backup og meta

10 สัญญาณการคลอด ที่ควรสังเกต

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    10 สัญญาณการคลอด ที่ควรสังเกต

    เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก็อาจหมายความว่าทารกใกล้จะคลอดออกมาแล้ว โดยคุณแม่อาจสังเกตได้จากสัญญาณการคลอดต่าง ๆ เช่น น้ำคร่ำแตก ปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดท้องเป็นพักๆ มีเลือดออกทางช่องคลอด หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลในทันที

    สัญญาณการคลอด มีอะไรบ้าง

    1. ท้องเริ่มเคลื่อนที่ต่ำ หรือลดลง

    สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากเมื่อใกล้คลอดลูกน้อยจะเริ่มเคลื่อนตัวลงไปบริเวณเชิงกราน หากลดระดับลงมากเท่าใด ก็หมายถึงสัญญาณการคลอดที่ดีมากเท่านั้น และทำให้คุณแม่อุ้มท้องหายใจสะดวกขึ้น หากท้องเริ่มเคลื่อนต่ำลง คุณอาจจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น เพราะหัวลูกน้อยดันลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ

    2. ปากมดลูกขยาย

    ปากมดลูกเปิดนั้นเป็นยังไง คือวิธีการที่คุณหมอจะตรวจดูปากมดลูกสัญญาณการคลอด ว่าเริ่มมีสัญญาณการคลอดหรือไม่ หากพบว่าปากมดลูกเปิดแล้วก็แนะนำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อรอคลอด คุณแม่มักจะมีอาการมีมูกเลือดสีน้ำตาลคล้ำๆออกทางช่องคลอด ซึ่ง เป็นสัญญาณว่าอาจจะมีการเปิดของปากมดลูก

    3. มีอาการปวดมากขึ้น

    มีความรู้สึกเป็นตะคริว และปวดหลังส่วนล่าง รวมไปถึงขาหนีบเมื่อใกล้คลอด เนื่องจากส่วนนำของทารกลดต่ำมาอยู่ในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อ และส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณแม่มหัศจรรย์ สำหรับเตรียมความพร้อมให้กับสถานการณ์ตอนใกล้คลอด

    4. ข้อต่อมีความหลวมขึ้น

    ซึ่งระยะเวลาการตั้งครรภ์ฮอร์โมนรีแล็กซินได้ทำให้เอ็นมีการคลายตัวเล็กน้อย คุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่ารู้สึกตึงน้อยลงรวมถึงผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติในการเปิดกระดูกเชิงกราน สำหรับการเตรียมพร้อม

    5. อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง

    เนื่องจากลำไส้ส่วนล่างถูกรบกวน ถึงแม้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าน่ารำคาญ แต่อาการเหล่านี้คือ สัญญาณการคลอดที่ดี

    6. น้ำหนักเริ่มคงที่

    ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 น้ำหนักตัวคุณแม่จะเริ่มไม่ค่อยขึ้นแล้ว เนื่องจากทารกอาจพัฒนาจนเต็มที่แล้ว

    7. เหนื่อยง่ายกว่า

    คุณแม่ช่วงใกล้คลดออาจมีอาการเหนื่อยง่ายมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ รู้สึกอยากอยู่เฉย ๆ และง่วงนอนบ่อยขึ้น

    8. สารคัดหลั่งเปลี่ยนสี

    สารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งน้ำมูก เสมหะ ตกขาว มีความเปลี่ยนแปลง อาจจะมีความเหนียว และข้นมากกว่าเดิม

    9. มดลูกหดตัว

    เป็นสัญญาณการคลอดเริ่มต้น ซึ่งอาจพบการหดตัวของมดลูก (Braxton Hicks) ในช่วงเวลาหลายสัปดาห์ก่อนคลอด ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกท้องแข็งเกร็งเป็นพัก ๆ ในขณะที่กล้ามเนื้อในมดลูกมีการหดตัว เพื่อเตรียมการให้ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก

    10. น้ำคร่ำแตก

    นี่ถือเป็นสัญญาณการคลอดที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาล เพื่อให้คุณหมอเตรียมการทำคลอดให้ เพราะถ้าหากช้ากว่านั้น 1-2วัน อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย และคุณแม่ได้

    การเตรียมตัวเมื่อรับรู้ถึงสัญญาณการคลอด

    หากสังเกตพบสัญญาณการคลอด ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ของใช้ส่วนตัวสำหรับคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็น สบู่ แชมพู สกินแคร์ เสื้อผ้าที่ใส่ง่ายๆ เหมาะสำหรับให้นมลูก รองเท้าแตะ หรือรองเท้าส้นเตี้ย
  • โทรศัพท์ และสายชาร์จ เพื่อบรรเทาอาการเหงา และบันทึกเบอร์ฉุกเฉิน
  • สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย เช่น ลูกบีบคลายเครียด
  • หมอนนุ่ม ๆ เนื่องจากหมอนโรงพยาบาลอาจทำให้คุณนอนไม่สบาย
  • เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และอื่น ๆ รวมไปถึงการตั้งชื่อลูก เพื่อใช้ในการแจ้งเกิดด้วย
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา