ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในคุณแม่ที่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เเล้วไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งมีทั้งผลกระทบกับสุขภาพของตัวคุณเเม่เอง เเละ ผลต่อทารกในครรภ์ ยกตัวอย่างเช่น
- ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ระหว่างตั้งครรภ์เเล้ว คุณเเม่มีความดันโลหิตที่สูงมากเกินไปจนส่งผลให้ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ขาและเท้าบวม ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ อาจรุนแรงถึงขึ้นอาจชัก เกร็ง หมดสติหรืออาจทำให้เสียชีวิตได้
- เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดในคุณเเม่ โดยส่วนมากเเล้ว ภาวะเบาหวานจะหายไปได้เองหลังคลอด เนืองจากฮอร์โมนกลับสู่สมดุลปกติ เเต่อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานในอนาคตสูงกว่าผู้ที่มีอายุเท่ากัน
- ทารกตัวใหญ่ อาหารที่คุณแม่รับประทานสามารถส่งไปยังทารกในครรภ์ได้ผ่านทางรก ซึ่งเมื่อมีน้ำตาลในเลือดที่มากเกินจะกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นจนอาจไม่สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้ และจำเป็นต้องผ่าคลอด
- ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำหลังคลอด เนื่องจากเมื่อคุณเเม่มีน้ำตาลในเลือดสูง ระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะได้รับน้ำตาลที่สูงจากคุณเเม่ผ่านทางสายสะดือตามไปด้วย ทำให้งทารกต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาในปริมาณสูงขึ้นเพื่อจัดการกับน้ำตาลเเต่เมื่อทารกคลอด คุณหมอจะตัดสายสะดือออก ทารกจึงม่ได้รับน้ำตาลเพิ่มอีก แต่ร่างกายยังคงมีอินซูลินจำนวนมากอยู่ จึงส่งผลให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำและเป็นอันตรายเนื่องจากอาจทำให้ทารกซึม หรือชักได้
- ภาวะน้ำหนักเกินและโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในลูกน้อย จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าทารกที่มีคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อเติบโตขึ้นอาจมีความเสี่ยงของภาวะน้ำหนักเกิน เเละ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าเด็กทั่วไป
- แท้งบุตร/ทารกเสียชีวิต คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเเท้งบุตร รวมถึงชทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลเรื่องการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป โดยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง และเน้นเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี รวมถึงเลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยควรออกกำลังกายที่มีความเหนื่อยระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก ประมาณ 30 นาที/วัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เพื่อช่วยกระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาลส่วนเกินของร่างกาย รวมถึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำหนักตัวมากหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นร่วมด้วย ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้
- ไปพบคุณหมอตามนัดและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้ดี มิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย