การตรวจน้ำตาลสะสม Hba1c หากค่า Hba1c สูงตั้งเเต่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยหนึ่งของเบาหวาน
ส่วนในผู้ที่มีสูขภาพดี ไม่เป็นเบาหวาน ค่า Hba1c จะไม่เกิน 5.6 เปอร์เซ็นต์ เเละ หากค่า Hba1c อยู่ระหว่าง 5.7-6.4 เปอร์เซ็นต์ จะถือว่ากำลังมีภาวะก่อนเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้
การตรวจน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม
การตรวจน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม (Random Blood Sugar Test) คือการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในช่วงเวลาใดก็ได้ โดยไม่ต้องงดอาหารมาก่อน และหากพบค่าน้ำตาลในเลือดสูงตั้งเเต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ร่วมกับมีอาการที่เป็นสัญญานของโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำบ่อย ความอยากอาหารเพิ่ม หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย ก็จะนับว่าเข้าเกณฑ์หนึ่งของการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การตรวจความทนทานต่อน้ำตาล
การตรวจความทนทานต่อน้ำตาล (Oral Glucose Tolerance Test) คือการตรวจความสามารถของร่างกายในการจัดการกับน้ำตาล ซึ่งมีขั้นตอนการตรวจคร่าว ๆ คือ ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานมาเป็นเวลา 8-14 ชั่วโมง หลังจากนั้น จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร เเล้วจะให้ผู้เข้ารับการตรวจดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม แล้วรอเป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง โดยระหว่างนี้จะยังคงให้งดอาหารไว้ก่อน เมือครบเวลา 2 ชั่วโมง จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลซ้ำอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นค่าที่บอกถึงความสามารถในการจัดการน้ำตาลของร่างกาย
การเเปลผลการตรวจ หากระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มสารละลายกลูโคส 2 ชั่วโมง มีการตั้งเเต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป หมายถึง เข้าเกณฑ์เป็นโรคเบาหวาน หากค่าระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวาน ส่วนในผู้ที่มีสุขภาพปกติ จะมีระดับน้ำตาลในเลือด ไม่เกิน 139 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
สำหรับการตรวจคัดกรอง ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นการตรวจความทนทานต่อน้ำตาลโดยการใช้ สารละลาย กลูโคส 50 กรัม เเทนในเบื้องต้น ซึ่งจะมีขั้นตอนการตรวจ เเละ วิธีการแปลผล ต่างไปจากบุคคลทั่วไป ซึ่งจะไม่ขอลงรายละเอียดในครั้งนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย