ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

นอกเหนือจากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัดใหญ่ หอบหืด ปอดอักเสบ วัณโรค หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดอื่น ๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม และไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร แต่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดเหล่านั้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเราได้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น ให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้กัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค โรคโควิด-19 ทั้งนี้ เมื่อพบอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรไปพบคุณหมอ เพราอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพซึ่งหากปล่อยไว้จะยิ่งแย่ลงหรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แน่นหน้าอก หายใจลำบากเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องจากอวัยวะทั้ง 2 อย่างนี้ สัมพันธ์กับการหายใจ หรือการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในร่างกาย สำหรับปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด หมายถึงโรคต่างๆดังนี้ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด โรคครูป โรคซาร์คอยโดซิส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด พังผืดที่ปอด ปอดรั่ว ความดันเลือดปอดสูง วัณโรค โรคโควิด-19 นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด ความเครียด โรควิตกกังวล โรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน ซี่โครงหัก […]

สำรวจ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis)

โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หมายถึงอาการติดเชื้อและอักเสบของไซนัสติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป จนทำให้ไซนัสอุดตัน และเกิดการสะสมของน้ำมูกภายในโพรงจมูก คำจำกัดความไซนัสอักเสบเรื้อรัง คืออะไร โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis) หมายถึงอาการติดเชื้อและอักเสบของไซนัสติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป เรียกอีกชื่อก็คือโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic Rhinosinusitis) ไซนัสที่อักเสบและบวมขึ้นนี้อาจกลายมาเป็น ริดสีดวงจมูก ที่ปิดกั้นโพรงจมูก ทำให้เกิดการสะสมของน้ำมูก และทำให้หายใจไม่ออกได้ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง พบได้บ่อยได้แค่ไหน โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ จัดการได้โดยการลดปัจจัยความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง จะต้องมีอย่างน้อยสองจากสี่สัญญาณ และอาการหลักของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่จมูกสำหรับการวินิจฉัยโรค ซึ่งมีดังนี้ มีน้ำมูกที่ข้นและเปลี่ยนสีไหลออกมาจากจมูก หรือระบายไหลลงไปในด้านหลังคอ เรียกว่าอาการเสมหะไหลลงคอ (postnasal drip) จมูกอุดตันหรือคัดจมูก ทำให้หายใจผ่านจมูกได้ลำบาก มีอาการปวด กดเจ็บ และบวมบริเวณดวงตา แก้ม จมูก หรือหน้าผาก ดมกลิ่นและรับรสได้น้อยลงในผู้ใหญ่ หรือมีอาการไอในเด็ก อาการอื่น ๆ อาจจะมีดังนี้คือ ปวดหู ปวดกรามบน ปวดฟัน มีอาการไอที่หนักขึ้นในตอนกลางคืน เจ็บคอ มีกลิ่นปาก เหนื่อยล้าหรือหงุดหงิด คลื่นไส้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มีสัญญาณและอาการที่คล้ายกัน แต่ไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อที่ไซนัสชั่วคราว และมักเกี่ยวข้องกับโรคหวัด สัญญาณและอาการของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังจะอยู่นานกว่า และมักทำให้อ่อนล้ามากกว่า ไข้ไม่ใช่สัญญาณทั่วไปของโรคโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แต่คุณอาจจะมีไข้ได้ หากคุณเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร คุณควรไปหาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการของ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หลายครั้งแล้ว แต่รักษาไม่หายเสียที คุณมีอาการไซนัสอักเสบนานกว่าเจ็ดวัน อาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากที่คุณไปหาแพทย์ คุณควรไปหาแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก โดยเฉพาะจากอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) ซึ่งเป็นสภาวะเกี่ยวกับปอดที่พบได้ทั่วไป รวมทั้งภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (emphysema) และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) ควรเลือกรับประทานอาหารและรู้จักวิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง [embed-health-tool-bmi] กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักส่งผลให้หายใจลำบาก และรับประทานอาหารได้ยากกว่าปกติ ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้การรับประทานอาหารส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เรียบง่าย การเตรียมและการรับประทานอาหารเป็นเรื่องซับซ้อน และต้องใช้กำลังมากมาย จึงควรกลับไปสู่ “อาหารเรียบง่าย” เป็นอาหารที่เตรียมได้ง่าย และสามารถเข้ากันได้กับอาหารที่หลากหลาย ให้เก็บอาหารบางส่วนที่เหลือไว้ เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกว่าการเตรียมอาหารเป็นเรื่องเสียเวลา ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานอาหารสามารถเพิ่มความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ดังนั้น หากใช้งานเครื่องมือให้ออกซิเจน ให้ใช้ให้ต่อเนื่องในระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้ ควรรับประทานยาที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารให้น้อยลง ช่องท้องที่เต็มไปด้วยอาหาร อาจกดทับกะบังลมได้ ซึ่งทำให้การหายใจลำบากขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้น้อยลง ตามเวลารอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน ให้รับสารอาหารและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ด้วยปริมาณอาหารที่น้อยลง แต่เพิ่มรอบการรับประทานอาหาร โดยอาจแบ่งเป็นหกมื้ออาหารเล็ก ๆ ในแต่ละวัน รับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดก่อน หากชอบที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในระหว่างวัน ให้รับประทานมื้อนั้นก่อน อาหารจะให้พลังงานสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของวัน และไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่กว่าในตอนท้ายของวัน เมื่อพลังงานในร่างกายหมดแล้ว อย่าดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร ให้พยายามงดดื่มน้ำ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการรับประทานอาหาร เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกอิ่มเร็วเกินไป เครื่องดื่มก่อนหรือในระหว่างมื้ออาหาร จะทำให้อิ่มเร็ว เป็นความคิดที่ดีที่จะดื่มเครื่องดื่มเสริมอาหารในระหว่างมื้ออาหาร บอกลาอาการท้องอืด อาหารต่าง ๆ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอเพราะอากาศเปลี่ยน ลองใช้ วิธีแก้ไอด้วยตัวเอง ง่ายๆ พวกนี้ดูสิ

เมื่ออากาศเย็นเริ่มโชยมา ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นในอากาศที่ลดลง อาจทำให้เป็นหวัดหรือเกิดอาการไอได้ โดยปกติอาการไอจากหวัดมักจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์ แต่หากอาการไอไม่รุนแรง คุณสามารถใช้ วิธีแก้ไอด้วยตัวเอง ง่ายๆ เหล่านี้ ในการบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ [embed-health-tool-bmr] ทำไมเราถึงไอ และไอแบบไหนที่น่าห่วง การไอ คือวิธีการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีสิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในลำคอ โดยอาการระคายเคืองจะกระตุ้นเส้นประสาทให้ส่งสัญญาณไปยังสมอง จากนั้น สมองจะทำให้กล้ามเนื้อในทรวงอกและหน้าท้องดันอากาศออกมาจากปอด เพื่อดันสิ่งที่ทำให้ระคายเคืองออกไป การไอเป็นครั้งคราวอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่การไอต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์ หรือเสมหะเปลี่ยนสี และมีเลือดในเสมหะ อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง จึงควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้การไออย่างรุนแรง และไอเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และเป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ภาวะอั้นปัสสาวะไม่อยู่ และอาจรุนแรงจึงถึงทำให้ซี่โครงหักได้ โดยปกติแล้วอาการไอที่เกิดจากไข้หวัดจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับอาการไอเรื้อรังอาจเกิดจากโรคบางโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคกรดไหลย้อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอต่อไป นอกจากนี้ หากมีอาการไอนานเกิน 2 สัปดาห์ และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอทันที อาการหนาวสั่น ภาวะขาดน้ำ ไข้สูงกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) รู้สึกไม่สบาย […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchiolitis)

หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นอาการอักเสบของท่อหายใจที่เล็กที่สุดในปอดเรียกว่าหลอดลมฝอย คำจำกัดความหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Bronchiolitis) คือการติดเชื้อในปอดชนิดหนึ่ง ที่พบได้มากในทารกและเด็กเล็ก โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดอาการอักเสบ และอาการอุดตันในทางเดินหายใจขนาดเล็กที่อยู่ในปอด เช่น หลอดลมฝอย โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน พบบ่อยแค่ไหน หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันนั้นมักจะเกิดกับเด็กเล็กและทารก และพบได้มากในช่วงฤดูหนาว โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน ในช่วงแรก ๆ อาการของ โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน อาจจะคล้ายคลึงกับโรคหวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ มีไข้ หลังจากนั้น อาจจะเริ่มมีอาการหายใจไม่ออก หายใจลำบาก หรือหายใจออกแล้วมีเสียงดังวี้ด ๆ นอกจากนี้ ทารกส่วนใหญ่ก็มักจะมีอาการติดเชื้อในหูชั้นกลางอีกด้วย ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด เมื่อไหร่ที่ลูกของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการกิน การดื่ม และการหายใจ ก็ควรพาเด็กไปพบหมอเพื่อทำการตรวจ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ หรือเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ในการเกิด โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน เช่น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที หายใจแล้วมีเสียงวี้ด ๆ หายใจหอบ หายใจตื้น หรือหายใจเร็วถี่ ๆ ไม่ยอมดื่มนมหรือดื่มน้ำ หรือมีอาการหายใจเร็วเกินไปจนไม่สามารถกินหรือดื่มได้ ผิวหนังเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงคล้ำ โดยเฉพาะในบริเวณนิ้วมือและริมฝีปาก สาเหตุสาเหตุของหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในบริเวณหลอดลมฝอย ที่เป็นทางเดินหายใจขนาดเล็กที่สุดในปอด การติดเชื้อนี้จะทำให้หลอดลมฝอยมีอาการบวมและอักเสบ จนทำให้เกิดการสะสมของเสมหะ ทำให้หายใจลำบาก โรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อทั่วไป รวมไปถึงไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute Sinusitis)

อาการคัดจมูกและความดันบริเวณโหนกแก้ม มักเป็นสัญญาณว่า คุณเป็น ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อหรืออักเสบระยะสั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ในโพรงจมูก คำจำกัดความไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (acute sinusitis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อหรืออักเสบอย่างกะทันหันภายในเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้เกิดเป็นอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล แน่นจมูก และมีแรงดันในบริเวณโหนกแก้ม โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไป และอาจเกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน อาการทั่วไปของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ น้ำมูกข้น สีเหลืองหรืออมเขียวไหลจากจมูกหรือจากหลังคอ เกิดการอุดตันที่จมูกหรือคัดจมูก ทำให้หายใจลำบาก เจ็บ กดเจ็บ บวมหรือความดันรอบ ๆ ดวงตา แก้ม จมูกหรือหน้าผาก อาการเหล่านี้จะแย่ลงเมื่อก้มตัว ความดันในหู ปวดศีรษะ เจ็บที่กรามบนและฟัน ได้รับกลิ่นและรสลดลง ไอ ซึ่งอาจเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืน มีกลิ่นปาก เหนื่อยล้า เป็นไข้ อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีความกังวล หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด คุณควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการต่อไปนี้ อาการไม่ได้ดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือมีอาการแย่ลง เป็นไข้หลายวันติดต่อกัน มีประวัติของการเป็นโรคไซนัสซ้ำหลายรอบ หรือเป็นโรคไซนัสเรื้อรัง สาเหตุสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งการติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้เป็น โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เช่น ไข้ละอองฟาง หรืออาการแพ้อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อโพรงจมูก ความผิดปกติที่ช่องจมูก เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด ริดสีดวงจมูกหรือเนื้องอกในจมูก อาการโรคอย่างซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้สารคัดหลั่งและเยื่อเมือกในร่างกายมีความข้นหนืด หรือความผิดปกติที่ระบบภูมิคุ้มกันอย่างการติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แพทย์อาจใช้การกดที่จมูกหรือบนใบหน้า และอาจดูภายในโพรงจมูก หรืออาจมีการใช้วิธีการอื่นเพื่อวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอแบบนี้ต้องกังวลมั้ย? ถอดรหัส อาการไอ 7 แบบ และความหมายทางสุขภาพ

อาการไอ เป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลกระทบใดก็ตามจากปัจจัยภายนอก การไอ ยังเป็นสัญญาณเตือนว่า มีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย โดยการไอมีหลายแบบ เช่น ไอแห้ง ไอแบบมีเสมหะ ไอเป็นเลือด ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการไอมาฝาก ว่าถ้าคุณไอแบบนี้ หมายถึงอะไรกันแน่ รวมถึงสาเหตุของการไอ สัญญาณของอาการไอเรื้อรัง ว่าคุณควรต้องดูแลตัวเองอย่างไร อาการไอ คืออะไร อาการไอสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อทางเดินหายใจมีสิ่งแปลกปลอม เช่น จุลินทรีย์ สิ่งระคายเคือง ของเหลว เสมหะ ติดอยู่บริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากคุณไอรุนแรง และไอเรื้อรัง เป็นระยะเวลานาน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง นอกจากนี้ กระบวนการไอมักจะมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ สูดลมหายใจเข้า ความดันเพิ่มขึ้นในลำคอและปอด พร้อมกับเส้นเสียงปิด การปล่อยลมอย่างรุนแรง (เมื่อเส้นเสียงเปิด) ทำให้การไอมีเสียงเฉพาะเกิดขึ้น สาเหตุของ อาการไอ ไข้หวัดธรรมดา อาการไอจะเกิดขึ้นเมื่อจมูกและลำคอติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ เป็นอาการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ลำคอ ปอด หายใจเอาสิ่งระคายเคืองเข้าไป กล้ามเนื้อหน้าท้องตึง หรือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอกรน เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งแพร่กระจายได้ง่าย หลายคนมักจะไอแห้ง ๆ อย่างรุนแรง ก่อนจะหายใจเข้าจนเกิดเสียงดังที่คล้ายเสียงกรน สัญญาณของอาการไอเรื้อรัง อาการไอเรื้อรังอาจเกิดขึ้นพร้อมสัญญาณหรืออาการอื่น เช่น น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก รู้สึกได้ถึงของเหลวที่ไหลลงคอส่วนหลัง (เสมหะไหลลงคอ) กระแอมบ่อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน