backup og meta

เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก นับว่ามีความสัมพันธ์กันมากกว่าที่คนทั่วไปนึกถึง เนื่องมาจากหากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อหลอดเลือดและกระดูก/ฟัน รวมทั้งค่าความเป็นกรดในเลือดรวมไปถึงในน้ำลายที่อาจสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาฟันผุ กลิ่นปาก เหงือกอักเสบ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางช่องปากที่อาจเกิดขึ้นได้

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเเล้วควบคุมไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลเเทรกซ้อนให้เกิดปัญหากับอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อาจพบร่วมด้วยได้บ่อยครั้ง เช่น เจ็บเหงือก ฟันหลุดร่วง ฟันโยก มีกลิ่นปากไม่พึงประสงค์ ปัญหาเหงือกอักเสฐมีเลือดออกไรฟัน และช่องฟัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

ปัญหา สุขภาพช่องปาก ที่เกิดจากเบาหวาน

หากผู้ป่วยเบาหวานทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม อาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้

  • ฟันผุ

เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรดสูงขึ้น มีส่วนกระตุ้นให้แบคทีเรียและจุลินทรีย์ในช่องปากกัดกร่อนทำลายเคลือบฟันได้ง่ายจนนำไปสู่อาการฟันผุ

  • เหงือกอักเสบ

ผูที่เป็นโรคเบาหวานเเล้วควบคุมไม่ดีอาจมีระบบภูมิคุมกันของร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งรวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันในช่องปาก ส่งผลให้แบคทีเรียเกิดการสะสมจนกลายเป็นคราบพลัคที่หนาและทำความสะอาดได้ยากขึ้น และเพิ่มการสะสมเป็นคราบหินปูน ทำให้เหงือกบวมอักเสบ และมีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย

  • ปากแห้ง

โรคเบาหวานอาจส่งผลให้ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติไป ทำให้ช่องปากขาดความชุ่มชื้น จนเกิดอาการปากแห้งได้ รวมทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคเหงือก ฟันผุ และเชื้อราในช่องปากอีกด้วย

  • โรคปริทันต์

ภาวะน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบที่อาจนำไปสู่อาการติดเชื้อรุนแรง หรือ โรคปริทันต์ โดยอาจถึงขั้นทำลายเนื้อเยื่อ เหงือก จนถึงบริเวณขากรรไกร ในบางรายอาจมีฟันโยกเเละหลุดออกมาก็เป็นได้

การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน

เพื่อดูเเละสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ ป้องกันปัญหาเหงือก และฟันที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้น ได้ดังนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้า และก่อนนอน หรือ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ
  • เลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม ขนแปรงไม่แข็ง หรือนุ่มจนเกิดไป เพื่อป้องกันการทำอันตรายต่อเหงือก
  • ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยหลังจากเเปรงฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน ที่ขนแปรงสีฟันอาจเข้าไปทำความสะอาดได้ไม่หมด
  • ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตเเพทย์เป็นประจำ
  • เลิกสูบบุหรี่ โดยสามารถขอคำปรึกษาเเละวิธีการเลิกบุหรี่ได้จากโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือ ช่องทางอื่น ๆ
  • หมั่นสังเกตความผิดปกติในช่องปาก เช่น เหงือกแดงบวมเลือดออกตามไรฟัน ปากแห้ง ฟันโยก

ที่สำคัญคือการควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เเละหากต้องการคำเเนะนำเพิ่มเติม หรือ มีข้อสงสัยใด ๆ สามารถปรึกษากับคุณหมอที่ดูเเลเป็นประจำได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Periodontitis and diabetes: a two-way relationship. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3228943/.  Accessed March 25, 2022.

Diabetes: Keeping Your Mouth Healthy. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-affects-teeth. Accessed March 25, 2022.

Diabetes and dental care: Guide to a healthy mouth. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes/art-20043848. Accessed March 25, 2022.

Diabetes and oral health. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ConditionsAndTreatments/diabetes-and-oral-health. Accessed March 25, 2022.

Diabetes: An Overview. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/7104-diabetes-mellitus-an-overview. Accessed March 25, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก และควรลดแบบไหน

แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา