backup og meta

ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า สร้างผลดีอย่างไร ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า สร้างผลดีอย่างไร ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง

สำหรับเทคนิคการรักษามะเร็งนั้น มีรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ตามแต่ประเภทของโรคมะเร็ง รวมไปถึงลักษณะอาการที่ผู้ป่วยมี ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางในรักษา ที่แพทย์อาจนำมาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งได้เช่นกัน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากทุกคนให้ได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า คืออะไร

ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือยาที่ใช้สำหรับควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง ไม่ให้แพร่ไปยังบริเวณอื่นได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่แพทย์กำหนด แต่ ยามุ่งเป้า อาจสามารถใช้ได้กับโรคมะเร็งได้เพียงบางชนิดเท่านั้น

ยามุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. ยาที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เป็นยาที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย และเข้าถึงเซลล์มะเร็งได้ดี
  2. สารภูมิต้านทานโมโนโคลน (Monoclonal antibodies) หรือเรียกอีกอย่างว่า ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นยาที่ผลิตจากโปรตีนในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นยาที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่สารภูมิต้านทานนี้อาจมีส่วนช่วยในต่อต้านเซลล์หรือสารบางอย่าง ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

ข้อดีของการใช้ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า

  • ทำลายเซลล์มะเร็งด้วยการใช้ระบบภูมิคุ้มกัน
  • หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่อาจลุกลามในภายหลัง
  • ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดเพื่อไม่ให้นำไปหล่อเลี้ยงเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง
  • สามารถใช้ร่วมกับการบำบัดด้วยเทคนิคอื่น เช่น การฉายรังสี และเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • จำกัดปริมาณของฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ผลข้างเคียงของ ยามุ่งเป้า

เนื่องจากยามุ่งเป้านั้นจะเข้าไประงับการเจริญเติบโต และขัดขวางการกระบวนการทำงานในหลอดเลือด จึงอาจส่งผลให้คุณได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • ผื่นที่คล้ายคลึงกับสิวอยู่บริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลัง
  • มีอาการคัน หรือรู้สึกเจ็บแสบผิวหนัง
  • ผิวมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น
  • สุขภาพผิวแห้งกร้าน
  • เล็บมีอาการบวม และเจ็บปวด
  • ผมร่วง หรือเส้นผมเกิดการเปลี่ยนสี
  • เปลือกตามีอาการบวมแดง

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ เพื่อแพทย์จะได้หาวิธีบรรเทาอาการอย่างเหมาะสม และปลอดภัยอย่างรวดเร็วที่สุด ก่อนมีการติดเชื้อเพิ่มเติม จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ใครบ้างที่เหมาะกับ การรักษามะเร็งด้วย ยามุ่งเป้า

ก่อนที่แพทย์จะทำการรักษา อาจจำเป็นต้องมีการนำตัวอย่างชิ้นเนื้อหรือเนื้องอกของคุณไปตรวจสอบ เพื่อวิเคราะห์ว่าคุณสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าได้หรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้วการรักษาด้วยการใช้ยามุ่งเป้ามักจะเหมาะกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (Chronic myeloid leukemia ; CML) มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะผู้กำหนดเทคนิคการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ โดยขึ้นอยู่กับผลการวินิจฉัยตัวอย่างชิ้นเนื้อจากเซลล์มะเร็งเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Targeted Therapy. https://www.cancer.org/treatment/treatments-and-side-effects/treatment-types/targeted-therapy.html . Accessed February 04, 2021

Targeted Therapy to Treat Cancer. https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/targeted-therapies . Accessed February 04, 2021

What Is Targeted Therapy for Cancer?. https://www.webmd.com/cancer/guide/targeted-therapy-cancer . Accessed February 04, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง

ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม หนึ่งในวิธีที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา