backup og meta

ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

    การได้เข้าใจถึงการดำเนินโรคเเละ ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น หากยังอยู่ในระยะแรกควรรีบประบพฤติกรรมสุขภาพและรับคำแนะนำในการรักษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อควบคุมเเละลดความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่ระยะถัด ๆ ไป

    ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะเรื้องรัง เกิดจากความบกพร่องของร่างกายที่เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจนำไปสู่ภาวะเเทรกซ้อนที่ร้ายเเรงตามมา เช่น โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวานขึ้นตา โดยระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

    ระยะที่ 1 ภาวะดื้ออินซูลิน

    ภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนชใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ่นเพื่อผลิตอินซูลินเพิ่มเพื่อมาพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ ดังนั้นหากทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ระยะที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน

    ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจขณะงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่งโมง) หากไม่มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ดี เพื่อควบคุมน้ำตาลให้ลดลงสู่เกณฑ์ปกติ ก็อาจพัฒนาสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ 

    ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเเป้งเเละน้ำตาลสูง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเเนะนำไปพบคุณหมอเพื่อตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะ 

    ระยะที่ 3 เข้าสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2

    เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนระดับน้ำตาลสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะนับว่าเข้าได้กับเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินจึงไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปเผาผลาญเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงถูกกระตุ้นให้หลั่งต้องอินซูลินในปริมาณมากขึ้น หากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตับอ่อนจะต้องทำงานหนัก จนในที่สุดเซลล์ตับอ่อนจึงตาย ทำให้สุดท้ายเเล้วไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ จึงยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงเเละควบคุมได้ยากขึ้น 

    ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้หายขาด อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลหรือยาฉีดอินซูลิน รวมถึงการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการควบคุมโภชนาการเเละออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้วยังคงมีสุขภาพที่เเข็งเเรงเเละมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งยังป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

    ระยะที่ 4 ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

    หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยส่งผลในเกิดความเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบเเละเเข็ง ขาดความยืดหยุ่น เสี่ยงต่อการตีบหรือเเตกได้ง่าย ซึ่งอาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากถึง 80% เเละยังเป็นต้นเหตุของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้เเก่ โรคหัวใจ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา