเลือดไว้ทราบทันที อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากคุณต้องการบริจาคเลือด ก็ควรติดตามข่าวสาร และมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัส COVID-19 ทางโลหิตอยู่เสมอ จะได้รู้ว่าตัวเองสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่ หากคุณอยากบริจาคเลือดได้แบบไร้ปัญหา เบื้องต้นก็คือ ต้องดูแลรักษาสุขภาพให้ดี […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ไข้กระต่าย (Tularemia) อีกหนึ่งโรคติดต่อ ที่คนรักกระต่าย ต้องรู้

กระต่าย เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีความน่ารัก ด้วยขนปุกปุยและดวงตาที่กลมโต ทำให้หลายคนต่างหลงใหลในความน่ารักของมัน อย่างไรก็ตามหากคุณนำกระต่ายมาเลี้ยงอย่าลืมดูแลในเรื่องของความสะอาดด้วยนะคะ ทั้งตัวสัตว์และอาหารที่ให้ รวมถึงบริเวณที่เลี้ยงด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรค ไข้กระต่าย โดยที่คุณไม่รู้ตัว เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันในบทความของ Hello คุณหมอ ค่ะ ทำความรู้จัก ไข้กระต่าย ไข้กระต่าย หรือโรคทูลารีเมีย (Tularemia) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น หนูป่า กระรอก นก กระต่าย แพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้หลากหลายวิธี เช่นการสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อ ถูกเห็บจากสัตว์ที่ติดเชื้อกัด หรือกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ภายหลังได้รับเชื้อประมาณ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ไข้สูง รู้สึกอ่อนเพลียอย่างแรง ปวดเมื่อยตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น สาเหตุของไข้กระต่าย เกิดจากอะไรกันนะ? สัมผัสผิวหนังของสัตว์ที่ติดเชื้อ ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรืออาหารที่ปรุงไม่สุก ถูกแมลงสัตว์ กัด ต่อย โดยเฉพาะ เห็บหรือแมลงวัน สูดดมแบคทีเรียจากดินระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง หรือทำสวน   อาการที่คนรักกระต่าย อาจจะเสี่ยงเป็น ไข้กระต่าย ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella Tularensis) มักมีอาการแสดงออกภายใน […]


ไวรัสโคโรนา

สวมใส่ หน้ากากอนามัย ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา ได้หรือไม่

เชื้อไวรัสโคโรนา เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ แม้จะยังอยู่ในช่วงฟักตัวก็ตาม หมายความว่าผู้ที่ไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้นเราควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่ การสวมใส่ หน้ากากอนามัย ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา ได้เหมือนป้องกันไข้หวัดหรือไม่ หากใครที่กำลังมีข้อสงสัย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนามาฝากกันค่ะ การแพร่กระจายของเชื้อ ไวรัสโคโรนา ไวรัสโคโรนา ที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในขณะนี้ เป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ใช้ชื่อว่าโควิด- 19 (COVID-19) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไวรัสโคโรนาจะมีการแพร่กระจายจากคนสู่คน ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เมื่อผู้ที่ติดเชื้อไวรัส มีการไอหรือจาม แล้วเกิดเป็นละอองกระจายไปยังผู้อื่น ซึ่งอาจจะติดที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรืออาจจะมีการหายใจเข้าไป ซึ่งหากอยู่ภายในรัศมีระยะ 6 ฟุตก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการติดเชื้อไวรัสจากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุที่มีเชื้อไวรัสโคโรนาได้ด้วย โดยการสัมผัสกับวัตถุเหล่านั้นสามารถทำให้เราติดเชื้อได้เช่นกัน หากเราสัมผัสกับวัตถุที่มีเชื้อไวรัสอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มกดลิฟต์ ราวบันได ลูกบิดประตู หรือราวรถไฟฟ้า หากสถานที่เหล่านี้มีเชื้อโรคอยู่ เมื่อเราสัมผัสแล้ว ใช้มือที่สัมผัสขยี้ตา จับอาหารเข้าปาก อาจส่งผลทำให้ติดเชื้อได้ แต่วิธีการสัมผัสนั้นไม่ใช่รูปแบบการแพร่กระจายหลัก ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สามารถแพร่กระจายเชื้อได้เมื่อไร ไวรัสโคโรนาเป็นเชื้อไวรัสที่มีอาการคล้ายๆ ไข้หวัดใหญ่ แต่การแพร่กระจายนั้นมีความแตกต่างกัน หลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่า เชื้อไวรัสโคโรนาตัวนี้สามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ติดเชื้อเริ่มแสดงอาการแล้ว แต่จริงๆ แล้วเชื้อไวรัสตัวนี้สามารถแพร่กระจายได้ตั้งแต่อยู่ในช่วงระยะฟักตัว […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ไข้หวัดหมู ระบาดไต้หวัน แท้จริงคือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ ชนิด A(H1N1)

จากสถานการณ์ประเด็นข่าวเรื่อง “ชาวไต้หวันติดเชื้อไข้หวัดหมู (Swine Flu)” ทำให้คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกกลัวในการบริโภคเนื้อหมูและส่งผลกระทบถึงความเชื่อมั่นด้านท่องเที่ยวในประเทศไต้หวัน สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กล่าวชี้แจงถึงข่าว ชาวไต้หวันติดเชื้อ ไข้หวัดหมู (Swine Flu)  เสียชีวิตจำนวน 56 ราย  ซึ่งกำลังเป็นข่าวที่เผยแพร่อยู่ในประเทศไทยนั้นเป็นข่าวเท็จ โดยได้สอบถามข้อเท็จจริงกับกรมควบคุมโรคไต้หวัน มีรายละเอียดข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ [embed-health-tool-heart-rate] ไข้หวัดหมู คืออะไร ไข้หวัดหมู (Swine Flu)” เป็นคำที่องค์การอนามัยโลกได้ใช้เป็นชื่อเรียก “ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ ชนิด A(H1N1)” ซึ่งมีการระบาดในปี 2009 ต่อมาองค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนชื่อจาก ไข้หวัดหมู ให้เป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ ชนิด A(H1N1)” โดยชื่อไข้หวัดหมูนั้นแท้จริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับหมูทั้งสิ้น สืบเนื่องจากวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 กรมควบคุมโรคได้รายงานข่าวตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2562 ถึงวันที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ปี 2563  ชาวไต้หวันเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ ชนิด A(H1N1) จำนวน 56 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวและมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงอยู่แล้ว รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน เมื่อเขาได้รับเชื้อหวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ ชนิด A(H1N1) ประกอบการมีโรคประจำตัว […]


ไวรัสโคโรนา

รายงานล่าสุด! พบนักท่องเที่ยวหญิงชาวเกาหลีใต้ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา หลังกลับจากเที่ยวกรุงเทพฯ

ยังคงเป็นกระแสข่าวที่เป็นที่จับตาและเฝ้าระวังของประชาคมโลกสำหรับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งปัจจุบันตัวเลขของผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นที่คาดการณ์ว่าอาจจะยังมีการเพิ่มจำนวนของผู้ที่ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ขึ้นไปอีก ซึ่งปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก จากรายงานเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 20,682 ราย เฉพาะผู้ติดเชื้อในประเทศจีนจากทั้ง 31 เมือง มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากถึง 20,485 ราย แบ่งเป็นอยู่ในอาการขั้นรุนแรงจำนวน 2,788 ราย และเสียชีวิตแล้วจำนวน 427 ราย ในส่วนของประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 25 ราย ได้รับการรักษาและกลับบ้านแล้ว 8 ราย และอีก 17 ราย ยังนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เช่นเดียวกันกับรายงานจากทางเกาหลีใต้ล่าสุด มีการค้นพบว่านักท่องเที่ยวหญิงชาวเกาหลีใต้ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา หลังจากที่เธอได้เดินทางมาเที่ยวที่กรุงเทพฯ โดยนักท่องเที่ยวหญิงคนดังกล่าว มีอายุ 42 ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายล่าสุด ซึ่งนับเป็นผู้ติดเชื้อรายที่ 16 ของประเทศเกาหลีใต้ โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้รายงานว่า นักท่องเที่ยวหญิงคนดังกล่าวได้ไปเที่ยวพักผ่อนที่ประเทศไทยและเดินทางกลับประเทศเกาหลีใต้ในวันที่ 19 มกราคม เพียงไม่กี่วันหลังกลับจากประเทศไทยเธอพบว่าตนเองรู้สึกไม่ค่อยสบาย จึงไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลในวันที่ 25 มกราคม […]


ไวรัสโคโรนา

พบแล้ว! ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา คาดว่าอาจจะเพิ่มในไทยอีก 6 ราย

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563  ที่ผ่านมา มีการรายงานโดย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้อัปเดตข้อมูลเบื้องต้นแก่สื่อมวลชนถึง ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 6 คน ที่อาจเพิ่มขึ้นในประเทศไทยโดยแบ่งเป็นคนไทย 4 ราย ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 รายแรก คือ คู่รักสามีภรรยา ที่มีประวัติกลับจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น และอีก 2 ราย เป็นชายไทย ที่มีอาชีพขับรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวชาวจีน ส่วนอีก 2 ราย นั้นเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศ จากรายงานการพบผู้ติดเชื้อ 1 ในผู้ป่วยทั้ง 6 รายล่าสุดมีอาการเข้าขั้นวิกฤตเป็นผู้สูงวัย อายุ 70 ที่ยังคงใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนผู้ที่คาดว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา อีก 5 รายนั้น กำลังรอผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการหากอาการดีขึ้นตามลำดับแพทย์จะทำการอนุญาตให้กลับบ้านได้ ในสถานการณ์ปัจจุบันตอนนี้ประเทศไทยมียอดรวมของ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้งหมด 25 รายด้วยกัน ทางแพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 8 ราย ส่วนอีก 17 ราย ยังคงนอนรอเฝ้าระวังและเช็กอาการต่อเนื่อง ณ […]


ไวรัสโคโรนา

ทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี ค้นพบ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา

ท่ามกลางกระแสข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีวัคซีนตัวใดรักษาหายหรือป้องกันได้ ทั้งยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายคนกังวลถึงการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ล่าสุดมีข่าวดีว่าทีมแพทย์โรงพยาบาลราชวิถีได้ทดลองใช้ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) ที่อาการหนักให้กลับมาดีขึ้นภายใน 12- 48 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ สื่อใหญ่ทั่วโลก อาทิ Reuters, AFP, BBC และ South China Morning Post รายงานถึงความสำเร็จของคณะแพทย์ไทย โรงพยาบาลราชวิถี ในกรุงเทพฯ ที่ประกาศการ ค้นพบ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) โดยใช้ยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมที่มีในไทยนำมาทดลอง ได้แก่ ยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV) 2 ชนิด คือ โลปินาเวียร์ (Lopinavir) และ ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิ (Oseltamivir)  สาเหตุที่เลือกใช้ยาตัวนี้เนื่องจากเคยรักษาได้ผลในผู้ป่วยโรคเมอร์ส  (Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus ; […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน