backup og meta

อาการเจ็บท้องคลอด และระยะเวลาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด และระยะเวลาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด เป็นกระบวนการทำงานของมดลูกที่เริ่มมีการขยายตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์​ โดยมักเกิดอาการในช่วงสัปดาห์ที่ 28 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนแรกที่บ่งบอกว่าทารกในครรภ์นั้นใกล้ถึงช่วงเวลาที่จะออกมาเผชิญกับโลกภายนอก คุณแม่ควรสังเกตอาการเจ็บท้องคลอดของตนเองและเตรียมพร้อมเพื่อไปพบคุณหมอทันที

[embed-health-tool-due-date]

อาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอดเป็นสัญญาณเตือนว่าทารกใกล้คลอดออกจากท้องคุณแม่ตั้งครรภ์และอาจสามารถสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ ร่วม ดังนี้

  • ท้องร่วง คุณแม่อาจมีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด
  • หน้าท้องเปลี่ยนแปลง อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกกลับหัวนำศีรษะลงไปบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือปากมดลูกเพื่อเตรียมตัวออกจากท้องของมารดา จึงอาจทำให้หน้าท้องมีลักษณะต่ำลง
  • มีเลือดออก ปากมดลูกอาจมีเลือดปนมากับมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกโพรงมดลูกเข้าสู่ทารกในครรภ์
  • ถุงน้ำคร่ำแตก ช่วงใกล้คลอดถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารกในครรภ์อาจแตกและไหลออกมา โดยสามารถเกิดขึ้นได้หลายชั่วโมงก่อนคลอดบุตร หากมีอาการเจ็บท้องและถุงน้ำคร่ำแตกออกควรรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและแจ้งให้หมอทราบเพื่อเตรียมตัวคลอดอย่างทันท่วงที

ระยะเวลาเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด จนถึงช่วงคลอดทารกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 

เป็นระยะแรกที่ปากมดลูกของคุณแม่ขยายออกประมาณ 4 เซนติมเตร มดลูกเริ่มมีการหดตัวทุก ๆ 60-90 วินาที จนกว่ามดลูกจะขยายตัวถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งบางคนอาจใช้เวลานานกว่า 4-8 ชั่วโมง จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องอย่างรุนแรง ในระยะนี้คุณหมออาจแนะนำให้คุณพ่อหรือคนรอบข้างคอยให้กำลังใจ หรือพาคุณแม่ลุกเดิน เปิดเพลง อาบน้ำ ช่วยนวดหลัง เพื่อช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย

  • ระยะที่ 2 

เมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดจนสุด ทารกจะเคลื่อนไปทางปากช่องคลอด คุณหมออาจให้เริ่มออกแรงเบ่ง หรือกดท้องคุณแม่อย่างเบามือ เพื่อเสริมแรงดันทารกให้ออกจากท้องสู่โลกภายนอก คุณแม่อาจมีความรู้สึกเหมือนกับการเบ่งถ่ายอุจจาระ แต่ระยะการคลอดในคุณแม่ท้องแรกไม่ควรใช้เวลาเกิน 3 ชั่วโมง หากเคยมีลูกมาแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ทันทีที่ศีรษะทารกออกมาคุณหมอจะดูดน้ำคร่ำ เลือด และเมือกต่าง ๆ ออกจากจมูกและปากของทารก

  • ระยะที่ 3

หลังจากกำจัดเมือกและเลือด คุณหมอจะส่งมอบทารกกลับเข้าสู่อ้อมอกของคุณแม่ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก่อนนำกลับเข้าสู่ห้องอนุบาลเด็กทารก ที่มีพยาบาลคอยดูแลและจัดเวลาในการนำทารกเข้ามาเพื่อให้คุณแม่ได้ให้นม

วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องหลังคลอด

อาการเจ็บปวดหลังคลอดบุตรอาจแตกต่างกันออกไป เนื่องจากตำแหน่งก่อนคลอดของทารกและเทคนิคที่ใช้ในการทำคลอด หากคุณแม่มีอาการเจ็บท้อง ปวดแผลคลอด คุณหมออาจแนะนำวิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องหลังคลอด ดังนี้

  • การใช้ยา คุณหมออาจให้ยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) รวมถึงการบล็อกยาชาก่อนคลอดบริเวณไขสันหลังหรือฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ เพราะยาเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่รู้สึกชาระหว่างการคลอดจนออกฤทธิ์ถึงช่วงหลังคลอด
  • ประคบเย็น อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการประมาณ 10-20 นาที เพื่อบรรเทาอาการเจ็บหรือบวมบริเวณที่มีอาการปวด

อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลังคลอดอาจมีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงควรดูแลตนเองเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่สารคาเฟอีนอย่างกาแฟ ชา เป็นต้น หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด หรือจนกว่าจะรู้สึกว่าร่างกายเริ่มแข็งแรงดี 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Labor and delivery, postpartum care.https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/stages-of-labor/art-20046545. Accessed January 31, 2023. 

Normal Labor and Delivery Process.https://www.webmd.com/baby/guide/normal-labor-and-delivery-process#1. Accessed January 31, 2023. 

Births – Method of Delivery.https://www.cdc.gov/nchs/fastats/delivery.htm. Accessed January 31, 2023. 

First Stage of Labor.https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/labor-and-birth/first-stage-of-labor/. Accessed January 31, 2023. 

The stages of labour and birth.https://www.nhs.uk/pregnancy/labour-and-birth/what-happens/the-stages-of-labour-and-birth/. Accessed January 31, 2023. 

Vaginal Delivery Recovery.https://www.webmd.com/parenting/baby/recovery-vaginal-delivery#1. Accessed January 31, 2023. 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรรู้

ของใช้เตรียมคลอด และการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา