งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Hypertension เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลของการรับประทานปลาและการลดน้ำหนักที่มีต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน พบว่า การรับประทานปลาและอาหารทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นประจำควบคู่กับการลดน้ำหนัก ช่วยลดระดับความดันโลหิตและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes & Metabolism เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ทำการวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงกันของการบริโภคปลากับอาหารทะเล โรคอ้วน และความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความชุกของโรคเบาหวานและโรคอ้วนจาก 41 ประเทศใน 5 ทวีปที่มีความแตกต่างด้านสังคมและประชากร รวมถึงการจัดการด้านสุขอนามัย พบว่า การบริโภคปลาและอาหารทะเลในปริมาณมากอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มประชากร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ความชุกของโรคอ้วนสูงได้
งานวิจัยอีกชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทำการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสารแคปไซซินและภาวะเมแทบอลิกซินโดรมหรือภาวะอ้วนลงพุง พบว่า สารประกอบสำคัญในพริกอย่างแคปไซซินอาจมีส่วนช่วยปรับปรุงการเผาผลาญกลูโคส กระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมัน ช่วยปรับปรุงความไวของอินซูลินและความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด ทั้งยังช่วยลดไขมันในร่างกาย และปรับปรุงการทำงานของหัวใจและตับด้วย
-
บร็อคโคลี่ผัดเห็ดหอม
เมนูนี้ให้พลังงาน 140 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 56 กรัม โปรตีน 4 กรัม และไขมัน 9 กรัม
บร็อคโคลี่และเห็ดหอมมีใยอาหารสูง และมีสารประกอบหลายชนิดที่อาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสารที่ทำลายเซลล์และทำให้เกิดการอักเสบ ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งยังช่วยปรับปรุงการทำงานของเซลล์ ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วนลดลง
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Hypertension เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ทำการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคผักและผลไม้และและอุบัติการณ์ของภาวะความดันโลหิตสูง พบว่า การรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้นในระยะยาวรวมถึงการรับประทานผักผลไม้ทั้งผล คือ รับประทานทั้งเปลือกและเนื้อ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ โดยเฉพาะการรับประทานบร็อคโคลี่ แครอท เต้าหู้หรือถั่วเหลือง ลูกเกด และแอปเปิ้ล
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร 3 Biotech เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ทำการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการรักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนของเห็ดชนิดกินได้ พบว่า เห็ดอุดมไปด้วยใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) ไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) ซึ่งอาจช่วยปรับการทำงานของเซลล์หรือกระบวนการทางชีวเคมีในร่างกาย ส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานลดลง ทั้งยังอาจทำให้อาการของโรคดีขึ้นด้วย
ต้มจืดตำลึงหมูสับ
เมนูนี้ให้พลังงาน 320 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 7.4 กรัม โปรตีน 43.8 กรัม และไขมัน 14.2 กรัม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย