backup og meta

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome)

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome)

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) มักพัฒนามาจากภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถกระจายออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เต็มที่ทำให้หายใจลำบาก

คำจำกัดความ

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) คืออะไร

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรงและอาจมีอันตรายจนถึงชีวิต ภาวะนี้เกิดจากภาวะที่ของเหลวในหลอดเลือด ซึมผ่านหลอดเลือดและผนังถุงลมเข้าไปอยู่ในถุงลมแทนที่อากาศ และปิดกั้นไม่ให้อวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจน ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักพัฒนามาจากผู้ที่มีอากาศป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยหนักและเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์

อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน พบบ่อยแค่ไหน

โดยทั่วไปแล้ว อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน จะเกิดกับผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล และอาจเกิดขึ้นได้ในทารกเช่นกัน ภาวะดังกล่าวสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

ส่วนใหญ่แล้ว อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันนับจากวันที่ป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งอาการโดยทั่วไปมีดังนี้

  • หายใจลำบาก
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ไข้
  • ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
  • อาการงุนงงทางจิต
  • ผิวหนังหรือเล็บเปลี่ยนสีเนื่องจากระดับออกซิเจนที่ลดลงอย่างรุนแรงในเลือด

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบหมอ

อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้ มักจะเป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง

อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดจากของเหลวที่รั่วออกมาจากหลอดเลือดที่เล็กที่สุดในปอดและซึมเข้าสู่ถุงลมเล็กๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ทางตรงและทางอ้อมต่อปอด สาเหตุที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • การสูดลมหายใจเข้า
  • การสูดดมสารที่เป็นอันตราย
  • การปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ภาวะทางการแพทย์ เช่น ติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุที่พบมากที่สุด โรคปอดบวม การอักเสบของตับอ่อน
  • การบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์
  • ยา เช่น ไนโตรฟูแรนโทอิน (Nitrofurantoin) หรือใช้มอร์ฟีนเมธาโดนเกินขนาด
  • เลือดออกอย่างรุนแรงที่จำเป็นต้องใช้การถ่ายเลือด

ปัจจัยเสี่ยง

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

มีปัจจัยเสี่ยงมากมายที่ทำให้เกิด อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เช่น

  • การสูบบุหรี่
  • บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
  • โรคปอดเรื้อรัง
  • การติดเชื้อที่แพร่หลายในกระแสเลือด
  • เคยได้รับการผ่าตัดหรือเคมีบำบัด
  • โปรตีนในเลือดต่ำ
  • ผู้ที่ดื่มสุรามาก

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

จะวินิจฉัยภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้อย่างไร

ยังไม่มีการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัยสภาวะนี้ แต่การทดสอบที่เคยใช้ในการวินิจฉัย อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน อาจทำได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

  • เอ็กซ์เรย์หน้าอก อาจแสดงส่วนของปอดของและจำนวนของปอดมีของเหลวภายในและไม่ว่าหัวใจของจะขยายใหญ่หรือไม่
  • ก๊าซในเลือด เลือดจากหลอดเลือดแดงควบคุมระดับออกซิเจนในเลือด
  • การตรวจเลือด การทดสอบนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของร่างกาย
  • ใช้ไม้กดลิ้นและจมูก
  • การทดสอบหัวใจ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การรักษาภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยที่มี อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักได้รับการรักษาในห้องไอซียู (ICU) การรักษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีออกซิเจนในเลือดเพียงพอ เพื่อป้องกันความล้มเหลวของอวัยวะและรักษาสาเหตุของภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

  • เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน จะต้องได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนเพียงอย่างเดียวมักไม่เพียงพอ ผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจช่วยด้วย
  • ตั้ง positive end expiratory pressure (PEEP) เทคนิคที่เรียกว่า PEEP ช่วยควบคุมความดันในปอด เพิ่มการทำงานของปอดและลดการบาดเจ็บของปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การจัดการของเหลว หากร่างกายมีของเหลวมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในปอด และหากมีของเหลวน้อยเกินไปอาจทำให้อวัยวะและหัวใจตึงและช็อกได้ ปริมาณของเหลวทางหลอดเลือดดำจึงควรได้รับการจัดการอย่างรอบคอบ
  • ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการปวดและไม่สบาย
  • ยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันและรักษาโรคได้
  • ยารักษาภาวะวิตกกังวลช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
  • ยาเจือจางเลือดสามารถป้องกันไม่ให้เกิดก้อนในปอดหรือขา

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง

อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันได้หากเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตแบบเดิมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคและรู้วิธีป้องกันอย่างถูกต้อง

  • หยุดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง
  • หยุดดื่มแอลกอฮอล์
  • รับการฉีดวัคซีน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปีและวัคซีนป้องกันปอดบวมทุก ๆ  5 ปี สามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอดได้

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acute respiratory distress syndrome. https://medlineplus.gov/ency/article/000103.htm. Accessed Mar 12, 2017.

ARDS. http://www.lung.org/lung-health-and-diseases/lung-disease-lookup/ards/. Accessed December 20, 2016

Acute respiratory distress syndrome. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ards/basics/definition/con-20030070. Accessed December 20, 2016

Acute respiratory distress syndrome. http://www.healthline.com/health/acute-respiratory-distress-syndrome#Overview1. Accessed December 20, 2016

Acute respiratory distress syndrome. https://www.drugs.com/cg/acute-respiratory-distress-syndrome.html. Accessed December 20, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/05/2020

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคการรับมือ อาการหายใจลำบาก หนึ่งในอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

หายใจไม่อิ่ม สัญญาณความผิดปกติระบบทางเดินหายใจและหัวใจของคุณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา