- เสียค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก
- ผลค่าระดับน้ำตาล เเม้อาจไม่เเม่นยำเท่าการตรวจที่โรงพยาบาลเเต่ก็มีความน่าเชื่อถือ
ข้อเสีย
- ไม่สามารถทราบระดับน้ำตาลในเลือดได้ตลอดเวลา หากต้องการทราบถี่หรือบ่อย ก็ต้องทำการเจาะตรวจบ่อย ตามเวลาที่ต้องการทราบ
- เจ็บบริเวณปลายนิ้วที่เจาะเลือด
ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วย เครื่อง วัด เบาหวานแบบ BGM โดยความถี่ในการตรวจเเละช่วงเวลาในการตรวจ อาจเเตกต่างกันในเเต่ละบุคคล โดยคุณหมอจะพิจารณาจากชนิดของโรคเบาหวาน เเละ สภาวะสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เเละ ในคุณเเม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจจำเป็นต้องตรวจค่าระดับน้ำตาลบ่อยครั้งกว่า กล่าวคือ ตรวจค่าระดับน้ำตาล ก่อน เเละ หลังอาหารทุกมื้อ รวมถึงก่อนนอน
2.เครื่องวัดเบาหวานแบบต่อเนื่อง (Continuous Glucose Monitoring หรือ CGM) โดยจะติดอุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ไว้ที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรือแขน โดยเซนเซอร์จะวัดระดับน้ำตาลในของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อ ซึ่งจะสอดคล้องกับค่าระดับน้ำตาลในกระเเสเลือด แล้วแสดงค่าระดับน้ำตาลเป็นระยะ ๆ ซึ่งบางเครื่องก็มีระบบส่งข้อมูลเข้าสู่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้โดยตรง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ต้องการควบคุมเบาหวานให้ได้ดี
วิธีใช้
- ติดเซนเซอร์เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณท้องหรือแขน (ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเฉพาะ)
- เซนเซอร์จะทำงาน โดยจะแสดงผลค่าระดับน้ำตาล ไปยังเครื่องตัวรับ หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
ข้อดี
- สามารถตรวจระดับน้ำตาลได้ตลอดทุกช่วงเวลา
- ลดความเจ็บปวด เมื่อเทียบกับการเจาะตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว
- สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ เพื่อแสดงผลได้ทุกที่และทุกเวลา ทำให้นอกจากตัวผู้ใช้จะทราบค่าระดับน้ำตาลเเล้ว ผู้ดูเเล รวมไปถึงคุณหมอ ก็สามารถทราบถึงค่าระดับน้ำตาลได้ไปพร้อม ๆ กัน
ข้อเสีย
- ค่าใช้จ่ายสูง
- ต้องเปลี่ยนเซนเซอร์ทุก 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของเครื่อง CGM
ผลค่าระดับน้ำตาลยังไม่น่าเชื่อถือ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนระดับยา จึงยังต้องใช้การเจาะตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว (ฺBCM) ประกอบด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย