backup og meta

ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่ และวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการให้คุณได้

ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่ และวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการให้คุณได้

หากคุณกำลังอยู่ระหว่างการรักษามะเร็งรังไข่ อาจมีอาการหรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นได้ ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่ อาจเกิดขึ้นจากเชื้อมะเร็ง หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของการรักษา หากคุณมีปัญหาทางการหายใจ การรับประทานอาหาร การขับถ่ายหรือเป็นไข้ ทาง Hello คุณหมอ มีวิธีชสามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นมาฝากกัน

วิธีช่วยบรรเทาอาการ ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่

ปัญหาทางการหายใจ

มะเร็งรังไข่ทำให้เกิดปัญหาทางการหายใจได้ หากคุณมีอาการหายใจถี่ คุณไม่ต้องกังวล เพราะอาการนี้มักไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่หลายคนจะรู้สึกตกใจ หากเกิดอาการขึ้น คุณควรวางแผน และลองทำกิจกรรมในแต่ละวัน ไม่ควรอยู่นิ่งเป็นเวลานาน วิธีอื่น คือ เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การสร้างภาพขึ้นในความคิดหรือการสะกดจิต ในกรณีที่คุณต้องการเริ่มฝึก คุณอาจลองวิธีการฝึกหายใจและควบคุมการหายใจด้วยท้อง

คุณต้องควบคุมสติ หากเกิดอาการหายใจไม่ออก คุณจะไม่สามารถทำอะไรได้หากอยู่ในภาวะตกใจ ดังนั้น จึงควรสงบ พึงระลึกไว้ว่า ยิ่งวิตกกังวลมากเท่าใด การหายใจของคุณจะเกิดปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ปัญหาทางการขับถ่าย

ปัญหาทางการขับถ่ายสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัด ในขณะการเข้ารับการรักษามะเร็งรังไข่ ปัญหาการขับถ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ท้องร่วง ปวดเกร็ง หรือมีอาการท้องผูก คุณอาจรู้สึกปวดช่วงท้องส่วนล่าง

หากคุณต้องการรักษาอาการเหล่านี้ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัญหาการขับถ่าย การใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการเป็นอีกหนึ่งความคิดที่ดี คุณอาจเลือกเปปเปอร์มิ้นต์หรือชาเปปเปอร์มิ้นต์ เพื่อแก้อาการปวดท้อง ในกรณีที่คุณต้องการปรับเปลี่ยนอาหารหรือยาที่ใช้ คุณอาจต้องปรึกษากับแพทย์ คุณสามารถป้องกัน หรือจัดการกับปัญหาการขับถ่าย โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ขนมปังหรือพาสต้าที่ทำจากธัญพืช รำข้าว ผักและผลไม้ และควรดื่มน้ำมาก ๆ วิธีนี้จะช่วยให้คุณขับถ่ายได้ดีขึ้นจากอาการท้องผูก และหากคุณต้องการน้ำที่มาทดแทนจากการสูญเสียน้ำ เนื่องจากอาการท้องร่วง หากคุณไม่สามารถจัดการกับปัญหาทางการขับถ่ายได้ คุณควรปรึกษาแพทย์

อาการไข้

เป็นเรื่องปกติ หากคุณมีไข้ร่วมกับการเป็นมะเร็งรังไข่ อาการไข้จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย ร้อน หนาว สั่น และซีด หากคุณต้องรับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาแก้อักเสบ คุณควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง คุณควรอ่านเอกสารกำกับยาบนบรรจุภัณฑ์ หรือขอรับคำแนะนำจากแพทย์ ถึงชนิดและขนาดยาที่ควรรับประทาน

นอกจากนี้ คุณไม่ควรสวมเสื้อผ้ามากเกินไป อาจอาบน้ำอย่างเร็ว ๆ แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ การเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น

ปัญหาทางการรับประทานอาหาร

แม้ว่าคุณมีปัญหาการรับประทานอาหาร เพราะความอ่อนเพลียทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร แต่การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญในช่วงการรับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือร้อนในในช่องปาก ส่งผลต่อการรับประทานอาหารของคุณเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว รสชาติของอาหารจะไม่ถูกปาก ดังนั้น คุณจึงควรทานอาหารมื้อเล็ก ๆ หรือของว่าง เช่น เครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ถั่ว และผลไม้อบแห้ง คุณอาจออกกำลังเล็กน้อยก่อนรับประทานอาหาร เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร

คุณควรพบหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับอาการ และผลข้างเคียงของการรักษาที่เกิดจากมะเร็งรังไข่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coping physically. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/coping/physically. Accessed August 12, 2017

Ovarian Cancer Treatment. https://www.bebrcaware.com/ovarian-cancer-the-brca-link/ovarian-cancer-treatment-options.html. Accessed August 12, 2017

Managing physical changes due to cancer. https://hellodoktor.com/wp-admin/post-new.php. Accessed August 12, 2017

Ovarian cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ovarian-cancer/symptoms-causes/syc-20375941#:~:text=progesterone%20and%20testosterone.-,Ovarian%20cancer%20is%20a%20type%20of%20cancer%20that%20begins%20in,the%20hormones%20estrogen%20and%20progesterone. Accessed May 14,2021

Signs and Symptoms of Ovarian Cancer. https://www.cancer.org/cancer/ovarian-cancer/detection-diagnosis-staging/signs-and-symptoms.html. Accessed May 14,2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/05/2021

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ ออกกำลังกาย แบบไหนจึงจะเหมาะสม

การรับมือกับผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 16/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา