backup og meta

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค โรคโควิด-19 ทั้งนี้ เมื่อพบอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรไปพบคุณหมอ เพราอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพซึ่งหากปล่อยไว้จะยิ่งแย่ลงหรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

[embed-health-tool-bmr]

แน่นหน้าอก หายใจลำบากเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องจากอวัยวะทั้ง 2 อย่างนี้ สัมพันธ์กับการหายใจ หรือการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในร่างกาย

สำหรับปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด หมายถึงโรคต่างๆดังนี้

ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • หัวใจล้มเหลว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด

นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคหอบหืด
  • ความเครียด
  • โรควิตกกังวล
  • โรคอ้วน
  • โรคกรดไหลย้อน
  • ซี่โครงหัก
  • การสูบบุหรี่
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • กล้ามเนื้อฉีก
  • การสูญเสียเลือดแบบเฉียบพลัน
  • การอุดตันบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน หรือรูจมูก ช่องปาก คอหอย และกล่องเสียง
  • การปีนเขา หรือทำกิจกรรมในที่ซึ่งมีออกซิเจนต่ำ

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เบื้องต้น

เมื่อมีอาการแน่นหน้าอก หายไม่ออก ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • รับประทานยา เช่น ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) ซึ่งมีคุณสมบัติผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการแน่นอนหน้าอกจากการมีเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
  • จำกัดกิจกรรมบางอย่าง หรือไม่ออกแรงมากจนเกินไป เพื่อลดการทำงานของหัวใจขณะแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • หายใจช้า แบบเผยอริมฝีปาก เพื่อระบายอากาศที่ติดอยู่ในปอด และทำให้การหายใจลึกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • นั่งชันเข่าบนเก้าอี้และโน้มตัวไปข้างหน้า ขณะข้อศอกวางอยู่บนหัวเข่าหรือใช้มือรองแก้มไว้ การนั่งในท่านี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างในช่องอก ทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น หากไม่สะดวกที่จะทำท่านี้ อาจเลือกนั่งฟุบหน้ากับโต๊ะโดยเท้าอยู่กับพื้นก็ได้
  • ยืนหลังพิงกำแพง โดยยืนห่างจากกำแพงเล็กน้อย ไม่ห่อตัว และมือวางไว้บนต้นขา เป็นอีกท่าหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ในช่องอกได้
  • หายใจแบบใช้กะบังลม หรือการหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ด้วยหน้าอก โดยการหายใจแบบนี้เป็นการใช้ปอดแบบเต็มประสิทธิภาพ ทำได้ทั้งเมื่ออยู่ในท่านั่งและท่านอน
  • ดื่มกาแฟดำ คาเฟอีนในกาแฟดำมีคุณสมบัติส่งเสริมการทำงานของทางเดินหายใจ ดังนั้น การดื่มกาแฟดำจึงอาจช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่ออกได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องคาเฟอีนสำหรับโรคหอบหืด เผยแพร่ทาง Cochrane Database of Systematic Reviews ปี พ.ศ. 2553 นักวิจัยได้ศึกษาผลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของคาเฟอีนต่อโรคหอบหืดจำนวนหนึ่ง และพบข้อสรุปว่า การบริโภคคาเฟอีนอาจช่วยส่งเสริมการทำงานของทางเดินหายใจสะดวกขึ้น เป็นเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

หากแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาจเป็นสัญญาณของโรคอันตราย เมื่อมีอาการ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุ

ทั้งนี้ เมื่อมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น หน้ามืด คลื่นไส้ เล็บเป็นสีน้ำเงิน รวมถึงอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ อย่างความรู้สึกเจ็บบริเวณคอ ขากรรไกร หรือแผ่นหลัง ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน

นอกจากนี้ แม้จะไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่หากมีอาการหายใจไม่ออกแบบเฉียบพลัน หายใจไม่ออกระดับรุนแรง หายใจไม่ออกหลังพักผ่อน หรือหายใจไม่ออกพร้อมกับหัวใจเต้นเร็ว ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วนเช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Shortness of breath. https://www.nhs.uk/conditions/shortness-of-breath/. Accessed December 29, 2022

Breathing Problems. https://www.webmd.com/lung/breathing-problems-causes-tests-treatments#1. Accessed December 29, 2022

Shortness of breath. https://www.mayoclinic.org/symptoms/shortness-of-breath/basics/causes/sym-20050890. Accessed December 29, 2022

Cardiomyopathy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cardiomyopathy/symptoms-causes/syc-20370709. Accessed December 29, 2022

Chest pain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chest-pain/symptoms-causes/syc-20370838. Accessed December 29, 2022

Caffeine for asthma. https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD001112.pub2/full. Accessed December 29, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/01/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

ระบบหายใจ คืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 13/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา